“หมอสุรวิทย์” ชี้ ขณะนี้ผู้สูงอายุไทยเกือบ 4 ล้านคน ป่วยโรคข้อเสื่อม เตือนนั่งไขว่ห้างพับเพียบนาน กระเตงของที่เอว เสี่ยงขาโก่ง ระบุ กินแคลเซียมเสริมป้องกันไม่ได้
วันนี้ (14 ต.ค.) ที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า กทม.นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมวันโรคข้อสากลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชินี และนิทรรศการให้ความรู้ด้านโรคข้อ จัดโดยมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้หัวข้อ “เข้าใจ เข้าถึง พร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งในวันนี้ได้จัดบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โรงพยาบาลพระมงกฏเกล้า ศูนย์สิรินธร และโรงพยาบาลราชวิถี โดยมีสมาชิกชมรมโรคข้อและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้โรคข้อเสื่อมกำลังคุกคามสุขภาพของประชากรทั่วโลก องค์การอนามัยโลก หรือ ฮู (WHO) ระบุว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกป่วยเป็นโรคข้อ โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกสันหลัง และโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อกว่า 40 ล้านคน คาดในอีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 570 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 14 เท่าตัว โดยราวครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ และได้กำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมทุกปี เป็นวันโรคข้อสากล และประกาศให้ พ.ศ.2553-2563 เป็นทศวรรษแห่งการรณรงค์โรคกระดูกและข้อ เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกเร่งป้องกันแก้ไข เนื่องจากโรคนี้หากป่วยแล้ว จะเป็นโรคเรื้อรัง เดินอย่างทุกข์ทรมาน รักษาไม่หายขาด
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า โรคข้อมีมากกว่า 100 ชนิด แต่ที่พบได้บ่อย คือ โรคข้อเสื่อม เข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกระดูกพรุน โรคปวดหลังปวดคอ โรคลูปัส โรคนิ้วล็อก โรคไหล่ติด และโรคกระดูกสันหลังติดแข็ง มักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จากการประเมินสถานการณ์ในประเทศไทย พบว่า โรคนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคข้อปีละกว่า 6 ล้านคน และในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ ประมาณว่า ขณะนี้ผู้สูงอายุไทยที่มีเกือบ 8 ล้านคน ร้อยละ 50 หรือประมาณเกือบ 4 ล้านคน ป่วยเป็นโรคข้อ กล่าวได้ว่า ในผู้สูงอายุทุกๆ 2 คน จะมีผู้เป็นโรคข้อ 1 คน อาการที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดจากข้อเสื่อม เข่าเสื่อม เข่าโก่ง เข่าเก หากไม่ได้รับการรักษากระดูกจะถูกทำลายจนถึงขั้นพิการได้
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อ มีทั้งเกิดมาจากกรรมพันธุ์ การเสื่อมตามวัย ความอ้วน หรือน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้กระดูกบิดผิดรูปจนกล้ามเนื้อเกิดการดึงรั้ง และเกิดจากอิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกวิธี ได้แก่ การนั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบ และนั่งไขว่ห้างนานๆ ทำให้ผิวกระดูกอ่อนภายในข้อกระดูกเสื่อมเร็ว นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่นิยมใช้เอวกระเตงของ เช่น กระบุง ตะกร้า ถาดใหญ่ๆ หรือกระเดียดเด็กที่เอวเป็นเวลานาน จะทำให้น้ำหนักทิ้งลงที่ขาข้างเดียว ทำให้ข้อกระดูกขาข้างนั้นเสื่อมเร็ว และทำให้ขาโก่งผิดรูป คือ เข่าชิด ขาแบะออก และโก่งเข้าเป็นรูปไข่ ยิ่งอายุมากยิ่งเดินลำบาก และจะเกิดอาการปวดข้อจากการที่กระดูกข้อเสียดสีกัน ในการป้องกัน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคข้อขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้ประชาชนใช้ส้วมห้อยขาแทนส้วมซึม และรณรงค์ให้ออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงกระดูกและกล้ามเนื้อ นายแพทย์ สุรวิทย์กล่าว
