กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องวัดความดันโลหิต ที่ใช้งานในโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศ จำนวน 523 เครื่อง พบว่า มีเครื่องที่ตกมาตรฐานทั้งสิ้น 110 เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 21 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานด้านอัตราการรั่วของความดันในระบบ โดยมีสาเหตุจากการชำรุดของอุปกรณ์ประกอบ เช่น คัฟ สาย ลูกยาง หากทำการเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุดจะทำให้เครื่องวัดความดันโลหิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี
นายแพทย์ นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคความดันโลหิตสูงนับเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่กำลังคุกคามโลก โดยในปัจจุบันมีประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลก เป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2568 ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านคน ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย จากสถิติปี 2554 พบคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวนประมาณ 11.5 ล้านคน และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้ผู้ป่วยสามารถตรวจวัดความดันโลหิตได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ได้ที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ทราบระดับความดันโลหิตของตนเองตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม การวัดความดันโลหิตนั้น ผู้วัดควรรู้จักเครื่องมือและกระบวนการที่จำเป็น ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วัดความดันในหลอดเลือดแดงโดยวิธีทางอ้อม (ไม่ต้องใส่ท่อเข้าไปในหลอดเลือด) ที่นิยมใช้กันแพร่หลายแบ่งออกเป็นสองแบบ ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล ซึ่งต้องใช้งานร่วมกับหูฟัง เหมาะกับการใช้งานโดยผู้ที่มีทักษะในการวัด เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา หรือเครื่องวัดความดันโลหิตที่แสดงค่าความดันเป็นแบบดิจิตอล และเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีระบบตรวจวัดค่าความดันโลหิตในตัว และแสดงค่าความดันโดยอัตโนมัติเป็นดิจิตอล (Digital display) ซึ่งใช้ในการวัดความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว (systolic pressure) และความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว (diastolic pressure) ของผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาในสถานพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ ได้ดำเนินงานตามโครงการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องวัดความดันโลหิต เพื่อตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพของเครื่องวัดความดันโลหิตแก่ผู้บริโภคและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยการทวนสอบความใช้ได้ของเครื่อง ด้วยวิธีทดสอบมาตรฐาน OIML R 16-1, OIML R 16-2 และ ISO 81060-1: 2007 เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความแม่น (accuracy) ของเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งจากการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้งานในโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ระยอง จันทบุรี ตรัง และชัยภูมิ ในด้านความแม่นและด้านอัตราการรั่วของความดันในระบบ ซึ่งเป็นการทวนสอบความใช้ได้ของเครื่อง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม ปี 2555 จำนวน 523 เครื่อง พบว่ามีเครื่องที่ตกมาตรฐานทั้งสิ้น 110 เครื่อง (ร้อยละ 21.0) โดยเป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานด้านความแม่น 24 เครื่อง (ร้อยละ 4.6) เป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานด้านอัตราการรั่วของความดันในระบบ 78 เครื่อง (ร้อยละ 14.9) และเป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานทั้ง 2 ด้าน 8 เครื่อง (ร้อยละ 1.5) จะเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานด้านอัตราการรั่วของความดันในระบบ โดยมีสาเหตุจากการชำรุดของอุปกรณ์ประกอบ เช่น คัฟ สาย ลูกยาง ซึ่งผู้ใช้งานเครื่องสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ ไปทำการเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุด ยังผลให้เครื่องวัดความดันโลหิตทำงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี นอกจากนี้ ผู้ใช้งานเครื่องวัดความดันโลหิต ต้องหมั่นดูแลรักษาและทวนสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ ตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้ค่าความดันโลหิตที่แม่นยำและนำไปสู่การวินิจฉัยโรคของแพทย์ที่ถูกต้อง
นายแพทย์ นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคความดันโลหิตสูงนับเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่กำลังคุกคามโลก โดยในปัจจุบันมีประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลก เป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2568 ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านคน ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย จากสถิติปี 2554 พบคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวนประมาณ 11.5 ล้านคน และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้ผู้ป่วยสามารถตรวจวัดความดันโลหิตได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ได้ที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ทราบระดับความดันโลหิตของตนเองตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม การวัดความดันโลหิตนั้น ผู้วัดควรรู้จักเครื่องมือและกระบวนการที่จำเป็น ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วัดความดันในหลอดเลือดแดงโดยวิธีทางอ้อม (ไม่ต้องใส่ท่อเข้าไปในหลอดเลือด) ที่นิยมใช้กันแพร่หลายแบ่งออกเป็นสองแบบ ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล ซึ่งต้องใช้งานร่วมกับหูฟัง เหมาะกับการใช้งานโดยผู้ที่มีทักษะในการวัด เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา หรือเครื่องวัดความดันโลหิตที่แสดงค่าความดันเป็นแบบดิจิตอล และเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีระบบตรวจวัดค่าความดันโลหิตในตัว และแสดงค่าความดันโดยอัตโนมัติเป็นดิจิตอล (Digital display) ซึ่งใช้ในการวัดความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว (systolic pressure) และความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว (diastolic pressure) ของผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาในสถานพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ ได้ดำเนินงานตามโครงการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องวัดความดันโลหิต เพื่อตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพของเครื่องวัดความดันโลหิตแก่ผู้บริโภคและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยการทวนสอบความใช้ได้ของเครื่อง ด้วยวิธีทดสอบมาตรฐาน OIML R 16-1, OIML R 16-2 และ ISO 81060-1: 2007 เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความแม่น (accuracy) ของเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งจากการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้งานในโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ระยอง จันทบุรี ตรัง และชัยภูมิ ในด้านความแม่นและด้านอัตราการรั่วของความดันในระบบ ซึ่งเป็นการทวนสอบความใช้ได้ของเครื่อง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม ปี 2555 จำนวน 523 เครื่อง พบว่ามีเครื่องที่ตกมาตรฐานทั้งสิ้น 110 เครื่อง (ร้อยละ 21.0) โดยเป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานด้านความแม่น 24 เครื่อง (ร้อยละ 4.6) เป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานด้านอัตราการรั่วของความดันในระบบ 78 เครื่อง (ร้อยละ 14.9) และเป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานทั้ง 2 ด้าน 8 เครื่อง (ร้อยละ 1.5) จะเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ตกมาตรฐานด้านอัตราการรั่วของความดันในระบบ โดยมีสาเหตุจากการชำรุดของอุปกรณ์ประกอบ เช่น คัฟ สาย ลูกยาง ซึ่งผู้ใช้งานเครื่องสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ ไปทำการเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุด ยังผลให้เครื่องวัดความดันโลหิตทำงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี นอกจากนี้ ผู้ใช้งานเครื่องวัดความดันโลหิต ต้องหมั่นดูแลรักษาและทวนสอบความใช้ได้ของเครื่องมือ ตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้ค่าความดันโลหิตที่แม่นยำและนำไปสู่การวินิจฉัยโรคของแพทย์ที่ถูกต้อง