อย.บุกยึดยาสมุนไพรผิด กม.ย่านบางกอกน้อย อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ตร.แจ้งข้อหาขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมบุกทลายแหล่งผลิตเครื่องสำอาง “หมอยันฮี” ย่านบึงกุ่ม ตรวจพบสารปรอทเพียบ แอบอ้างชื่อโรงพยาบาล
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย.กล่าวระหว่างแถลงข่าวการจับกุมการลักลอบขายยาสมุนไพรที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาหลายชนิด และอวดอ้างสรรพคุณรักษาสารพัดโรคเกินจริง ทั้งโรคหัวใจ มะเร็ง เอดส์ ต่อมลูกหมากโต อัมพฤกษ์ แก้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ ว่า ได้รับการประสานงานจากตำรวจ บก.ปคบ.ว่า มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบคลินิกสายใต้ใหม่แพทย์แผนไทย ซึ่งคาดว่าลักลอบขายยาสมุนไพรที่ผิดกฎหมาย ทางตำรวจจึงทำการล่อซื้อยาสมุนไพรจากคลินิกดังกล่าว และตรวจสอบพบเป็นยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจริง ดังนั้น ในวันที่ 11 ต.ค.จึงประสานงานกันระหว่าง อย.และ ปคบ.นำหมายค้นศาลจังหวัดตลิ่งชัน ที่ ศ.215/2555 เข้าตรวจสอบคลินิกสายใต้ใหม่แพทย์แผนไทย เลขที่ 147/169 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอัมรินทร์ เขต บางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยมี น.ส.สุณี พิมพขันธ์ ผู้ดูแลคลินิก และนำตรวจค้น
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า ผลการตรวจค้น พบยาสมุนไพรที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาที่บรรจุขวดพลาสติกและบรรจุซองใสหลากหลายชนิด ฉลากแสดงสรรพคุณรักษาสารพัดโรค ดังนี้ 1.ยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตราโพธิ์แดง ฉลากระบุสรรพคุณ ถ่ายสารพิษ สารเคมี เชื้อไวรัสที่ตกค้างใน เม็ดเลือด หายปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ฯลฯ จำนวน 150 ขวด 2.ยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตรานะโม ฉลากระบุสรรพคุณ ถ่ายพิษมะเร็งทุกชนิด ถ่ายพิษเอดส์ ฯลฯ จำนวน 760 ขวด 3.ยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตราดอกบัว ฉลากระบุสรรพคุณ ใช้สำหรับถ่ายโรคอัมพฤกษ์ จำนวน 250 ขวด 4.ยาสมุนไพรพุทธคุณ ตราโพธิ์แดง ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรค ซีส เนื้องอกทุกชนิด ไทรอยด์ ปวดข้อ รูมาตอยด์ ริดสีดวง เริม ฯลฯ จำนวน 500 ซอง 5.สมุนไพรพลังขุนศึก ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรค ปวดข้อกระดูก บำรุงกำลัง ดับพิษไวรัสในเม็ดเลือด เนื้องอก ซีส ลดไขมัน ลดสิว ลดฝ้า ลดผิวดำเกรียม ฯลฯ จำนวน 400 ซอง
6.ยาสมุนไพร ตราไตรพลังผล ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรค หืดหอบ ไอ หวัดเรื้อรัง ไซนัส ธาตุไฟหย่อน ไม่สู้ หลังเร็ว ลดอาการผมหงอก ฯลฯ จำนวน 60 ซอง 7.ยาสมุนไพร ตราลูกกตัญญูชนิดเม็ด ฉลากระบุสรรพคุณใช้สำหรับ เพิ่มกำลังกาย แก้ภูมิแพ้ แก้โรคไหล ลดสิวฝ้า แก้ไม่สู้ หลั่งเร็ว ฯลฯ จำนวน 55 ซอง 8.ยาสมุนไพรตราเสื่อหญ้า ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรคซีสทุกชนิด เนื้องอกทุกชนิด ตัวเหลือง ตาเหลือง จำนวน 40 ซอง 9.สมุนไพร ตรานะโมแบบเม็ด ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรค สิว ฝ้า ความดันสูง เริม หนองในเทียม โรคหัวใจ ต่อมลูกหมากโต ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เม็ดเลือดขาวมากกว่าเม็ดเลือดแดง ถุงน้ำดี ฯลฯ จำนวน 90 ซอง 10.ยาสมุนไพร ตราผมเกล้า ฉลากระบุสรรพคุณ ใช้ทาดับพิษเนื้อร้าย เริม โรคผิวหนังทุกชนิด โรยทาแผล ฝี หนอง ฯลฯ จำนวน 50 กระปุก 11.ยาสมุนไพร ตราพุทธอุทาน (ชนิดเม็ด) ฉลากระบุสรรพคุณแก้เอดส์ ใช้กับฝีคัณฑสูตรเรื้อรัง ไมเกรน เบาหวาน บำรุงตับ ไต ฯลฯ จำนวน 20 ซอง และ 12.ยาสมุนไพรสัพพัญญูผง ฉลากระบุสรรพคุณ แก้ไอ หอบ เอดส์ ผอมแห้ง ตัวบวม แก้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จำนวน 60 ซอง นอกจากนี้ ยังตรวจพบวัตถุดิบ ฉลากระบุเสื่อหญ้า จำนวน 9 กระสอบ, ฉลากยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตราดอกบัว จำนวน 6 ห่อ และฉลากยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตรานะโม จำนวน 4 ห่อ เจ้าหน้าที่จึงทำการยึดของกลางทั้งหมดเพื่อดำเนินคดี ซึ่งของกลางมีมูลค่ากว่า 600,000 บาท
