สธ.เปิดงานกินเจ เพื่อสุขภาพ หาดใหญ่ 2555 ส่งเสริมให้ประชาชนกินเจอย่างปลอดภัย ได้คุณค่าโภชนาการ เตือนอันตรายจากธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง หากเก็บในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมหรือชื้นเกินไปอาจก่อให้เกิดเชื้อรา ซึ่งหากบริโภคเข้าไปในปริมาณที่มากจะทำให้มีการสะสมและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ พร้อมย้ำ เลือกซื้ออาหารเจจากร้านที่มีป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จะช่วยสร้างความมั่นใจในการบริโภค
วันนี้ (18 ต.ค.) นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในงานกินเจ เพื่อสุขภาพ หาดใหญ่ 2555 ณ สวนสาธารณะศุภสารรังสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ว่า การกินเจอย่างปลอดภัยและได้คุณค่าทางโภชนาการนั้น ผู้บริโภคควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากในช่วงกินเจ ร่างกายจะไม่ได้รับโปรตีนและธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์แต่จะได้จากการบริโภคอาหารแห้งประเภทธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้งแทน เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ รวมทั้งเต้าหู้ โปรตีนเกษตร แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ในรูปแบบต่างๆ เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์จากแป้งจึงไม่เหมาะสำหรับเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการบริโภคและปรุงประกอบอาหารแห้ง ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง คือ เชื้อราที่ปนเปื้อนในวัตถุดิบดังกล่าว ที่เกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ในที่ชื้นเกินไป หรือไม่มีการอบให้แห้งดีพอ ก่อให้เกิดสารอะฟลาท็อกซิน ซึ่งหากมีการบริโภคเข้าไปและ มีการสะสมในปริมาณมากก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ การป้องกันที่ดีคือต้องเลือกถั่วเมล็ดแห้งที่ใหม่และเก็บไว้ในภาชนะที่แห้งพอ โดยก่อนที่จะนำมาปรุงประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในถั่วเมล็ด ธัญพืชต่างๆ และควรปรุงสุก ทุกครั้งก่อนนำมาบริโภค นอกจากนี้การกินอาหารเจนอกจากจะได้คุณค่าจากผัก ผลไม้ และถั่วเมล็ดแห่งต่างๆ แล้ว ยังสามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยการกินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ที่ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารประเภทวิตามินบีต่างๆ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง เครื่องกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป โดยบริโภคอาหารสดที่ปรุงใหม่ๆ จะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า หรือเลือกซื้ออาหารเจจากร้านที่มีป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จะช่วยสร้างความมั่นใจในการบริโภค
“ทั้งนี้ การกินเจที่ถูกหลักโภชนาการ นอกจากจะผลดีต่อจิตใจแล้ว ยังช่วยทำให้ร่างกายของผู้ที่มีปัญหา เช่น น้ำหนักเกินก็สามารถช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้ และช่วยให้อวัยวะที่ใช้ในการขับถ่ายไม่อุดตัน โดยเน้นกินผักหลากสี และผลไม้สดรสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอ ชมพู่ เป็นต้น ซึ่งไม่เฉพาะในช่วงกินเจเท่านั้น แต่ควรกินผักและผลไม้เป็นประจำให้ได้ประมาณวันละครึ่งกิโลกรัม หรือกินผักประมาณมื้อละ 1-2 ทัพพี ส่วนผลไม้ควรกินหลังอาหาร ซึ่งจะมีวิตามินซีช่วยดูดซึมธาตุเหล็กในผักใบเขียวที่ช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
ด้าน นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาหารเจที่มีการปรุงด้วยผักเป็นส่วนประกอบหลักนั้น ต้องมีการล้างด้วยน้ำสะอาดโดยให้น้ำไหลผ่านนาน 2 นาที จะช่วยลดสารพิษหลายชนิดได้ประมาณร้อยละ 54-63 หรือจะแช่ในน้ำสะอาดนาน 15 นาที ก็จะช่วยลดสารพิษได้ประมาณร้อยละ 7-33 ส่วนอาหารที่ปรุงสำเร็จก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารเจที่มีรสชาติหวานจัด มันจัด เค็มจัด และแป้งมากเกินไป และในการปรุงประกอบอาหารที่ต้องมีการเติมเกลือ หรือซอสปรุงรส ควรเลือกใช้เกลือและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน ก็จะช่วยป้องกันการขาดสารอาหารไอโอดีน แต่ต้องควบคุมปริมาณไม่ให้เค็มเกินไป และเพื่อสุขอนามัยที่ดี ให้ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ จะช่วยให้บริโภคอาหารได้อย่างปลอดภัย