ทางด้านเภสัชกรหญิง กุสุมาลย์ ไตรวิทยานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า ในคนปกติที่ไม่เป็นโรคข้อ กระดูกจะมีผิวกระดูกอ่อน ซึ่งมีลักษณะใสเป็นมันเรียบคลุมอยู่ มีหน้าที่คือรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในข้อต่อ และทำให้ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวได้อย่างสมดุลสม่ำเสมอ ไม่เจ็บปวด แต่หากเป็นโรคข้อจะมีอาการที่สังเกตได้ง่าย คือ ปวดเจ็บบวมแดงที่บริเวณข้อโดยเฉพาะที่ข้อเข่า ผู้ป่วยจะเดินกะเผลก ข้อเข่าฝืดงอได้ไม่เต็มที่นั่งยองๆ ลำบาก หากเป็นมากจะนั่งยองๆ ไม่ได้เลย บางคนจะปวดมากขึ้นเวลาขึ้นบันได หรือบางคนจะรู้สึกปวดมากในเวลากลางคืน การรับประทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียม มีส่วนเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคข้อได้
“คนทั่วไปเมื่อป่วยเป็นโรคข้อและกระดูกมักไม่ค่อยใส่ใจที่จะรักษา เมื่อมีอาการเริ่มแรกมักเข้าใจว่าเป็นโรคธรรมดาทั่วไป ทนไปก่อนไม่นานคงหายเอง และคิดว่า เป็นโรคของผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดจนทำให้กระดูกเสื่อมลงเรื่อยๆและรุนแรงขึ้นอาจพิการถาวรได้” เภสัชกรหญิง กุสุมาลย์ กล่าว
เภสัชกรหญิง กุสุมาลย์ กล่าวต่อว่า วิธีการป้องกันโรคข้อที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ข้อต่อต่างๆ ของร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว ทำให้การยืดหยุ่นของข้อและกล้ามเนื้อแข็งแรงดีขึ้นช่วยคงสภาพการเคลื่อนไหวของข้อ ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะสม ได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้นแอโรบิก อย่างไรก็ดี ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายตัวเอง การไม่ออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อที่หุ้มอยู่บริเวณรอบๆข้ออ่อนแรง ข้อจะฝืด กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะยึดติด เมื่อขยับจะรู้สึกปวด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าข้อติด
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อแล้ว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ลด หรืองดอาหารที่ทำให้น้ำหนักขึ้นได้ง่าย เช่น อาหารที่มีรสหวานรสมัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ข้อได้รับความกระทบกระเทือน หรือเกิดการกระแทก เช่น ยกหรือแบกของหนักมากๆ หรือเล่นกีฬาที่มีการวิ่งกระโดด หมั่นบริหารข้อ รับประทานยาตามกำหนด และหากเกิดอาการผิดปกติจากการรับประทานยาต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที
วันนี้ (14 ต.ค.) ที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า กทม.นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมวันโรคข้อสากลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชินี และนิทรรศการให้ความรู้ด้านโรคข้อ จัดโดยมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้หัวข้อ “เข้าใจ เข้าถึง พร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งในวันนี้ได้จัดบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โรงพยาบาลพระมงกฏเกล้า ศูนย์สิรินธร และโรงพยาบาลราชวิถี โดยมีสมาชิกชมรมโรคข้อและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้โรคข้อเสื่อมกำลังคุกคามสุขภาพของประชากรทั่วโลก องค์การอนามัยโลก หรือ ฮู (WHO) ระบุว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกป่วยเป็นโรคข้อ โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกสันหลัง และโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อกว่า 40 ล้านคน คาดในอีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 570 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 14 เท่าตัว โดยราวครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ และได้กำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมทุกปี เป็นวันโรคข้อสากล และประกาศให้ พ.ศ.2553-2563 เป็นทศวรรษแห่งการรณรงค์โรคกระดูกและข้อ เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกเร่งป้องกันแก้ไข เนื่องจากโรคนี้หากป่วยแล้ว จะเป็นโรคเรื้อรัง เดินอย่างทุกข์ทรมาน รักษาไม่หายขาด