ด้าน พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล ผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) กล่าวว่า ในส่วนของการดำเนินคดี เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้ง 2 ข้อหา คือ 1.ขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท 2.ขายยาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
พล.ต.ต.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ อย. ได้เข้าตรวจสอบแหล่งผลิตเพื่อจำหน่ายเครื่องสำอางผิดกฎหมาย เลขที่ 45/110 หมู่ 5 ซ.อุเทน 17 ถ.สุขาภิบาล 1 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ตามที่ผู้บริโภคร้องเรียน ว่า มีการลักลอบผลิตเครื่องสำอางระบุยี่ห้อหมอยันฮี ซึ่งเป็นการแอบอ้างชื่อโรงพยาบาล โดยทางโรงพยาบาลไม่ทราบเรื่อง จึงจัดเป็นเครื่องสำอางปลอม
พล.ต.ต.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการดำเนินคดีเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้ง 4 ข้อหา คือ 1.ผลิตเครื่องสำอางปลอม มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.หากตรวจพบสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดังกล่าว จะถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 4.ผลิตยาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า จากการตรวจวิเคราะห์ พบมีสารปรอทปนเปื้อนอยู่ในของกลางที่ยึดได้ ดังนี้ 1.สบู่หมอยันฮี ฝ้า กระ จุดด่างดำ กล่องสีฟ้า ผลิตโดย Dr.YANHEE R&D Center LAB 2.ครีมหมอยันฮี ลดสิว ทำให้หน้าเด้ง ขาว เนียน ใส ตลับสีฟ้า 3.Beta METH Cream กล่องสีขาว ซึ่งเป็นยาอันตราย ได้แก่ เบต้าเมทาโซนครีม กลุ่มสเตียรอยด์ ของ บ.โอสถอินเตอร์ ที่นำมาผสมในครีมชนิดต่างๆ 4.Manee Herbs ครีมทาสิว-ฝ้า น้ำนมจมูกข้าว กล่องสีฟ้า 5.ครีมแอปเปิลสาหร่าย สูตรฝ้าหนา ลักษณะกระปุกสีครีม และ 6.เบโทโซน-ซีอี ครีม กล่องสีขาว ซึ่งเป็นยาอันตราย ได้แก่ เบต้าเมทาโซนครีม กลุ่มสเตียรอยด์ ของ บ.T.O.ฟาร์มา ที่นำมาผสมในครีมชนิดต่างๆ ทั้งนี้ ยังพบเคมีภัณฑ์วัตถุดิบในการผลิต, อุปกรณ์การผลิต ภาชนะบรรจุ กล่อง ฉลาก ถุงพลาสติกใสบรรจุครีมสีส้ม, ถุงพลาสติกใสบรรจุครีมสีเหลือง และถุงพลาสติกใสบรรจุครีมสีเหลือง ฉลากติดคำว่า “สาหร่ายเหลือง” ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนผสมของวัตถุที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เช่น สารปรอท ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ เป็นต้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มูลค่าของกลางที่ยึด ประมาณ 1,000,000 บาท
นพ.บุญชัย กล่าวด้วยว่า ขอเตือนประชาชน อย่าได้หลงซื้อยาแผนโบราณที่ไม่มีเลขทะเบียนตำรับยา ฉลากแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง เพราะอาจได้รับยาที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ดังนั้น ขอให้ผู้บริโภคซื้อยาแผนโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสังเกตฉลากต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาบนฉลาก เช่น G 888/50 ส่วนการเลือกซื้อเครื่องสำอาง ควรซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยที่มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ และเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก
“หากเครื่องสำอางใดมีส่วนผสมของสารประกอบของปรอท ก็จะส่งผลทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลงเกิดพิษสะสมของปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผสมไฮโดรควิโนน ทำให้เกิดระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย และผลิตภัณฑ์ที่ผสมกรดเรทิโนอิก หรือกรดวิตามินเอ ก็จะทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์” เลขาธิการ อย.กล่าว
