แพทยสภาเล็งล่ารายชื่อแก้ กม.หาก สปสช.พิจารณาขยาย ม.41 เป็นเต่าคลาน ด้านเครือข่ายผู้เสียหายฯค้าน ล่ารายชื่อใช้เวลาหลายปี จวกเป็นการเอื้อประโยชน์ รพ.เอกชน
ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวถึงการขยายสิทธิการชดเชยกรณีเกิดความเสียหายทางการแพทย์โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ทั้ง 3 กองทุน หลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เดินหน้าขยายสิทธิตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ไปแล้วนั้นว่า ขณะนี้การพิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมและการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะตัดสินให้มีการขยายสิทธิประโยชน์ให้เท่าเทียมกันทั้ง 3 กองทุนหรือไม่ ซึ่งแพทยสภาในฐานะผลักดันให้เกิดการขยายสิทธิ เห็นว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ทำได้ 2 ช่องทาง คือ 1.เสนอแก้กฎหมายผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 20 คน เป็นผู้เสนอแก้กฎหมาย และ 2.ล่ารายชื่อประชาชน 10,000 รายชื่อ เพื่อให้เกิดการแก้ไขกฎหมายต่อไป
“หากยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว ก็จะนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาอีกครั้ง เพื่อพิจารณาว่าจะใช้ช่องทางใด เพราะการศึกษาของคณะอนุกรรมการฯอาจใช้เวลานาน” นายกแพทยสภา กล่าว
ด้าน นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า การขยายสิทธิการจ่ายเงินชดเชยฯ ครอบคลุม 3 กองทุนนั้น ยังไม่ครอบคลุมครบประชาชนทั้งหมด ฉะนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว หากจะมีการล่ารายชื่อ ส.ส.นั้น ส.ส.ทั้ง 20 คน ก็ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพราะการที่ประชาชนเลือกเข้ามาก็เพื่อให้ส.ส.ค่อยช่วยเหลือในเวลาที่ประชาชนเดือดร้อน แต่ตามหลักแล้วการล่ารายชื่อก็ต้องใช้เวลาหลายปีอยู่ดี
นางปรียนันท์ กล่าวต่อว่า การที่แพทยสภาทำเช่นนี้ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับโรงพยาบาลเอกชนใช่หรือไม่ โดยเรื่องการขยาย มาตรา 41 นั้น ทางกรมบัญชีกลางเองก็ออกมาชี้แจงแล้วว่าทำไม่ได้ และควรใช้แนวทางของร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....ตามที่ประชาชนเรียกร้องจะดีกว่า เพราะจะได้มีกองทุนชดเชยเป็นเงินของคนไข้เอง ซึ่งประชาชนได้รับผลประโยชน์จริงๆทั้ง 3 กองทุนและรวมไปถึงคนไข้ในโรงพยาบาลเอกชนด้วย ทั้งนี้ การเดินหน้าขยายมาตรา 41 ยังจะเป็นการส่งผลเสียต่อเมดิคัล ฮับ หลังจากมีการเปิดประชาคมอาเซียนอีกด้วย
“การเดินหน้ามาตรา 41 แพทยสภามีสิทธิ์ที่จะทำ แต่ตามหลักมนุษยธรรมแล้วไม่ควรทำ ซึ่งเรื่องนี้อยากให้นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง และอยากให้มองที่ประโยชน์ของประชาชนมากกว่า” นางปรียนันท์ กล่าว
ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวถึงการขยายสิทธิการชดเชยกรณีเกิดความเสียหายทางการแพทย์โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ทั้ง 3 กองทุน หลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เดินหน้าขยายสิทธิตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ไปแล้วนั้นว่า ขณะนี้การพิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมและการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะตัดสินให้มีการขยายสิทธิประโยชน์ให้เท่าเทียมกันทั้ง 3 กองทุนหรือไม่ ซึ่งแพทยสภาในฐานะผลักดันให้เกิดการขยายสิทธิ เห็นว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ทำได้ 2 ช่องทาง คือ 1.เสนอแก้กฎหมายผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 20 คน เป็นผู้เสนอแก้กฎหมาย และ 2.ล่ารายชื่อประชาชน 10,000 รายชื่อ เพื่อให้เกิดการแก้ไขกฎหมายต่อไป
“หากยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว ก็จะนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาอีกครั้ง เพื่อพิจารณาว่าจะใช้ช่องทางใด เพราะการศึกษาของคณะอนุกรรมการฯอาจใช้เวลานาน” นายกแพทยสภา กล่าว
ด้าน นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า การขยายสิทธิการจ่ายเงินชดเชยฯ ครอบคลุม 3 กองทุนนั้น ยังไม่ครอบคลุมครบประชาชนทั้งหมด ฉะนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว หากจะมีการล่ารายชื่อ ส.ส.นั้น ส.ส.ทั้ง 20 คน ก็ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพราะการที่ประชาชนเลือกเข้ามาก็เพื่อให้ส.ส.ค่อยช่วยเหลือในเวลาที่ประชาชนเดือดร้อน แต่ตามหลักแล้วการล่ารายชื่อก็ต้องใช้เวลาหลายปีอยู่ดี
นางปรียนันท์ กล่าวต่อว่า การที่แพทยสภาทำเช่นนี้ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับโรงพยาบาลเอกชนใช่หรือไม่ โดยเรื่องการขยาย มาตรา 41 นั้น ทางกรมบัญชีกลางเองก็ออกมาชี้แจงแล้วว่าทำไม่ได้ และควรใช้แนวทางของร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....ตามที่ประชาชนเรียกร้องจะดีกว่า เพราะจะได้มีกองทุนชดเชยเป็นเงินของคนไข้เอง ซึ่งประชาชนได้รับผลประโยชน์จริงๆทั้ง 3 กองทุนและรวมไปถึงคนไข้ในโรงพยาบาลเอกชนด้วย ทั้งนี้ การเดินหน้าขยายมาตรา 41 ยังจะเป็นการส่งผลเสียต่อเมดิคัล ฮับ หลังจากมีการเปิดประชาคมอาเซียนอีกด้วย
“การเดินหน้ามาตรา 41 แพทยสภามีสิทธิ์ที่จะทำ แต่ตามหลักมนุษยธรรมแล้วไม่ควรทำ ซึ่งเรื่องนี้อยากให้นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง และอยากให้มองที่ประโยชน์ของประชาชนมากกว่า” นางปรียนันท์ กล่าว