สธ.สั่งวัคซีนคอตีบ 5 แสนโดส ฉีดปูพรมทุกคนในพื้นที่เสี่ยงจังหวัดเลย พร้อมสำรองยาอีก 1,500 ขวด ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ส่วนทั่วประเทศตายแล้ว 75 ราย แนะประชาชนออกกำลังกายควบคู่ป้องกันได้
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่โรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมราชการเพื่อรับฟังสถานการณ์โรคคอตีบหรือโรคดิพทีเรีย (Diphtheria) และตรวจเยี่ยมโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เลย อ.วังสะพุง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิมพระเกียรติหนองหิน ว่า โรคคอตีบเป็นโรคติดต่อโดยเชื้อโรคอยู่ในน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย การติดเชื้อมักเป็นที่ลำคอ หรือจมูก ประเทศไทยดำเนินการควบคุมได้ ไม่เป็นปัญหาติดต่อกันมาแล้วกว่า 10 ปี เนื่องจากมีความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนป้องกันอยู่ในระดับสูง แต่ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเข้าถึงวัคซีน เช่น พื้นที่ทุรกันดาร ภูเขา พื้นที่มีปัญหาความไม่สงบ ประกอบกับปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยเฉพาะในพื้นที่ตะเข็บชายแดน จึงทำให้มีความเสี่ยงโรคหวนกลับมาระบาดได้อีก จากการรับฟังสถานการณ์โรคคอตีบในพื้นที่จังหวัดเลย ขณะนี้สามารถควบคุมการระบาดได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปี 2555 ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วย 75 ราย เสียชีวิต 3 ราย ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เลย เพชรบูรณ์ ปัตตานี หนองบัวลำภู และ ยะลา โดยพบผู้ป่วยที่ จ.เลย จำนวน 27 ราย ใน 4 อำเภอ คือ ด่านซ้าย วังสะพุง ภูหลวง และ ผาขาว มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นผู้ใหญ่ จากการสอบสวนผู้เสียชีวิต พบว่า เป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ มีโรคประจำตัวและดื่มสุราเป็นประจำ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง
นพ.สุรวิทย์ กล่าวอีกว่า การควบคุมโรคที่จังหวัดเลย ขณะนี้ได้จัดส่งวัคซีนป้องกันโรคคอตีบจำนวน 500,000 โดส ฉีดให้ประชาชนทั่วไปที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งคนไทยและต่างด้าวทุกคน และฉีดให้ทุกคนใน 3 อำเภอที่พบผู้ป่วย ได้แก่ อำเภอเมือง วังสะพุง และด่านซ้าย เป็นการฉีดปูพรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคใหม่ทั้งหมด เข็มแรกจะฉีดให้ครบภายในพฤศจิกายน 2555 ฉีดคนละ 1-3 เข็ม ฉีดเข็มที่ 2 ภายใน 1 เดือน และเข็มที่ 3 ภายใน 6 เดือน โดยเน้นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา โดยได้ตรวจคัดกรองนักเรียนที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เลย อำเภอ วังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนประจำ มีนักเรียนประมาณ 700 คน ตรวจพบว่ามีเชื้อแต่ยังใม่ปรากฎอาการป่วยจำนวน 3 ราย รอผลตรวจอีก 10 ราย ได้แยกเด็กออกจากเด็กทั่วไป และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เลยร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรค กำชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในพื้นที่ ออกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรคดังกล่าว โดยเฉพาะการมีสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้ภาชนะเช่นแก้วน้ำ ช้อนรับประทานอาหารร่วมกัน ผู้ป่วยเวลาไอจามให้ใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูกหรือใส่หน้ากากอนามัย พักรักษาตัวจนกว่าจะหาย ผู้ป่วย ผู้สัมผัสโรคต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารพิษคอตีบเพื่อลดความรุนแรงของโรคและบรรเทาการระบาดของโรค
“มาตรการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคคอตีบ สธ.ได้จัดส่งยารักษาผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ (Diphtheria antitoxin) ในโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่งและโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 1,500 ขวด รองรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย และสำรองไว้ที่ส่วนกลางคือที่องค์การเภสัชกรรม ศูนย์พิษวิทยาของโรงพยาบาลรามาธิบดี และที่กรมควบคุมโรคอีก 2,000 ขวด นอกจากนี้ยังได้สำรองวัคซีนป้องกันโรคคอตีบสำหรับเด็กและผู้ใหญ่จำนวน 5,000,000 ล้านโด๊ส เพื่อใช้ในการควบคุมโรคหากมีการระบาดอีก โดยจะฉีดได้ 2,500,000 คน” รมช.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.วิวรรธน์ ก่อวิริยะกมล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย กล่าวว่า การป้องกันโรคคอตีบขอให้ประชาชนพาลูกหลานไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบให้ครบตามเกณฑ์ที่ สธ.กำหนด และให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ใช้ช้อนกลาง ตักอาหาร ไม่ใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน ควรล้างมือก่อนปรุงหรือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ หากมีอาการไอ มีไข้เจ็บคอ 1-2 วัน ควรพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใกล้บ้าน โดย สสจ.