หวั่นโรคคอตีบระบาดหนัก กรมควบคุมโรค เดินหน้าเฝ้าระวังควบคุม หลังพบยอดป่วยเกินครึ่งร้อย พร้อมประชุมสร้างความเข้มแข็งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เตรียมจัด 17 ทีมลงพื้นที่ 8 จังหวัดที่เกิดโรคและจังหวัดใกล้เคียง
วันนี้ (8 ต.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว สำหรับการป้องกันควบคุมโรคคอตีบในพื้นที่ที่เกิดโรคและพื้นที่ใกล้เคียง ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงสถานการณ์ของโรคคอตีบที่เกิดขึ้น และได้กำชับให้กรมควบคุมโรคและหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคคอตีบให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ที่เกิดโรคและพื้นที่ใกล้เคียง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตนั้น ทำให้การดำเนินงานในการควบคุมโรคคอตีบเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์โรคคอตีบ (ตั้งแต่ 1 มิถุนายน-25 กันยายน2555) พบผู้ป่วยโรคคอตีบ จำนวน 59 ราย เป็นผู้ป่วยจากจังหวัดเลย 46 ราย เพชรบูรณ์ 10 ราย และจังหวัดหนองบัวลำภู 3 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (จังหวัดเลยทั้ง 2 ราย) ซึ่งสถานการณ์ก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มผู้ใหญ่ที่อาจไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ร่วมกับทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วและหน่วยงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้ กรมควบคุมโรคได้จัดการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว สำหรับการป้องกันควบคุมโรคคอตีบในพื้นที่ที่เกิดโรคและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีการทบทวนแผนการดำเนินงานและมาตรการต่างๆ รวมถึงการคาดการณ์และประเมินความเสี่ยงของโรคคอตีบในพื้นที่
นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า ผลจากการประชุมดังกล่าว คือ กรมควบคุมโรคได้พัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว โดยได้จัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) จำนวน 17 ทีม ลงพื้นที่อย่างเข้มข้นใน 8 จังหวัดที่เกิดโรค และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย พิษณุโลก ขอนแก่น และจังหวัดชัยภูมิ โดยเร่งรัดการดำเนินงานตามมาตรการในการควบคุมโรคคอตีบ 3 มาตรการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1.ควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว โดยการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน หากพบให้ดำเนินการสอบสวนโรคทันที และดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด รวมถึงการตัดวงจรการแพร่เชื้อโรค โดยการสำรวจผู้สัมผัสใกล้ชิดและพาหะนำโรค ดำเนินการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการเกิดโรค 2.สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้เข้มแข็งโดยการเร่งรัดการให้วัคซีนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มเด็กและกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ในพื้นที่ รวมถึงผู้ใหญ่ที่คาดว่าจะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ และ 3.เน้นสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งในทุกภาคส่วน โดยการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคคอตีบให้กับเจ้าหน้าที่และประชาชนอย่างทั่วถึง
“ทั้งส่วนกลางและจังหวัดต้องมีโครงสร้างบัญชาการควบคุมการระบาดโรคคอตีบที่ชัดเจนและเข้มแข็ง เช่น ศูนย์บัญชาการ หากเป็นส่วนกลางก็จะมีผู้บริหารกรมควบคุมโรคสั่งการ ภายใต้คำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนในจังหวัดก็จะมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสั่งการ โดยมีสำนักงานป้องกันควบคุมโรคให้การสนับสนุน รวมถึงมีทีมยุทธศาสตร์ ทีมปฏิบัติการ (ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT) ทีมส่งกำลังบำรุงและบริหารงบประมาณและทีมสื่อสารความเสี่ยง เป็นต้น” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปอีกว่า โรคคอตีบเป็นโรคที่พบมานานแล้ว แต่ไม่บ่อยและประเทศไทยสามารถควบคุมได้ เนื่องจากมีวัคซีนป้องกันโรคบรรจุอยู่ในชุดวัคซีนพื้นฐาน ฉีดให้เด็กไทยทุกคนฟรี ตั้งแต่อายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน และกระตุ้นอีก 3 ครั้งเมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง 4 ปี และ 12 ปี หรือกำลังเรียนชั้น ป.6 โดยลักษณะของเชื้อโรคจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วย และติดต่อทางการไอ จาม อาการจะปรากฏหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน โดยจะมีไข้ต่ำๆ คล้ายไข้หวัด และมีไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร กลืนลำบากลักษณะพิเศษคือจะมีแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นที่ทอนซิลทั้ง 2 ข้างและลิ้นไก่ ซึ่งเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อถูกทำลายจากพิษเชื้อโรคทำให้เนื้อตาย ในรายที่มีอาการรุนแรงจะทำให้ทางเดินหายใจตีบตัน หายใจลำบาก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และปลายประสาทอักเสบทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต อาจเสียชีวิตได้
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับการป้องกันโรคคอตีบ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยขอให้ป้องกันตัวเอง โดยมีมาตรการทางสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีคนแออัดหนาแน่น และล้างมือบ่อยๆ ไอจามควรปิดปากปิดจมูก หากป่วยเป็นเป็นโรคทางเดินหายใจต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปติดคนอื่น
“โรคนี้มีโอกาสเกิดได้ในกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน จึงขอแนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กไปรับการฉีดวัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และต้องฉีดให้ครบตามจำนวน ซึ่งจะมีผลป้องกันไม่ให้ป่วยจากโรคนี้หากประชาชนมีอาการป่วยดังกล่าว ขอให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อให้การรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะป้องกันการเสียชีวิตได้ เนื่องจากโรงพยาบาลทุกแห่งมียาปฏิชีวนะรักษาและใช้ได้ผลดี” นพ.พรเทพ กล่าว
วันนี้ (8 ต.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว สำหรับการป้องกันควบคุมโรคคอตีบในพื้นที่ที่เกิดโรคและพื้นที่ใกล้เคียง ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงสถานการณ์ของโรคคอตีบที่เกิดขึ้น และได้กำชับให้กรมควบคุมโรคและหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคคอตีบให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ที่เกิดโรคและพื้นที่ใกล้เคียง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตนั้น ทำให้การดำเนินงานในการควบคุมโรคคอตีบเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์โรคคอตีบ (ตั้งแต่ 1 มิถุนายน-25 กันยายน2555) พบผู้ป่วยโรคคอตีบ จำนวน 59 ราย เป็นผู้ป่วยจากจังหวัดเลย 46 ราย เพชรบูรณ์ 10 ราย และจังหวัดหนองบัวลำภู 3 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (จังหวัดเลยทั้ง 2 ราย) ซึ่งสถานการณ์ก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มผู้ใหญ่ที่อาจไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ร่วมกับทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วและหน่วยงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้ กรมควบคุมโรคได้จัดการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว สำหรับการป้องกันควบคุมโรคคอตีบในพื้นที่ที่เกิดโรคและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีการทบทวนแผนการดำเนินงานและมาตรการต่างๆ รวมถึงการคาดการณ์และประเมินความเสี่ยงของโรคคอตีบในพื้นที่
นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า ผลจากการประชุมดังกล่าว คือ กรมควบคุมโรคได้พัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว โดยได้จัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) จำนวน 17 ทีม ลงพื้นที่อย่างเข้มข้นใน 8 จังหวัดที่เกิดโรค และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย พิษณุโลก ขอนแก่น และจังหวัดชัยภูมิ โดยเร่งรัดการดำเนินงานตามมาตรการในการควบคุมโรคคอตีบ 3 มาตรการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1.ควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว โดยการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน หากพบให้ดำเนินการสอบสวนโรคทันที และดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด รวมถึงการตัดวงจรการแพร่เชื้อโรค โดยการสำรวจผู้สัมผัสใกล้ชิดและพาหะนำโรค ดำเนินการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการเกิดโรค 2.สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้เข้มแข็งโดยการเร่งรัดการให้วัคซีนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มเด็กและกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ในพื้นที่ รวมถึงผู้ใหญ่ที่คาดว่าจะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ และ 3.เน้นสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งในทุกภาคส่วน โดยการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคคอตีบให้กับเจ้าหน้าที่และประชาชนอย่างทั่วถึง
“ทั้งส่วนกลางและจังหวัดต้องมีโครงสร้างบัญชาการควบคุมการระบาดโรคคอตีบที่ชัดเจนและเข้มแข็ง เช่น ศูนย์บัญชาการ หากเป็นส่วนกลางก็จะมีผู้บริหารกรมควบคุมโรคสั่งการ ภายใต้คำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนในจังหวัดก็จะมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสั่งการ โดยมีสำนักงานป้องกันควบคุมโรคให้การสนับสนุน รวมถึงมีทีมยุทธศาสตร์ ทีมปฏิบัติการ (ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT) ทีมส่งกำลังบำรุงและบริหารงบประมาณและทีมสื่อสารความเสี่ยง เป็นต้น” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปอีกว่า โรคคอตีบเป็นโรคที่พบมานานแล้ว แต่ไม่บ่อยและประเทศไทยสามารถควบคุมได้ เนื่องจากมีวัคซีนป้องกันโรคบรรจุอยู่ในชุดวัคซีนพื้นฐาน ฉีดให้เด็กไทยทุกคนฟรี ตั้งแต่อายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน และกระตุ้นอีก 3 ครั้งเมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง 4 ปี และ 12 ปี หรือกำลังเรียนชั้น ป.6 โดยลักษณะของเชื้อโรคจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วย และติดต่อทางการไอ จาม อาการจะปรากฏหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน โดยจะมีไข้ต่ำๆ คล้ายไข้หวัด และมีไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร กลืนลำบากลักษณะพิเศษคือจะมีแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นที่ทอนซิลทั้ง 2 ข้างและลิ้นไก่ ซึ่งเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อถูกทำลายจากพิษเชื้อโรคทำให้เนื้อตาย ในรายที่มีอาการรุนแรงจะทำให้ทางเดินหายใจตีบตัน หายใจลำบาก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และปลายประสาทอักเสบทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต อาจเสียชีวิตได้
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับการป้องกันโรคคอตีบ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยขอให้ป้องกันตัวเอง โดยมีมาตรการทางสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีคนแออัดหนาแน่น และล้างมือบ่อยๆ ไอจามควรปิดปากปิดจมูก หากป่วยเป็นเป็นโรคทางเดินหายใจต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปติดคนอื่น
“โรคนี้มีโอกาสเกิดได้ในกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน จึงขอแนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กไปรับการฉีดวัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และต้องฉีดให้ครบตามจำนวน ซึ่งจะมีผลป้องกันไม่ให้ป่วยจากโรคนี้หากประชาชนมีอาการป่วยดังกล่าว ขอให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อให้การรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะป้องกันการเสียชีวิตได้ เนื่องจากโรงพยาบาลทุกแห่งมียาปฏิชีวนะรักษาและใช้ได้ผลดี” นพ.พรเทพ กล่าว