ตัวแทนเด็กทุน สควค.รุ่น 14 กว่า 20 คน ยื่นหนังสือ สพฐ.ขอความชัดเจนบรรจุเข้ารับราชการ ชี้ จบแต่เดือน เม.ย.รอมาถึง 6 เดือน ยังไม่ได้บรรจุอีกกว่า 300 คน ด้าน ผอ.สพร.รับหน้าแทน “ชินภัทร” ที่เดินทางไปต่างประเทศ พร้อมแจง คปร.จัดสรรอัตราเกษียณให้ช้า รับปากจะดูแลให้ทุกคนได้บรรจุภายในเดือน พ.ย.นี้
วันนี้ (24 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลุ่มตัวแทนนิสิตนักศึกษาทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.รุ่นที่ 14) กว่า 20 คน นำโดย นายวิโรจ จิ๋วแหยม ตัวแทนนิสิตนักศึกษาทุนโครงการส่งเสริมฯ เดินทางมาเพื่อยื่นหนังสือต่อ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ขอความชัดเจนและขอความเป็นธรรมจากการได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูตำแหน่งครูผู้ช่วยล่าช้าเป็นเวลา 6 เดือน แต่เนื่องจากเลขาธิการ กพฐ.อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ.เป็นตัวแทนมารับหนังสือแทน
นายวิโรจ กล่าวว่า โครงการ สควค.เป็นความร่วมมือระหว่างสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สพฐ.และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยให้ทุนการศึกษา จำนวน 580 ทุนต่อปี แก่ผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 1 ปี และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วให้บรรจุในเขตพื้นที่การศึกษาตามภูมิลำเนาของผู้รับทุน ซึ่งในปีการศึกษา 2554 มีนักศึกษาในโครงการเข้ารับทุน จำนวน 541 คน และได้สำเร็จการศึกษามาตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.แต่ขณะนี้เวลาผ่านไปประมาณ 6 เดือนแล้ว มีนักศึกษาทุนได้เข้ารับบรรจุเป็นข้าราชการครูแล้วเพียง 189 คนเท่านั้น ส่วนที่เหลือ 352 คน ยังไม่ได้บรรจุเข้ารับราชการครู ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาการให้ทุนการศึกษาของรัฐบาล ที่ระบุว่า “เมื่อผู้รับทุนสำเร็จการศึกษาตามสัญญานี้แล้ว ผู้เข้ารับทุนต้องเข้ารับราชการเป็นครู/อาจารย์ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาฯ หรือหน่วยงานของรัฐ” ซึ่งหากการผิดสัญญาเกิดจากตัวนักศึกษาจะต้องชดใช้เงินทุนคืน จำนวน 270,000 บาทแต่หากผิดสัญญาโดยทางรัฐบาลเงื่อนไขต่างๆ ก็เป็นโมฆะ
ทั้งนี้ การบรรจุนักศึกษาทุนล่าช้าทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบกับนักศึกษาที่รับทุน ดังนี้ 1.นักศึกษาเกิดความเครียดเนื่องจากการดำรงชีวิตในปัจจุบันต้องตกเป็นภาระของครอบครัว ซึ่งส่วนมากมาจากฐานะครอบครัวที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำ และนักศึกษาไม่สามารถไปทำงานที่อื่นได้ เนื่องจากติดสัญญาทุนไว้กับรัฐบาล 2.นักศึกษาขาดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพครู และขาดความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ของตนเอง จากการขาดความเอาใจใส่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เนื่องจากเป็นโครงการความร่วมมือของหลายหน่วยงานใช้งบประมาณของประเทศจำนวนมาก ทั้งที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่บรรจุนักศึกษาทุนเป็นข้าราชการได้ทราบมาก่อนว่า จะมีจำนวนผู้เข้ารับการบรรจุแต่ละปีเท่าใด แต่หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องไม่ได้มีแผนรองรับ ทำให้นักศึกษาทุนที่เป็นความหวังของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต้องขาดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพครู
“ขอตำหนิการปฏิบัติงานของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องกับการบรรจุครั้งนี้ ว่า ไม่พึงตระหนัก และไม่ได้เอาใจใส่ในผลประโยชน์ของทรัพยากรบุคคลของประเทศ และการยื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อขอความชัดเจนในการบรรจุ และขอให้ สพฐ.เร่งรัดให้มี การบรรจุนักศึกษาทุน สควค.รุ่น 14 ที่เหลือทั้งหมดเข้ารับราชการครูโดยเร็วที่สุด เพื่อสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศไทย” นายวิโรจ กล่าว
ด้านนายไกร กล่าวว่า ความล่าช้าการบรรจุในปีนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สพฐ.ได้รับจัดสรรอัตราเกษียณมาจากคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) มาล่าช้ามาก โดยเพิ่งได้รับอัตรามาเมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่ง สพฐ.ได้ประสานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ แล้ว และตอนนี้อยู่ระหว่างการขออนุมัติกำหนดตำแหน่งจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จำนวน 426 อัตรา โดยมั่นใจว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะบรรจุนักศึกษาในโครงการ สควค.และครูพันธุ์ใหม่ได้อย่างแน่นอน