วันนี้ (18 ต.ค.) นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในงานกินเจ เพื่อสุขภาพ หาดใหญ่ 2555 ณ สวนสาธารณะศุภสารรังสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ว่า การกินเจอย่างปลอดภัยและได้คุณค่าทางโภชนาการนั้น ผู้บริโภคควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากในช่วงกินเจ ร่างกายจะไม่ได้รับโปรตีนและธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์แต่จะได้จากการบริโภคอาหารแห้งประเภทธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้งแทน เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ รวมทั้งเต้าหู้ โปรตีนเกษตร แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ในรูปแบบต่างๆ เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์จากแป้งจึงไม่เหมาะสำหรับเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการบริโภคและปรุงประกอบอาหารแห้ง ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง คือ เชื้อราที่ปนเปื้อนในวัตถุดิบดังกล่าว ที่เกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ในที่ชื้นเกินไป หรือไม่มีการอบให้แห้งดีพอ ก่อให้เกิดสารอะฟลาท็อกซิน ซึ่งหากมีการบริโภคเข้าไปและ มีการสะสมในปริมาณมากก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ การป้องกันที่ดีคือต้องเลือกถั่วเมล็ดแห้งที่ใหม่และเก็บไว้ในภาชนะที่แห้งพอ โดยก่อนที่จะนำมาปรุงประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในถั่วเมล็ด ธัญพืชต่างๆ และควรปรุงสุก ทุกครั้งก่อนนำมาบริโภค นอกจากนี้การกินอาหารเจนอกจากจะได้คุณค่าจากผัก ผลไม้ และถั่วเมล็ดแห่งต่างๆ แล้ว ยังสามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยการกินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ที่ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารประเภทวิตามินบีต่างๆ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง เครื่องกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป โดยบริโภคอาหารสดที่ปรุงใหม่ๆ จะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า หรือเลือกซื้ออาหารเจจากร้านที่มีป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จะช่วยสร้างความมั่นใจในการบริโภค
“ทั้งนี้ การกินเจที่ถูกหลักโภชนาการ นอกจากจะผลดีต่อจิตใจแล้ว ยังช่วยทำให้ร่างกายของผู้ที่มีปัญหา เช่น น้ำหนักเกินก็สามารถช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้ และช่วยให้อวัยวะที่ใช้ในการขับถ่ายไม่อุดตัน โดยเน้นกินผักหลากสี และผลไม้สดรสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอ ชมพู่ เป็นต้น ซึ่งไม่เฉพาะในช่วงกินเจเท่านั้น แต่ควรกินผักและผลไม้เป็นประจำให้ได้ประมาณวันละครึ่งกิโลกรัม หรือกินผักประมาณมื้อละ 1-2 ทัพพี ส่วนผลไม้ควรกินหลังอาหาร ซึ่งจะมีวิตามินซีช่วยดูดซึมธาตุเหล็กในผักใบเขียวที่ช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
ด้าน นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาหารเจที่มีการปรุงด้วยผักเป็นส่วนประกอบหลักนั้น ต้องมีการล้างด้วยน้ำสะอาดโดยให้น้ำไหลผ่านนาน 2 นาที จะช่วยลดสารพิษหลายชนิดได้ประมาณร้อยละ 54-63 หรือจะแช่ในน้ำสะอาดนาน 15 นาที ก็จะช่วยลดสารพิษได้ประมาณร้อยละ 7-33 ส่วนอาหารที่ปรุงสำเร็จก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารเจที่มีรสชาติหวานจัด มันจัด เค็มจัด และแป้งมากเกินไป และในการปรุงประกอบอาหารที่ต้องมีการเติมเกลือ หรือซอสปรุงรส ควรเลือกใช้เกลือและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน ก็จะช่วยป้องกันการขาดสารอาหารไอโอดีน แต่ต้องควบคุมปริมาณไม่ให้เค็มเกินไป และเพื่อสุขอนามัยที่ดี ให้ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ จะช่วยให้บริโภคอาหารได้อย่างปลอดภัย