หลากโรงพยาบาลขานรับประกาศ ห้ามเบิกค่ายารักษาข้อเสื่อม รพ.จุฬาฯ เผย ผู้ป่วยบางส่วนได้รับผลกระทบต้องจ่ายเงินเอง รพ.รามาฯ เตรียมแจงบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ด้านศิริราชไม่หวั่น ชี้ มีการปรับตัวมาปีกว่าแล้ว
นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนบริการ ประธานคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังประกาศห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 พ.ย.2555 ว่า ยากลูโคซามีนซัลเฟตเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดตามข้อ ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยราคายาจะอยู่ที่ประมาณซองละ 20-30 บาท ขึ้นกับยี่ห้อ ทั้งนี้ หากมีการยกเลิกการเบิกค่ายาจะส่งผลกระทบกับผู้ป่วยบางกลุ่มที่จะต้องจ่ายค่ายาเอง ซึ่งในแต่ละเดือนทางโรงพยาบาลก็จะมีการจ่ายยากลูโคซามีนซัลเฟตให้กับผู้ป่วยหลายร้อยราย แต่หลักการจ่ายยานั้นทางโรงพยาบาลจะมีการประเมินก่อนว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับยากลูโคซามีนซัลเฟตหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีข้อบ่งชี้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟต เพราะแพ้ยาชนิดอื่น ดังนั้น การยกเลิกการเบิกจ่ายทั้งหมดจะกระทบกับกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟต และสร้างภาระให้กับผู้ป่วยที่ต้องจ่ายเงินเอง
รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า กระทรวงการคลัง เคยทำหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ 3 ครั้ง โดยยืดหยุ่นมาแล้ว 2 ครั้ง และล่าสุดครั้งนี้มีมติจากคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการฯชัดเจน ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.ยาดังกล่าวจะไม่อยู่ในระบบเบิกจ่ายอีก เว้นแต่หากต้องการใช้ผู้ป่วยต้องจ่ายเอง ซึ่งในส่วนของ รพ.รามาฯ ก็ต้องดำเนินการตาม โดยอยู่ระหว่างจัดทำแผ่นพับให้ความรู้ ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนสิทธิข้าราชการ ส่วนแนวทางการรักษาอื่นๆ นั้น ก็อยู่ที่แพทย์จะวินิจฉัย ซึ่งจริงๆ แล้วยังมียาตัวอื่นๆ รวมทั้งการบริหารข้อเข่าก็ช่วยรักษาได้เช่นกัน
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ยากลูโคซามีนซัลเฟต เป็นยาที่สั่งห้ามเบิกตั้งแต่ปีที่ 2554 แล้ว โดยก่อนที่จะมีการสั่งห้ามเบิกจ่ายยากลูโคซามีนซัลเฟต ในแต่ละเดือนจะมีผู้ป่วยมารับยาเดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านซอง แต่เมื่อมีการสั่งห้ามเบิกจ่าย หากผู้ป่วยรายใดต้องการจะใช้ยาตัวดังกล่าวก็ต้องจ่ายเงินเอง ทั้งนี้ ยากลูโคซามีนซัลเฟต จะมีราคาอยู่ที่ซองละประมาณ 30 บาท ซึ่งผู้ป่วยต้องกินยาอย่างน้อยวันละ 2-4 ซอง ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น หากจะมีการสั่งห้ามเบิกอย่างจริงจัง ตนคาดว่าไม่หน้ามีผลกระทบ เนื่องจากทั้งคนไข้และโรงพยาบาลมีการปรับตัวมาปีกว่าแล้ว
นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนบริการ ประธานคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังประกาศห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 พ.ย.2555 ว่า ยากลูโคซามีนซัลเฟตเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดตามข้อ ซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยราคายาจะอยู่ที่ประมาณซองละ 20-30 บาท ขึ้นกับยี่ห้อ ทั้งนี้ หากมีการยกเลิกการเบิกค่ายาจะส่งผลกระทบกับผู้ป่วยบางกลุ่มที่จะต้องจ่ายค่ายาเอง ซึ่งในแต่ละเดือนทางโรงพยาบาลก็จะมีการจ่ายยากลูโคซามีนซัลเฟตให้กับผู้ป่วยหลายร้อยราย แต่หลักการจ่ายยานั้นทางโรงพยาบาลจะมีการประเมินก่อนว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับยากลูโคซามีนซัลเฟตหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีข้อบ่งชี้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟต เพราะแพ้ยาชนิดอื่น ดังนั้น การยกเลิกการเบิกจ่ายทั้งหมดจะกระทบกับกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟต และสร้างภาระให้กับผู้ป่วยที่ต้องจ่ายเงินเอง
รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า กระทรวงการคลัง เคยทำหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ 3 ครั้ง โดยยืดหยุ่นมาแล้ว 2 ครั้ง และล่าสุดครั้งนี้มีมติจากคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการฯชัดเจน ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.ยาดังกล่าวจะไม่อยู่ในระบบเบิกจ่ายอีก เว้นแต่หากต้องการใช้ผู้ป่วยต้องจ่ายเอง ซึ่งในส่วนของ รพ.รามาฯ ก็ต้องดำเนินการตาม โดยอยู่ระหว่างจัดทำแผ่นพับให้ความรู้ ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนสิทธิข้าราชการ ส่วนแนวทางการรักษาอื่นๆ นั้น ก็อยู่ที่แพทย์จะวินิจฉัย ซึ่งจริงๆ แล้วยังมียาตัวอื่นๆ รวมทั้งการบริหารข้อเข่าก็ช่วยรักษาได้เช่นกัน
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ยากลูโคซามีนซัลเฟต เป็นยาที่สั่งห้ามเบิกตั้งแต่ปีที่ 2554 แล้ว โดยก่อนที่จะมีการสั่งห้ามเบิกจ่ายยากลูโคซามีนซัลเฟต ในแต่ละเดือนจะมีผู้ป่วยมารับยาเดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านซอง แต่เมื่อมีการสั่งห้ามเบิกจ่าย หากผู้ป่วยรายใดต้องการจะใช้ยาตัวดังกล่าวก็ต้องจ่ายเงินเอง ทั้งนี้ ยากลูโคซามีนซัลเฟต จะมีราคาอยู่ที่ซองละประมาณ 30 บาท ซึ่งผู้ป่วยต้องกินยาอย่างน้อยวันละ 2-4 ซอง ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น หากจะมีการสั่งห้ามเบิกอย่างจริงจัง ตนคาดว่าไม่หน้ามีผลกระทบ เนื่องจากทั้งคนไข้และโรงพยาบาลมีการปรับตัวมาปีกว่าแล้ว