วันนี้ (24 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลุ่มตัวแทนนิสิตนักศึกษาทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.รุ่นที่ 14) กว่า 20 คน นำโดย นายวิโรจ จิ๋วแหยม ตัวแทนนิสิตนักศึกษาทุนโครงการส่งเสริมฯ เดินทางมาเพื่อยื่นหนังสือต่อ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ขอความชัดเจนและขอความเป็นธรรมจากการได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูตำแหน่งครูผู้ช่วยล่าช้าเป็นเวลา 6 เดือน แต่เนื่องจากเลขาธิการ กพฐ.อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ.เป็นตัวแทนมารับหนังสือแทน
นายวิโรจ กล่าวว่า โครงการ สควค.เป็นความร่วมมือระหว่างสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สพฐ.และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยให้ทุนการศึกษา จำนวน 580 ทุนต่อปี แก่ผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 1 ปี และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วให้บรรจุในเขตพื้นที่การศึกษาตามภูมิลำเนาของผู้รับทุน ซึ่งในปีการศึกษา 2554 มีนักศึกษาในโครงการเข้ารับทุน จำนวน 541 คน และได้สำเร็จการศึกษามาตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.แต่ขณะนี้เวลาผ่านไปประมาณ 6 เดือนแล้ว มีนักศึกษาทุนได้เข้ารับบรรจุเป็นข้าราชการครูแล้วเพียง 189 คนเท่านั้น ส่วนที่เหลือ 352 คน ยังไม่ได้บรรจุเข้ารับราชการครู ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาการให้ทุนการศึกษาของรัฐบาล ที่ระบุว่า “เมื่อผู้รับทุนสำเร็จการศึกษาตามสัญญานี้แล้ว ผู้เข้ารับทุนต้องเข้ารับราชการเป็นครู/อาจารย์ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาฯ หรือหน่วยงานของรัฐ” ซึ่งหากการผิดสัญญาเกิดจากตัวนักศึกษาจะต้องชดใช้เงินทุนคืน จำนวน 270,000 บาทแต่หากผิดสัญญาโดยทางรัฐบาลเงื่อนไขต่างๆ ก็เป็นโมฆะ
ทั้งนี้ การบรรจุนักศึกษาทุนล่าช้าทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบกับนักศึกษาที่รับทุน ดังนี้ 1.นักศึกษาเกิดความเครียดเนื่องจากการดำรงชีวิตในปัจจุบันต้องตกเป็นภาระของครอบครัว ซึ่งส่วนมากมาจากฐานะครอบครัวที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำ และนักศึกษาไม่สามารถไปทำงานที่อื่นได้ เนื่องจากติดสัญญาทุนไว้กับรัฐบาล 2.นักศึกษาขาดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพครู และขาดความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ของตนเอง จากการขาดความเอาใจใส่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เนื่องจากเป็นโครงการความร่วมมือของหลายหน่วยงานใช้งบประมาณของประเทศจำนวนมาก ทั้งที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่บรรจุนักศึกษาทุนเป็นข้าราชการได้ทราบมาก่อนว่า จะมีจำนวนผู้เข้ารับการบรรจุแต่ละปีเท่าใด แต่หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องไม่ได้มีแผนรองรับ ทำให้นักศึกษาทุนที่เป็นความหวังของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต้องขาดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพครู
“ขอตำหนิการปฏิบัติงานของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องกับการบรรจุครั้งนี้ ว่า ไม่พึงตระหนัก และไม่ได้เอาใจใส่ในผลประโยชน์ของทรัพยากรบุคคลของประเทศ และการยื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อขอความชัดเจนในการบรรจุ และขอให้ สพฐ.เร่งรัดให้มี การบรรจุนักศึกษาทุน สควค.รุ่น 14 ที่เหลือทั้งหมดเข้ารับราชการครูโดยเร็วที่สุด เพื่อสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศไทย” นายวิโรจ กล่าว
ด้านนายไกร กล่าวว่า ความล่าช้าการบรรจุในปีนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สพฐ.ได้รับจัดสรรอัตราเกษียณมาจากคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) มาล่าช้ามาก โดยเพิ่งได้รับอัตรามาเมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่ง สพฐ.ได้ประสานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ แล้ว และตอนนี้อยู่ระหว่างการขออนุมัติกำหนดตำแหน่งจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จำนวน 426 อัตรา โดยมั่นใจว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะบรรจุนักศึกษาในโครงการ สควค.และครูพันธุ์ใหม่ได้อย่างแน่นอน