ศาลปกครอง ยกฟ้อง รมว.อุตฯ-หน่วยราชการรัฐ ไม่ผิดออกประกาศยกเลิกซัลเฟอร์ภาคอุตสาหกรรมจากบัญชีวัตถุอันตราย ชี้ ไม่พบเป็นอันตรายกับประชาชน และไม่พบ รมว.อุตฯ เจตนาทุจริต ช่วยเอกชนเลี่ยงภาษี
วันนี้ (27 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่ นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ กับพวกรวม 6 คน ยื่นฟ้อง รมว.อุตสาหกรรม, อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม, รมว.เกษตรและสหกรณ์, อธิบดีกรมวิชาการเกษตร, อธิบดีกรมปศุสัตว์, คณะกรรมการวัตถุอันตราย และบริษัทเอกชน ซึ่งประกอบกิจการผู้ผลิตนำเข้าและส่งออกสารเคมีอีก 9 ราย เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-15 กรณีออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ที่ออกเมื่อวันที่ 29 ม.ค.52 ให้ยกเลิกรายชื่อสารเคมีที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร 9 รายการ, วัตถุอันตรายในความผิดชอบของกรมธุรกิจพลังงาน 1 รายการ, วัตถุอันตรายในในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม 5 รายการ และวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 8 รายการ
ส่วนเหตุที่ศาลฯยกฟ้อง ระบุว่า คดีนี้ นายสมคิด และพวกอ้างว่า วัตถุอันตรายที่ รมว.อุตสาหกรรม ออกประกาศยกเลิกนั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทข้ามชาติในการผลิต ส่งออก หรือนำเข้าวัตถุอันตรายเข้ามาใช้ในการเกษตรและทำให้เกษตรกรเสียหาย อีกทั้งยังช่วยเหลือให้ผู้นำเข้าวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรมพ้นผิดการหลบเลี่ยงภาษี ศาลฯเห็นว่า การออกประกาศ เนื่องจากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหน่วยงานที่รับผิดชอบเพิ่มเติม และมีการเรียกชื่อวัตถุอันตรายใหม่ให้ถูกต้องตามชุดตัวเลขที่กำหนดเท่านั้น จึงเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่า วัตถุอันตรายที่อยู่ในความควบคุมของกรมวิชาการเกษตรเดิม ยังถูกควบคุมตามประกาศที่ออกมาดังกล่าว ดังนั้นจึงเห็นว่าประกาศตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนวัตถุอันตรายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมอีก 1 รายการ คือ ซัลเฟอร์ (SULFUR) นั้น ที่ผู้ฟ้องอ้างว่า การยกเลิกวัตถุอันตรายเป็นการช่วยเหลือผู้นำเข้าวัตถุอันตรายในภาคอุตสาหกรรมเพื่อพ้นผิดเลี่ยงภาษี ศาลฯเห็นว่า ทั้งก่อนและหลังควบคุมซัลเฟอร์ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 มีสถิติไม่แตกต่าง คือ ไม่พบการเกิดโรคจากการทำงาน เนื่องจากซัลเฟอร์แต่อย่างใด ซึ่งการประชุมคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อพิจารณาข้อมูลและกลั่นกรองความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ มีการนำเสนอข้อมูลหลักเกณฑ์ความเป็นพิษ ความเป็นอันตรายและการควบคุมของต่างประเทศเกี่ยวกับซัลเฟอร์แล้ว ดังนั้น การพิจารณายกเลิกซัลเฟอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมออกจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายมีการพิจารณาภายใต้ข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม และถือได้ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การป้องกันและระงับอันตรายที่อาจมีกับคน สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 18 อีกทั้งยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการพิจารณาของ รมว.อุตสาหกรรม, อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 และ คณะกรรมการวัตถุอันตราย ผู้ถูกฟ้องที่ 6 มีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง หรือมีเจตนาไม่สุจริต หรือจะช่วยเหลือผู้ประกอบการทางอุตสาหกรรมถูกดำเนินคดีอาญา ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หากคู่ความไม่พอใจคำพิพากษา ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษา
วันนี้ (27 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่ นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ กับพวกรวม 6 คน ยื่นฟ้อง รมว.อุตสาหกรรม, อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม, รมว.เกษตรและสหกรณ์, อธิบดีกรมวิชาการเกษตร, อธิบดีกรมปศุสัตว์, คณะกรรมการวัตถุอันตราย และบริษัทเอกชน ซึ่งประกอบกิจการผู้ผลิตนำเข้าและส่งออกสารเคมีอีก 9 ราย เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-15 กรณีออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ที่ออกเมื่อวันที่ 29 ม.ค.52 ให้ยกเลิกรายชื่อสารเคมีที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร 9 รายการ, วัตถุอันตรายในความผิดชอบของกรมธุรกิจพลังงาน 1 รายการ, วัตถุอันตรายในในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม 5 รายการ และวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 8 รายการ
ส่วนเหตุที่ศาลฯยกฟ้อง ระบุว่า คดีนี้ นายสมคิด และพวกอ้างว่า วัตถุอันตรายที่ รมว.อุตสาหกรรม ออกประกาศยกเลิกนั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทข้ามชาติในการผลิต ส่งออก หรือนำเข้าวัตถุอันตรายเข้ามาใช้ในการเกษตรและทำให้เกษตรกรเสียหาย อีกทั้งยังช่วยเหลือให้ผู้นำเข้าวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรมพ้นผิดการหลบเลี่ยงภาษี ศาลฯเห็นว่า การออกประกาศ เนื่องจากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหน่วยงานที่รับผิดชอบเพิ่มเติม และมีการเรียกชื่อวัตถุอันตรายใหม่ให้ถูกต้องตามชุดตัวเลขที่กำหนดเท่านั้น จึงเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่า วัตถุอันตรายที่อยู่ในความควบคุมของกรมวิชาการเกษตรเดิม ยังถูกควบคุมตามประกาศที่ออกมาดังกล่าว ดังนั้นจึงเห็นว่าประกาศตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนวัตถุอันตรายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมอีก 1 รายการ คือ ซัลเฟอร์ (SULFUR) นั้น ที่ผู้ฟ้องอ้างว่า การยกเลิกวัตถุอันตรายเป็นการช่วยเหลือผู้นำเข้าวัตถุอันตรายในภาคอุตสาหกรรมเพื่อพ้นผิดเลี่ยงภาษี ศาลฯเห็นว่า ทั้งก่อนและหลังควบคุมซัลเฟอร์ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 มีสถิติไม่แตกต่าง คือ ไม่พบการเกิดโรคจากการทำงาน เนื่องจากซัลเฟอร์แต่อย่างใด ซึ่งการประชุมคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อพิจารณาข้อมูลและกลั่นกรองความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ มีการนำเสนอข้อมูลหลักเกณฑ์ความเป็นพิษ ความเป็นอันตรายและการควบคุมของต่างประเทศเกี่ยวกับซัลเฟอร์แล้ว ดังนั้น การพิจารณายกเลิกซัลเฟอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมออกจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายมีการพิจารณาภายใต้ข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม และถือได้ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การป้องกันและระงับอันตรายที่อาจมีกับคน สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 18 อีกทั้งยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการพิจารณาของ รมว.อุตสาหกรรม, อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 และ คณะกรรมการวัตถุอันตราย ผู้ถูกฟ้องที่ 6 มีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง หรือมีเจตนาไม่สุจริต หรือจะช่วยเหลือผู้ประกอบการทางอุตสาหกรรมถูกดำเนินคดีอาญา ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หากคู่ความไม่พอใจคำพิพากษา ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษา