รมช.สาธารณสุข ตรวจเยี่ยม รพ.บ้านแพ้ว ชมศูนย์จักษุและต้อกระจก และรถผ่าตัดต้อกระจกเคลื่อนที่ พร้อมเผยการผ่าตัดเคลื่อนที่ได้มาตรฐานระดับโลก จากผลการศึกษาของทีมแพทย์เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ ทั้งยังได้รับการยอมรับ และขอความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย
นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) โดยได้เยี่ยมชมศูนย์จักษุและต้อกระจก รถผ่าตัดตาต้อกระจกเคลื่อนที่ ของโรงพยาบาล โดย นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวว่า โรงพยาบาลบ้านแพ้ว เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข บริหารรูปแบบขององค์การมหาชน ปัจจุบันมีขนาด 300 เตียง ซึ่งการทำงานของโรงพยาบาลที่โดดเด่นมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ คือการผ่าตัดตาต้อกระจกเคลื่อนที่ โดยมีจักษุแพทย์เชี่ยวชาญ 7 คน ทั้งด้านจอประสาทตา ต้อหิน กระจกตา พร้อมเครื่องมือทันสมัย โดยปัจจุบันได้จัดบริการเชิงรุก พัฒนารถผ่าตัดตาต้อกระจกเคลื่อนที่ 1 คัน มูลค่า 10 ล้านบาท ให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า สามารถผ่าตัดได้ครั้งละ 4 เตียง ใช้เวลาผ่าตัดเร็วมาก คนละ 12 นาที แพทย์ 1 คน ทำผ่าตัดได้วันละ 50-70 ตา ผลการดำเนินงาน 5 ปี จนถึงขณะนี้ได้ผ่าตัดทั้งในและนอกสถานที่ประมาณ 50 จังหวัด รวม 50,000 ตา
รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาของทีมแพทย์เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การผ่าตัดเคลื่อนที่ มีมาตรฐานระดับโลก สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานโลก โดยผู้ป่วยหลังผ่าตัดร้อยละ 85.5 สามารถมองเห็นได้ใกล้เคียงปกติ ขณะที่มาตรฐานองค์การอนามัยกำหนดให้อยู่ที่ร้อยละ 80 ส่วนผลแทรกซ้อนโดยเฉพาะเรื่องการติดเชื้อ มีน้อยมาก 5 ปี พบเพียง 1 ราย ขณะที่โดยทั่วไปจะพบอัตราการติดเชื้อได้ 1 ต่อ 1,000 คน จึงนับว่าเป็นผลงานที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมและเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากปัจจุบันการรักษาโรคตาต้อกระจก มีข้อจำกัด ทำได้ในเฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ที่มีจักษุแพทย์ ใช้เครื่องมือเฉพาะ และจักษุแพทย์มักกระจุกตัวในเมือง ทำให้ผู้ป่วยโรคตาต้อกระจก ต้องรอคิวรักษา โดยไทยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 60,000 คน ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เกิดมาจากการเสื่อมตามวัย และโรคนี้เป็นสาเหตุหลักทำให้ตาบอด จึงมีแนวคิดจะให้ อสม.ช่วยค้นหาผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับการรักษาโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม จากผลงานการบริการผ่าตัดโรคตาต้อกระจกเคลื่อนที่ของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านสนใจ และติดต่อผ่านสถานทูตไทยในต่างประเทศ โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา ได้ให้ความร่วมมือกับประเทศกัมพูชา ส่งรถผ่าตัดเคลื่อนที่ไปที่กรุงพนมเปญ ผ่าตัดจำนวน 108 ตา และอยู่ระหว่างการประสานกับกระทรวงสาธารณสุขของกัมพูชา เพื่อทำผ่าตัดต่อ ล่าสุด ได้รับการติดต่อจากทางประเทศลาวให้ส่งทีมเข้าไปผ่าตัด และมีแผนที่จะเดินทางไปผ่าตัดในเร็วๆ นี้
ด้านนายแพทย์ สุรพงษ์ บุญประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2557 วางแผนจะขยายบริการ โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลก่อสร้างอาคารผ่าตัด อุบัติเหตุ ห้องพิเศษวงเงิน 170 ล้านบาท หลังจากไม่ได้รับการสนับสนุนมาเป็นเวลานาน 10 ปี และวางแผนจะจัดทำรถยิงจอประสาทตาด้วยเลเซอร์เคลื่อนที่ เพื่อให้บริการผู้ป่วยในพื้นที่ชนบท รวมทั้ง 5 จังหวัดภาคใต้ เพื่อป้องกันตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา
นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) โดยได้เยี่ยมชมศูนย์จักษุและต้อกระจก รถผ่าตัดตาต้อกระจกเคลื่อนที่ ของโรงพยาบาล โดย นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวว่า โรงพยาบาลบ้านแพ้ว เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข บริหารรูปแบบขององค์การมหาชน ปัจจุบันมีขนาด 300 เตียง ซึ่งการทำงานของโรงพยาบาลที่โดดเด่นมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ คือการผ่าตัดตาต้อกระจกเคลื่อนที่ โดยมีจักษุแพทย์เชี่ยวชาญ 7 คน ทั้งด้านจอประสาทตา ต้อหิน กระจกตา พร้อมเครื่องมือทันสมัย โดยปัจจุบันได้จัดบริการเชิงรุก พัฒนารถผ่าตัดตาต้อกระจกเคลื่อนที่ 1 คัน มูลค่า 10 ล้านบาท ให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า สามารถผ่าตัดได้ครั้งละ 4 เตียง ใช้เวลาผ่าตัดเร็วมาก คนละ 12 นาที แพทย์ 1 คน ทำผ่าตัดได้วันละ 50-70 ตา ผลการดำเนินงาน 5 ปี จนถึงขณะนี้ได้ผ่าตัดทั้งในและนอกสถานที่ประมาณ 50 จังหวัด รวม 50,000 ตา
รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาของทีมแพทย์เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การผ่าตัดเคลื่อนที่ มีมาตรฐานระดับโลก สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานโลก โดยผู้ป่วยหลังผ่าตัดร้อยละ 85.5 สามารถมองเห็นได้ใกล้เคียงปกติ ขณะที่มาตรฐานองค์การอนามัยกำหนดให้อยู่ที่ร้อยละ 80 ส่วนผลแทรกซ้อนโดยเฉพาะเรื่องการติดเชื้อ มีน้อยมาก 5 ปี พบเพียง 1 ราย ขณะที่โดยทั่วไปจะพบอัตราการติดเชื้อได้ 1 ต่อ 1,000 คน จึงนับว่าเป็นผลงานที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมและเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากปัจจุบันการรักษาโรคตาต้อกระจก มีข้อจำกัด ทำได้ในเฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ที่มีจักษุแพทย์ ใช้เครื่องมือเฉพาะ และจักษุแพทย์มักกระจุกตัวในเมือง ทำให้ผู้ป่วยโรคตาต้อกระจก ต้องรอคิวรักษา โดยไทยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 60,000 คน ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เกิดมาจากการเสื่อมตามวัย และโรคนี้เป็นสาเหตุหลักทำให้ตาบอด จึงมีแนวคิดจะให้ อสม.ช่วยค้นหาผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับการรักษาโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม จากผลงานการบริการผ่าตัดโรคตาต้อกระจกเคลื่อนที่ของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านสนใจ และติดต่อผ่านสถานทูตไทยในต่างประเทศ โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา ได้ให้ความร่วมมือกับประเทศกัมพูชา ส่งรถผ่าตัดเคลื่อนที่ไปที่กรุงพนมเปญ ผ่าตัดจำนวน 108 ตา และอยู่ระหว่างการประสานกับกระทรวงสาธารณสุขของกัมพูชา เพื่อทำผ่าตัดต่อ ล่าสุด ได้รับการติดต่อจากทางประเทศลาวให้ส่งทีมเข้าไปผ่าตัด และมีแผนที่จะเดินทางไปผ่าตัดในเร็วๆ นี้
ด้านนายแพทย์ สุรพงษ์ บุญประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2557 วางแผนจะขยายบริการ โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลก่อสร้างอาคารผ่าตัด อุบัติเหตุ ห้องพิเศษวงเงิน 170 ล้านบาท หลังจากไม่ได้รับการสนับสนุนมาเป็นเวลานาน 10 ปี และวางแผนจะจัดทำรถยิงจอประสาทตาด้วยเลเซอร์เคลื่อนที่ เพื่อให้บริการผู้ป่วยในพื้นที่ชนบท รวมทั้ง 5 จังหวัดภาคใต้ เพื่อป้องกันตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา