รพ.รามาฯ เผย เด็กป่วยท่อน้ำดี 50% ต้องปลูกถ่ายตับ ทั้งจากผู้เสียชีวิตสมองตายและพ่อแม่ ฟุ้งหลังผ่าตัดโอกาสรอดปีแรก และ 5 ปีสูงกว่า 80% แต่ติดปัญหางบ สปสช.ไม่รวมผู้ป่วยผู้ใหญ่ยังไม่เพียงพอ ด้าน “หมอวินัย” เผยการขยายกลุ่มต้องดูความคุ้มค่าเป็นหลัก
รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) รามาธิบดี ในฐานะประธานโครงการปลูกถ่ายตับ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า การปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรคมาจากตับวายเฉียบพลัน ตับเรื้อรัง เนื้องอก หรือมะเร็งตับ ส่วนในเด็กมาจากโรคท่อน้ำดีตีบประมาณ 1 ต่อ 15,000 ราย ของทารกคลอดมีชีวิต โดยมีอุบัติการณ์ราว 60-80 รายต่อปี สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ซึ่งหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยเด็กมีอัตรารอดชีวิตในปีแรกร้อยละ 83-94 และอัตราการรอดชีวิตในปีที่ 5 ร้อยละ 82-92 โดยเด็กส่วนใหญ่จะเติบโตมีพัฒนาการ และสามารถเข้าเรียนได้เหมือนเด็กปกติ ทั้งนี้ รพ.รามาฯ เริ่มปลูกถ่ายตับครั้งแรกเมื่อปี 2533 ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยทำการปลูกถ่ายตับไปแล้วกว่า 160 ราย เป็นการปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สู่ลูก 61 คู่
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การปลูกถ่ายตับส่วนใหญ่จะมาจากผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากสมองตาย แต่ปัญหาคือยังไม่เพียงพอ เพราะแต่ละปีมีประมาณ 60-80 ราย ใช้ได้จริงเพียง 40 ราย เนื่องจากสภาพอาจไม่เข้ากัน ขณะที่ผู้บริจาคที่มีชีวิตยังไม่มี ส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่หรือญาติ ซึ่งการบริจาคจากคนที่มีชีวิตอยู่จะช่วยชีวิตคนได้อีกมาก แต่มีปัจจัยหลายอย่างจึงต้องระวัง จึงเลือกการปลูกถ่ายตับจากผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากสมองตายมากกว่า
“การรับบริจาคจากผู้มีชีวิตกรณีพ่อแม่สู่ลูก แพทย์จะเน้นทั้งผู้ให้และผู้รับมีความปลอดภัยสูงสุด โดยกรณีพ่อแม่ให้ตับลูกจะนำตับจากพ่อแม่ประมาณร้อยละ 20 แต่หากเป็นผู้ใหญ่จะอยู่ที่ร้อยละ 40-50 ซึ่งส่วนใหญ่ตับจะงอกขึ้นเองประมาณร้อยละ 95 ดังนั้น ผู้บริจาคจะต้องมีสุขภาพที่ดีมากๆ และต้องแน่ใจว่าในอนาคตจะไม่มีโรคใดๆ เช่น หากก่อนบริจาคตรวจพบว่ามีไวรัสบางชนิด ก็จะไม่รับทันที” ผอ.รพ.รามาธิบดี กล่าว
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้งบเฉพาะผู้ป่วยเด็กเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัญหาการฟื้นตัวของผู้ป่วย ซึ่งในระยะยาวน่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือการปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ยังไม่เข้าระบบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีเพียงสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งการผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายสูงราว 5-6 แสนบาท และต้องใช้ยากดภูมิอีกราว 2 หมื่นบาทต่อเดือน โดยต้องทานยาไปตลอดชีวิต
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า สำหรับงบที่ยังไม่เพียงพอนั้น เนื่องจากเดิมที สปสช.ยังไม่จัดสรรงบประมาณโดยคิดตามโรคนั้น ผู้ป่วยมาด้วยอาการทรุดโทรม การผ่าตัด รวมถึงการฟื้นตัวทำให้ต้องใช้เวลานาน การรักษาจึงนานและค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้น แต่ในระยะยาวเมื่อมีสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ ย่อมต้องดีขึ้น ส่วนกรณีผู้ป่วยผู้ใหญ่ ขณะนี้ยังไม่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพฯ ซึ่งการจะขยายคงต้องพิจารณาหลายปัจจัย โดยเฉพาะความคุ้มค่า
รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) รามาธิบดี ในฐานะประธานโครงการปลูกถ่ายตับ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า การปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรคมาจากตับวายเฉียบพลัน ตับเรื้อรัง เนื้องอก หรือมะเร็งตับ ส่วนในเด็กมาจากโรคท่อน้ำดีตีบประมาณ 1 ต่อ 15,000 ราย ของทารกคลอดมีชีวิต โดยมีอุบัติการณ์ราว 60-80 รายต่อปี สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ซึ่งหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยเด็กมีอัตรารอดชีวิตในปีแรกร้อยละ 83-94 และอัตราการรอดชีวิตในปีที่ 5 ร้อยละ 82-92 โดยเด็กส่วนใหญ่จะเติบโตมีพัฒนาการ และสามารถเข้าเรียนได้เหมือนเด็กปกติ ทั้งนี้ รพ.รามาฯ เริ่มปลูกถ่ายตับครั้งแรกเมื่อปี 2533 ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยทำการปลูกถ่ายตับไปแล้วกว่า 160 ราย เป็นการปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สู่ลูก 61 คู่
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การปลูกถ่ายตับส่วนใหญ่จะมาจากผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากสมองตาย แต่ปัญหาคือยังไม่เพียงพอ เพราะแต่ละปีมีประมาณ 60-80 ราย ใช้ได้จริงเพียง 40 ราย เนื่องจากสภาพอาจไม่เข้ากัน ขณะที่ผู้บริจาคที่มีชีวิตยังไม่มี ส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่หรือญาติ ซึ่งการบริจาคจากคนที่มีชีวิตอยู่จะช่วยชีวิตคนได้อีกมาก แต่มีปัจจัยหลายอย่างจึงต้องระวัง จึงเลือกการปลูกถ่ายตับจากผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากสมองตายมากกว่า
“การรับบริจาคจากผู้มีชีวิตกรณีพ่อแม่สู่ลูก แพทย์จะเน้นทั้งผู้ให้และผู้รับมีความปลอดภัยสูงสุด โดยกรณีพ่อแม่ให้ตับลูกจะนำตับจากพ่อแม่ประมาณร้อยละ 20 แต่หากเป็นผู้ใหญ่จะอยู่ที่ร้อยละ 40-50 ซึ่งส่วนใหญ่ตับจะงอกขึ้นเองประมาณร้อยละ 95 ดังนั้น ผู้บริจาคจะต้องมีสุขภาพที่ดีมากๆ และต้องแน่ใจว่าในอนาคตจะไม่มีโรคใดๆ เช่น หากก่อนบริจาคตรวจพบว่ามีไวรัสบางชนิด ก็จะไม่รับทันที” ผอ.รพ.รามาธิบดี กล่าว
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้งบเฉพาะผู้ป่วยเด็กเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัญหาการฟื้นตัวของผู้ป่วย ซึ่งในระยะยาวน่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือการปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ยังไม่เข้าระบบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีเพียงสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งการผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายสูงราว 5-6 แสนบาท และต้องใช้ยากดภูมิอีกราว 2 หมื่นบาทต่อเดือน โดยต้องทานยาไปตลอดชีวิต
ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า สำหรับงบที่ยังไม่เพียงพอนั้น เนื่องจากเดิมที สปสช.ยังไม่จัดสรรงบประมาณโดยคิดตามโรคนั้น ผู้ป่วยมาด้วยอาการทรุดโทรม การผ่าตัด รวมถึงการฟื้นตัวทำให้ต้องใช้เวลานาน การรักษาจึงนานและค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้น แต่ในระยะยาวเมื่อมีสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ ย่อมต้องดีขึ้น ส่วนกรณีผู้ป่วยผู้ใหญ่ ขณะนี้ยังไม่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพฯ ซึ่งการจะขยายคงต้องพิจารณาหลายปัจจัย โดยเฉพาะความคุ้มค่า