เลยได้รณรงค์ความสะอาดในแหล่งที่มีผู้คนอยู่รวมกันมาก เช่น ศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่โรงพยาบาลวังสะพุง จังหวัดเลย นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมราชการเพื่อรับฟังสถานการณ์โรคคอตีบหรือโรคดิพทีเรีย (Diphtheria) และตรวจเยี่ยมโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เลย อ.วังสะพุง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิมพระเกียรติหนองหิน ว่า โรคคอตีบเป็นโรคติดต่อโดยเชื้อโรคอยู่ในน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย การติดเชื้อมักเป็นที่ลำคอ หรือจมูก ประเทศไทยดำเนินการควบคุมได้ ไม่เป็นปัญหาติดต่อกันมาแล้วกว่า 10 ปี เนื่องจากมีความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนป้องกันอยู่ในระดับสูง แต่ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเข้าถึงวัคซีน เช่น พื้นที่ทุรกันดาร ภูเขา พื้นที่มีปัญหาความไม่สงบ ประกอบกับปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยเฉพาะในพื้นที่ตะเข็บชายแดน จึงทำให้มีความเสี่ยงโรคหวนกลับมาระบาดได้อีก จากการรับฟังสถานการณ์โรคคอตีบในพื้นที่จังหวัดเลย ขณะนี้สามารถควบคุมการระบาดได้แล้ว ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปี 2555 ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วย 75 ราย เสียชีวิต 3 ราย ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เลย เพชรบูรณ์ ปัตตานี หนองบัวลำภู และ ยะลา โดยพบผู้ป่วยที่ จ.เลย จำนวน 27 ราย ใน 4 อำเภอ คือ ด่านซ้าย วังสะพุง ภูหลวง และ ผาขาว มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นผู้ใหญ่ จากการสอบสวนผู้เสียชีวิต พบว่า เป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ มีโรคประจำตัวและดื่มสุราเป็นประจำ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง
นพ.สุรวิทย์ กล่าวอีกว่า การควบคุมโรคที่จังหวัดเลย ขณะนี้ได้จัดส่งวัคซีนป้องกันโรคคอตีบจำนวน 500,000 โดส ฉีดให้ประชาชนทั่วไปที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งคนไทยและต่างด้าวทุกคน และฉีดให้ทุกคนใน 3 อำเภอที่พบผู้ป่วย ได้แก่ อำเภอเมือง วังสะพุง และด่านซ้าย เป็นการฉีดปูพรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคใหม่ทั้งหมด เข็มแรกจะฉีดให้ครบภายในพฤศจิกายน 2555 ฉีดคนละ 1-3 เข็ม ฉีดเข็มที่ 2 ภายใน 1 เดือน และเข็มที่ 3 ภายใน 6 เดือน โดยเน้นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา โดยได้ตรวจคัดกรองนักเรียนที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เลย อำเภอ วังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนประจำ มีนักเรียนประมาณ 700 คน ตรวจพบว่ามีเชื้อแต่ยังใม่ปรากฎอาการป่วยจำนวน 3 ราย รอผลตรวจอีก 10 ราย ได้แยกเด็กออกจากเด็กทั่วไป และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เลยร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรค กำชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในพื้นที่ ออกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรคดังกล่าว โดยเฉพาะการมีสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้ภาชนะเช่นแก้วน้ำ ช้อนรับประทานอาหารร่วมกัน ผู้ป่วยเวลาไอจามให้ใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูกหรือใส่หน้ากากอนามัย พักรักษาตัวจนกว่าจะหาย ผู้ป่วย ผู้สัมผัสโรคต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารพิษคอตีบเพื่อลดความรุนแรงของโรคและบรรเทาการระบาดของโรค
“มาตรการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคคอตีบ สธ.ได้จัดส่งยารักษาผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ (Diphtheria antitoxin) ในโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่งและโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 1,500 ขวด รองรับผู้ป่วยประมาณ 150 ราย และสำรองไว้ที่ส่วนกลางคือที่องค์การเภสัชกรรม ศูนย์พิษวิทยาของโรงพยาบาลรามาธิบดี และที่กรมควบคุมโรคอีก 2,000 ขวด นอกจากนี้ยังได้สำรองวัคซีนป้องกันโรคคอตีบสำหรับเด็กและผู้ใหญ่จำนวน 5,000,000 ล้านโด๊ส เพื่อใช้ในการควบคุมโรคหากมีการระบาดอีก โดยจะฉีดได้ 2,500,000 คน” รมช.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.วิวรรธน์ ก่อวิริยะกมล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย กล่าวว่า การป้องกันโรคคอตีบขอให้ประชาชนพาลูกหลานไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบให้ครบตามเกณฑ์ที่ สธ.กำหนด และให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ใช้ช้อนกลาง ตักอาหาร ไม่ใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน ควรล้างมือก่อนปรุงหรือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ หากมีอาการไอ มีไข้เจ็บคอ 1-2 วัน ควรพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใกล้บ้าน โดย สสจ.เลยได้รณรงค์ความสะอาดในแหล่งที่มีผู้คนอยู่รวมกันมาก เช่น ศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน