หวั่นน้ำท่วมซ้ำ! สธ.เร่งสำรองยา 1.5 ล้านชุด ให้แก่ผู้ประสบภัย น้ำเกลืออีก 2 ล้านถุง สำหรับการฟอกเลือดและการล้างช่องท้อง ยันขณะนี้มีน้ำเกลือเพียงพอใช้ในประเทศ
วันนี้ (19 ก.ย.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยมองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อมอบนโยบายเตรียมพร้อมด้านยากรณีประสบภัยน้ำท่วม ว่า ได้สั่งการให้ อภ.ผลิตยาชุดน้ำท่วมเพิ่มอีก 1 ล้านชุด ซึ่งขณะนี้ อภ.มีสำรองอยู่แล้ว 5 แสนชุด พร้อมให้การสนับสนุนพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมได้ทันที นอกจากนี้ ได้กำชับให้สำรองน้ำเกลือให้มีเพียงพอใช้ โดยโรงงานขององค์การเภสัชกรรมจะเริ่มผลิตน้ำเกลือได้ในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมได้สำรองแผนนำเข้าน้ำเกลือจากต่างประเทศหากจำเป็น โดยยืนยันขณะนี้มีน้ำเกลือเพียงพอใช้ในประเทศ
นายวิทยา กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วม ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 13 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ ปราจีนบุรี นครปฐม พิจิตร ตาก และ สระแก้ว โดยในระหว่างวันที่ 18-20 กันยายนนี้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติได้แจ้งให้ประชาชนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข มีสถานบริการได้รับผลกระทบและปิดให้บริการ 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นาแส่ง จังหวัดลำปาง ได้กำชับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ออกให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 9-18 กันยายน 2555 พบผู้ป่วยสะสม 19,462 ราย โรคที่พบมากคือ ปวดศีรษะ 10,935 ราย น้ำกัดเท้า 4,521 ราย ไข้หวัด 1,237 ราย
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.กล่าวว่า สำหรับกรณีน้ำเกลือในการฟอกเลือดของผู้ป่วยไตวายนั้น ขณะนี้ได้เตรียมพร้อมแล้ว แม้ปัจจุบันบริษัท GHP ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นโรงงานรายใหญ่ในการผลิตน้ำเกลือจะยังไม่สามารถผลิตได้เต็มสมบูรณ์ เนื่องจากยังประสบปัญหาตั้งแต่ช่วงน้ำท่วม ปี 2554 ทำให้เครื่องจักรในการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 25-30 แต่เชื่อว่า จะสามารถผลิตได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ในกลางปี 2556
“ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกับ อภ.ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยได้ประสานกับโรงงานที่เหลืออีก 3 แห่ง คือ บริษัท A.N.B. Laboratories หรือบริษัท อำนวยเภสัชฯ บริษัท ไทย โอนิซูกะ (Thai Otsuka) และ บริษัท ไทยนครพัฒนา (Thai Nakorn Patana) ในการผลิตน้ำเกลือ และได้ประสานนำเข้าน้ำเกลือจากประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่ อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม รวมกว่า 2 ล้านถุงแล้ว และยังประสานในการจัดสำรองน้ำเกลือไว้อีกร้อยละ 20 กรณีฉุกเฉินด้วย ซึ่งการสำรองน้ำเกลือนั้นจะมีทั้งน้ำเกลือของการฟอกเลือด และการล้างช่องท้อง อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องกังวล ขณะนี้เตรียมพร้อมแล้ว” นพ.วิทิต กล่าว
วันนี้ (19 ก.ย.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยมองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อมอบนโยบายเตรียมพร้อมด้านยากรณีประสบภัยน้ำท่วม ว่า ได้สั่งการให้ อภ.ผลิตยาชุดน้ำท่วมเพิ่มอีก 1 ล้านชุด ซึ่งขณะนี้ อภ.มีสำรองอยู่แล้ว 5 แสนชุด พร้อมให้การสนับสนุนพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมได้ทันที นอกจากนี้ ได้กำชับให้สำรองน้ำเกลือให้มีเพียงพอใช้ โดยโรงงานขององค์การเภสัชกรรมจะเริ่มผลิตน้ำเกลือได้ในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมได้สำรองแผนนำเข้าน้ำเกลือจากต่างประเทศหากจำเป็น โดยยืนยันขณะนี้มีน้ำเกลือเพียงพอใช้ในประเทศ
นายวิทยา กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วม ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 13 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ ปราจีนบุรี นครปฐม พิจิตร ตาก และ สระแก้ว โดยในระหว่างวันที่ 18-20 กันยายนนี้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติได้แจ้งให้ประชาชนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข มีสถานบริการได้รับผลกระทบและปิดให้บริการ 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นาแส่ง จังหวัดลำปาง ได้กำชับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ออกให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 9-18 กันยายน 2555 พบผู้ป่วยสะสม 19,462 ราย โรคที่พบมากคือ ปวดศีรษะ 10,935 ราย น้ำกัดเท้า 4,521 ราย ไข้หวัด 1,237 ราย
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.กล่าวว่า สำหรับกรณีน้ำเกลือในการฟอกเลือดของผู้ป่วยไตวายนั้น ขณะนี้ได้เตรียมพร้อมแล้ว แม้ปัจจุบันบริษัท GHP ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นโรงงานรายใหญ่ในการผลิตน้ำเกลือจะยังไม่สามารถผลิตได้เต็มสมบูรณ์ เนื่องจากยังประสบปัญหาตั้งแต่ช่วงน้ำท่วม ปี 2554 ทำให้เครื่องจักรในการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 25-30 แต่เชื่อว่า จะสามารถผลิตได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ในกลางปี 2556
“ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกับ อภ.ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยได้ประสานกับโรงงานที่เหลืออีก 3 แห่ง คือ บริษัท A.N.B. Laboratories หรือบริษัท อำนวยเภสัชฯ บริษัท ไทย โอนิซูกะ (Thai Otsuka) และ บริษัท ไทยนครพัฒนา (Thai Nakorn Patana) ในการผลิตน้ำเกลือ และได้ประสานนำเข้าน้ำเกลือจากประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่ อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม รวมกว่า 2 ล้านถุงแล้ว และยังประสานในการจัดสำรองน้ำเกลือไว้อีกร้อยละ 20 กรณีฉุกเฉินด้วย ซึ่งการสำรองน้ำเกลือนั้นจะมีทั้งน้ำเกลือของการฟอกเลือด และการล้างช่องท้อง อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องกังวล ขณะนี้เตรียมพร้อมแล้ว” นพ.วิทิต กล่าว