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย.กล่าวระหว่างแถลงข่าวการจับกุมการลักลอบขายยาสมุนไพรที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาหลายชนิด และอวดอ้างสรรพคุณรักษาสารพัดโรคเกินจริง ทั้งโรคหัวใจ มะเร็ง เอดส์ ต่อมลูกหมากโต อัมพฤกษ์ แก้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ ว่า ได้รับการประสานงานจากตำรวจ บก.ปคบ.ว่า มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบคลินิกสายใต้ใหม่แพทย์แผนไทย ซึ่งคาดว่าลักลอบขายยาสมุนไพรที่ผิดกฎหมาย ทางตำรวจจึงทำการล่อซื้อยาสมุนไพรจากคลินิกดังกล่าว และตรวจสอบพบเป็นยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจริง ดังนั้น ในวันที่ 11 ต.ค.จึงประสานงานกันระหว่าง อย.และ ปคบ.นำหมายค้นศาลจังหวัดตลิ่งชัน ที่ ศ.215/2555 เข้าตรวจสอบคลินิกสายใต้ใหม่แพทย์แผนไทย เลขที่ 147/169 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอัมรินทร์ เขต บางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยมี น.ส.สุณี พิมพขันธ์ ผู้ดูแลคลินิก และนำตรวจค้น
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า ผลการตรวจค้น พบยาสมุนไพรที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาที่บรรจุขวดพลาสติกและบรรจุซองใสหลากหลายชนิด ฉลากแสดงสรรพคุณรักษาสารพัดโรค ดังนี้ 1.ยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตราโพธิ์แดง ฉลากระบุสรรพคุณ ถ่ายสารพิษ สารเคมี เชื้อไวรัสที่ตกค้างใน เม็ดเลือด หายปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ฯลฯ จำนวน 150 ขวด 2.ยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตรานะโม ฉลากระบุสรรพคุณ ถ่ายพิษมะเร็งทุกชนิด ถ่ายพิษเอดส์ ฯลฯ จำนวน 760 ขวด 3.ยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตราดอกบัว ฉลากระบุสรรพคุณ ใช้สำหรับถ่ายโรคอัมพฤกษ์ จำนวน 250 ขวด 4.ยาสมุนไพรพุทธคุณ ตราโพธิ์แดง ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรค ซีส เนื้องอกทุกชนิด ไทรอยด์ ปวดข้อ รูมาตอยด์ ริดสีดวง เริม ฯลฯ จำนวน 500 ซอง 5.สมุนไพรพลังขุนศึก ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรค ปวดข้อกระดูก บำรุงกำลัง ดับพิษไวรัสในเม็ดเลือด เนื้องอก ซีส ลดไขมัน ลดสิว ลดฝ้า ลดผิวดำเกรียม ฯลฯ จำนวน 400 ซอง
6.ยาสมุนไพร ตราไตรพลังผล ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรค หืดหอบ ไอ หวัดเรื้อรัง ไซนัส ธาตุไฟหย่อน ไม่สู้ หลังเร็ว ลดอาการผมหงอก ฯลฯ จำนวน 60 ซอง 7.ยาสมุนไพร ตราลูกกตัญญูชนิดเม็ด ฉลากระบุสรรพคุณใช้สำหรับ เพิ่มกำลังกาย แก้ภูมิแพ้ แก้โรคไหล ลดสิวฝ้า แก้ไม่สู้ หลั่งเร็ว ฯลฯ จำนวน 55 ซอง 8.ยาสมุนไพรตราเสื่อหญ้า ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรคซีสทุกชนิด เนื้องอกทุกชนิด ตัวเหลือง ตาเหลือง จำนวน 40 ซอง 9.สมุนไพร ตรานะโมแบบเม็ด ฉลากระบุสรรพคุณใช้กับโรค สิว ฝ้า ความดันสูง เริม หนองในเทียม โรคหัวใจ ต่อมลูกหมากโต ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เม็ดเลือดขาวมากกว่าเม็ดเลือดแดง ถุงน้ำดี ฯลฯ จำนวน 90 ซอง 10.ยาสมุนไพร ตราผมเกล้า ฉลากระบุสรรพคุณ ใช้ทาดับพิษเนื้อร้าย เริม โรคผิวหนังทุกชนิด โรยทาแผล ฝี หนอง ฯลฯ จำนวน 50 กระปุก 11.ยาสมุนไพร ตราพุทธอุทาน (ชนิดเม็ด) ฉลากระบุสรรพคุณแก้เอดส์ ใช้กับฝีคัณฑสูตรเรื้อรัง ไมเกรน เบาหวาน บำรุงตับ ไต ฯลฯ จำนวน 20 ซอง และ 12.ยาสมุนไพรสัพพัญญูผง ฉลากระบุสรรพคุณ แก้ไอ หอบ เอดส์ ผอมแห้ง ตัวบวม แก้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จำนวน 60 ซอง นอกจากนี้ ยังตรวจพบวัตถุดิบ ฉลากระบุเสื่อหญ้า จำนวน 9 กระสอบ, ฉลากยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตราดอกบัว จำนวน 6 ห่อ และฉลากยาสมุนไพรยาน้ำระบาย ตรานะโม จำนวน 4 ห่อ เจ้าหน้าที่จึงทำการยึดของกลางทั้งหมดเพื่อดำเนินคดี ซึ่งของกลางมีมูลค่ากว่า 600,000 บาท
ด้าน พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล ผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) กล่าวว่า ในส่วนของการดำเนินคดี เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้ง 2 ข้อหา คือ 1.ขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท 2.ขายยาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
พล.ต.ต.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ อย. ได้เข้าตรวจสอบแหล่งผลิตเพื่อจำหน่ายเครื่องสำอางผิดกฎหมาย เลขที่ 45/110 หมู่ 5 ซ.อุเทน 17 ถ.สุขาภิบาล 1 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ตามที่ผู้บริโภคร้องเรียน ว่า มีการลักลอบผลิตเครื่องสำอางระบุยี่ห้อหมอยันฮี ซึ่งเป็นการแอบอ้างชื่อโรงพยาบาล โดยทางโรงพยาบาลไม่ทราบเรื่อง จึงจัดเป็นเครื่องสำอางปลอม
พล.ต.ต.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการดำเนินคดีเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้ง 4 ข้อหา คือ 1.ผลิตเครื่องสำอางปลอม มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.หากตรวจพบสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดังกล่าว จะถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 4.ผลิตยาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า จากการตรวจวิเคราะห์ พบมีสารปรอทปนเปื้อนอยู่ในของกลางที่ยึดได้ ดังนี้ 1.สบู่หมอยันฮี ฝ้า กระ จุดด่างดำ กล่องสีฟ้า ผลิตโดย Dr.YANHEE R&D Center LAB 2.ครีมหมอยันฮี ลดสิว ทำให้หน้าเด้ง ขาว เนียน ใส ตลับสีฟ้า 3.Beta METH Cream กล่องสีขาว ซึ่งเป็นยาอันตราย ได้แก่ เบต้าเมทาโซนครีม กลุ่มสเตียรอยด์ ของ บ.โอสถอินเตอร์ ที่นำมาผสมในครีมชนิดต่างๆ 4.Manee Herbs ครีมทาสิว-ฝ้า น้ำนมจมูกข้าว กล่องสีฟ้า 5.ครีมแอปเปิลสาหร่าย สูตรฝ้าหนา ลักษณะกระปุกสีครีม และ 6.เบโทโซน-ซีอี ครีม กล่องสีขาว ซึ่งเป็นยาอันตราย ได้แก่ เบต้าเมทาโซนครีม กลุ่มสเตียรอยด์ ของ บ.T.O.ฟาร์มา ที่นำมาผสมในครีมชนิดต่างๆ ทั้งนี้ ยังพบเคมีภัณฑ์วัตถุดิบในการผลิต, อุปกรณ์การผลิต ภาชนะบรรจุ กล่อง ฉลาก ถุงพลาสติกใสบรรจุครีมสีส้ม, ถุงพลาสติกใสบรรจุครีมสีเหลือง และถุงพลาสติกใสบรรจุครีมสีเหลือง ฉลากติดคำว่า “สาหร่ายเหลือง” ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนผสมของวัตถุที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เช่น สารปรอท ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ เป็นต้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มูลค่าของกลางที่ยึด ประมาณ 1,000,000 บาท
นพ.บุญชัย กล่าวด้วยว่า ขอเตือนประชาชน อย่าได้หลงซื้อยาแผนโบราณที่ไม่มีเลขทะเบียนตำรับยา ฉลากแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง เพราะอาจได้รับยาที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ ดังนั้น ขอให้ผู้บริโภคซื้อยาแผนโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสังเกตฉลากต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาบนฉลาก เช่น G 888/50 ส่วนการเลือกซื้อเครื่องสำอาง ควรซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยที่มีข้อความบังคับครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ และเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก
“หากเครื่องสำอางใดมีส่วนผสมของสารประกอบของปรอท ก็จะส่งผลทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลงเกิดพิษสะสมของปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผสมไฮโดรควิโนน ทำให้เกิดระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย และผลิตภัณฑ์ที่ผสมกรดเรทิโนอิก หรือกรดวิตามินเอ ก็จะทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์” เลขาธิการ อย.กล่าว