เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินประเทศไทย ยื่นหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรี พรุ่งนี้ ด้านนักวิชาการ 9 สถาบัน ชี้ ความจริง 9 ข้อ ยืนยันใยหินไครโซไทล์อันตราย จี้รัฐยกเลิกทันที
วันที่ 14 ต.ค. ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นักวิชาการจาก 9 สถาบัน อาทิ ม.ธรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ม.มหิดล ม.จุฬาลงกรณ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.เชียงใหม่ ได้ร่วมกันชี้แจงความจริงประเด็นที่เข้าใจผิด และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ 9 ประเด็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องอันตรายของใยหินไครโซไทล์ และมาตรการที่รัฐต้องเร่งดำเนินการคือ การยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยให้เร็วที่สุด
ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า โดยขอชี้แจงดังนี้ 1.องค์การอนามัยโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฯลฯ ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า ใยหินทุกกลุ่ม เป็นสารก่อมะเร็งในคน 2.องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และองค์การการค้าโลก ก็เห็นพ้องกับข้อมูลจากสถาบันวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก ที่กำหนดให้แร่ใยหินเป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง 3.แร่ใยหินมีสารทดแทน ที่ช่วยลดความเสี่ยงเกิดมะเร็งในสารก่อมะเร็งให้กับคนงาน และผู้บริโภค 4.องค์การอนามัยโลกไม่เคยประกาศว่าควรจะควบคุมการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัย แต่ประกาศให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกประเภท 5.อุตสาหกรรมแร่ใยหิน อ้างว่า แร่ใย่หินมีค่าครึ่งชีวิต (ระยะเวลาที่ธาตุสลายตัว) 15 วัน จึงไม่สะสมในร่างกายเป็นข้อมูลทางวิชาการที่ไม่ถูกต้อง เพราะมีการตรวจพบแร่ใยหินในศพของคนงาน ดังนั้นการรับสัมผัสแร่ใยหินจึงไม่ได้ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และขั้นตอนก่อนการนำไปผสมซีเมนต์
ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า 6.ประเทศไทยมีรายงานการพบผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอดโดยมีประวัติการทำงานสัมผัสใยหิน 7.มีการศึกษาที่ยืนยันว่าคุณสมบัติบางชนิดของสารทดแทนดีกว่า หรือ ไม่ด้อยกว่า และมีอันตรายน้อยกว่าด้วย 8.กรณีกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจหากเลิกใช้ 6 เดือน และกังวลว่า อาจเกิดปัญหาขาดแคลน ทั้งๆ ที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กำหนดนโยบายในการยกเลิกการใช้แร่ใยหินภายใน 5 ปีตั้งแต่ปี 2550 และกลุ่มอุตสาหกรรมกระเบื้องมุงหลังคาของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2550 9.การออกมาคัดค้านการใช้แร่ใยหินของนักวิชาการทั่วโลกในการรณรงค์ยกเลิกการใช้ใยหินทุกประเภทรวมถึงไครโซไทล์นั้น ไม่มีการได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจากบริษัทใดๆ
ทั้งนี้ เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินประเทศไทย ประกอบด้วย นักวิชาการ เครือข่ายแรงงาน ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้เตรียมยื่นหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ประเด็นแร่ใยหินในวันที่ 15 ตุลาคม 2555 เวลา 08.30 น.เพื่อขอให้รัฐบาลยกเลิก การนำเข้า การผลิต และการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 มติ 1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินในหลักการที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ภายในปี 2555
วันที่ 14 ต.ค. ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นักวิชาการจาก 9 สถาบัน อาทิ ม.ธรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ม.มหิดล ม.จุฬาลงกรณ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.เชียงใหม่ ได้ร่วมกันชี้แจงความจริงประเด็นที่เข้าใจผิด และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ 9 ประเด็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องอันตรายของใยหินไครโซไทล์ และมาตรการที่รัฐต้องเร่งดำเนินการคือ การยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยให้เร็วที่สุด
ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า โดยขอชี้แจงดังนี้ 1.องค์การอนามัยโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฯลฯ ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า ใยหินทุกกลุ่ม เป็นสารก่อมะเร็งในคน 2.องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และองค์การการค้าโลก ก็เห็นพ้องกับข้อมูลจากสถาบันวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก ที่กำหนดให้แร่ใยหินเป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง 3.แร่ใยหินมีสารทดแทน ที่ช่วยลดความเสี่ยงเกิดมะเร็งในสารก่อมะเร็งให้กับคนงาน และผู้บริโภค 4.องค์การอนามัยโลกไม่เคยประกาศว่าควรจะควบคุมการใช้แร่ใยหินอย่างปลอดภัย แต่ประกาศให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกประเภท 5.อุตสาหกรรมแร่ใยหิน อ้างว่า แร่ใย่หินมีค่าครึ่งชีวิต (ระยะเวลาที่ธาตุสลายตัว) 15 วัน จึงไม่สะสมในร่างกายเป็นข้อมูลทางวิชาการที่ไม่ถูกต้อง เพราะมีการตรวจพบแร่ใยหินในศพของคนงาน ดังนั้นการรับสัมผัสแร่ใยหินจึงไม่ได้ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และขั้นตอนก่อนการนำไปผสมซีเมนต์
ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า 6.ประเทศไทยมีรายงานการพบผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอดโดยมีประวัติการทำงานสัมผัสใยหิน 7.มีการศึกษาที่ยืนยันว่าคุณสมบัติบางชนิดของสารทดแทนดีกว่า หรือ ไม่ด้อยกว่า และมีอันตรายน้อยกว่าด้วย 8.กรณีกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจหากเลิกใช้ 6 เดือน และกังวลว่า อาจเกิดปัญหาขาดแคลน ทั้งๆ ที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กำหนดนโยบายในการยกเลิกการใช้แร่ใยหินภายใน 5 ปีตั้งแต่ปี 2550 และกลุ่มอุตสาหกรรมกระเบื้องมุงหลังคาของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2550 9.การออกมาคัดค้านการใช้แร่ใยหินของนักวิชาการทั่วโลกในการรณรงค์ยกเลิกการใช้ใยหินทุกประเภทรวมถึงไครโซไทล์นั้น ไม่มีการได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจากบริษัทใดๆ
ทั้งนี้ เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินประเทศไทย ประกอบด้วย นักวิชาการ เครือข่ายแรงงาน ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้เตรียมยื่นหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ประเด็นแร่ใยหินในวันที่ 15 ตุลาคม 2555 เวลา 08.30 น.เพื่อขอให้รัฐบาลยกเลิก การนำเข้า การผลิต และการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 มติ 1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินในหลักการที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ภายในปี 2555