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า โรคข้อมีมากกว่า 100 ชนิด แต่ที่พบได้บ่อย คือ โรคข้อเสื่อม เข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกระดูกพรุน โรคปวดหลังปวดคอ โรคลูปัส โรคนิ้วล็อก โรคไหล่ติด และโรคกระดูกสันหลังติดแข็ง มักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จากการประเมินสถานการณ์ในประเทศไทย พบว่า โรคนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคข้อปีละกว่า 6 ล้านคน และในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ ประมาณว่า ขณะนี้ผู้สูงอายุไทยที่มีเกือบ 8 ล้านคน ร้อยละ 50 หรือประมาณเกือบ 4 ล้านคน ป่วยเป็นโรคข้อ กล่าวได้ว่า ในผู้สูงอายุทุกๆ 2 คน จะมีผู้เป็นโรคข้อ 1 คน อาการที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดจากข้อเสื่อม เข่าเสื่อม เข่าโก่ง เข่าเก หากไม่ได้รับการรักษากระดูกจะถูกทำลายจนถึงขั้นพิการได้
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อ มีทั้งเกิดมาจากกรรมพันธุ์ การเสื่อมตามวัย ความอ้วน หรือน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้กระดูกบิดผิดรูปจนกล้ามเนื้อเกิดการดึงรั้ง และเกิดจากอิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกวิธี ได้แก่ การนั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบ และนั่งไขว่ห้างนานๆ ทำให้ผิวกระดูกอ่อนภายในข้อกระดูกเสื่อมเร็ว นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่นิยมใช้เอวกระเตงของ เช่น กระบุง ตะกร้า ถาดใหญ่ๆ หรือกระเดียดเด็กที่เอวเป็นเวลานาน จะทำให้น้ำหนักทิ้งลงที่ขาข้างเดียว ทำให้ข้อกระดูกขาข้างนั้นเสื่อมเร็ว และทำให้ขาโก่งผิดรูป คือ เข่าชิด ขาแบะออก และโก่งเข้าเป็นรูปไข่ ยิ่งอายุมากยิ่งเดินลำบาก และจะเกิดอาการปวดข้อจากการที่กระดูกข้อเสียดสีกัน ในการป้องกัน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคข้อขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้ประชาชนใช้ส้วมห้อยขาแทนส้วมซึม และรณรงค์ให้ออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงกระดูกและกล้ามเนื้อ นายแพทย์ สุรวิทย์กล่าว
ทางด้านเภสัชกรหญิง กุสุมาลย์ ไตรวิทยานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า ในคนปกติที่ไม่เป็นโรคข้อ กระดูกจะมีผิวกระดูกอ่อน ซึ่งมีลักษณะใสเป็นมันเรียบคลุมอยู่ มีหน้าที่คือรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในข้อต่อ และทำให้ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวได้อย่างสมดุลสม่ำเสมอ ไม่เจ็บปวด แต่หากเป็นโรคข้อจะมีอาการที่สังเกตได้ง่าย คือ ปวดเจ็บบวมแดงที่บริเวณข้อโดยเฉพาะที่ข้อเข่า ผู้ป่วยจะเดินกะเผลก ข้อเข่าฝืดงอได้ไม่เต็มที่นั่งยองๆ ลำบาก หากเป็นมากจะนั่งยองๆ ไม่ได้เลย บางคนจะปวดมากขึ้นเวลาขึ้นบันได หรือบางคนจะรู้สึกปวดมากในเวลากลางคืน การรับประทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียม มีส่วนเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคข้อได้
“คนทั่วไปเมื่อป่วยเป็นโรคข้อและกระดูกมักไม่ค่อยใส่ใจที่จะรักษา เมื่อมีอาการเริ่มแรกมักเข้าใจว่าเป็นโรคธรรมดาทั่วไป ทนไปก่อนไม่นานคงหายเอง และคิดว่า เป็นโรคของผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดจนทำให้กระดูกเสื่อมลงเรื่อยๆและรุนแรงขึ้นอาจพิการถาวรได้” เภสัชกรหญิง กุสุมาลย์ กล่าว
เภสัชกรหญิง กุสุมาลย์ กล่าวต่อว่า วิธีการป้องกันโรคข้อที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ข้อต่อต่างๆ ของร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว ทำให้การยืดหยุ่นของข้อและกล้ามเนื้อแข็งแรงดีขึ้นช่วยคงสภาพการเคลื่อนไหวของข้อ ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะสม ได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้นแอโรบิก อย่างไรก็ดี ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายตัวเอง การไม่ออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อที่หุ้มอยู่บริเวณรอบๆข้ออ่อนแรง ข้อจะฝืด กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะยึดติด เมื่อขยับจะรู้สึกปวด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าข้อติด
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อแล้ว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ลด หรืองดอาหารที่ทำให้น้ำหนักขึ้นได้ง่าย เช่น อาหารที่มีรสหวานรสมัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ข้อได้รับความกระทบกระเทือน หรือเกิดการกระแทก เช่น ยกหรือแบกของหนักมากๆ หรือเล่นกีฬาที่มีการวิ่งกระโดด หมั่นบริหารข้อ รับประทานยาตามกำหนด และหากเกิดอาการผิดปกติจากการรับประทานยาต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที