กทม.จ้างที่ปรึกษาเก็บข้อมูล พร้อมจัดทำแผนป้องกันพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว และอาคารถล่มในกรุงเทพฯ
วันนี้ (19 ก.ย.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เวลา 09.30 น. : ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมหารือร่วมกับ รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ในฐานะเป็นหัวหน้าคณะดำเนินโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่ง กทม.โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) ได้ดำเนินการจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด ศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยและจัดทำแผนเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวสำหรับกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้แผนแม่บทป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่มแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับกฎหมาย มาตรฐาน ข้อกำหนด ระเบียบ และผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม อีกทั้งเป็นกรอบและแนวทางให้หน่วยงานและองค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนนำแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนให้สามารถฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า กทม.ได้จ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูล รวมถึงคาดการณ์เหตุแผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม แม้ว่ากรุงเทพฯ จะไม่ได้ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนเปลือกโลก แต่สภาพดินอ่อนในกรุงเทพฯ อาจทำให้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล และส่งผลกระทบต่ออาคารสูง ตัวอย่างกรณีการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่า ซึ่งไม่เพียงแต่เกิดการสั่นสะเทือนในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่อาคารสูงในกรุงเทพฯ เช่น ย่านสีลม สาทร อโศก ยังสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ โครงการศึกษาจะใช้ระยะเวลา 1 ปี คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2556
สำหรับผลที่จะได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ จะทำให้ กทม.ได้แบบจำลองแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว และสถานการณ์จำลองที่มีโอกาสเกิดได้จริงและส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ อีกทั้งผลการสำรวจดินและความเร็วคลื่นเฉลี่ยตามระดับความลึกของชั้นดิน รวมถึงแผนที่และพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว ความเสียหายอาคารทุกระดับในแต่ละสถานการณ์จำลองที่มีโอกาสเกิดได้จริง การประเมินผลกระทบและความเสียหายจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม แนวทางการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่มในอนาคต แนวทางการปรับปรุงและแก้ไขด้านกฎหมาย ระเบียบ มาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ตลอดจนการจัดทำแผนปฏิบัติการ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมพร้อมรับภัย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการจัดการหลังการเกิดภัย
วันนี้ (19 ก.ย.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เวลา 09.30 น. : ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมหารือร่วมกับ รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ในฐานะเป็นหัวหน้าคณะดำเนินโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่ง กทม.โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) ได้ดำเนินการจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด ศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยและจัดทำแผนเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวสำหรับกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้แผนแม่บทป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่มแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับกฎหมาย มาตรฐาน ข้อกำหนด ระเบียบ และผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม อีกทั้งเป็นกรอบและแนวทางให้หน่วยงานและองค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนนำแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนให้สามารถฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า กทม.ได้จ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูล รวมถึงคาดการณ์เหตุแผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม แม้ว่ากรุงเทพฯ จะไม่ได้ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนเปลือกโลก แต่สภาพดินอ่อนในกรุงเทพฯ อาจทำให้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล และส่งผลกระทบต่ออาคารสูง ตัวอย่างกรณีการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่า ซึ่งไม่เพียงแต่เกิดการสั่นสะเทือนในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่อาคารสูงในกรุงเทพฯ เช่น ย่านสีลม สาทร อโศก ยังสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ โครงการศึกษาจะใช้ระยะเวลา 1 ปี คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2556
สำหรับผลที่จะได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ จะทำให้ กทม.ได้แบบจำลองแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว และสถานการณ์จำลองที่มีโอกาสเกิดได้จริงและส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ อีกทั้งผลการสำรวจดินและความเร็วคลื่นเฉลี่ยตามระดับความลึกของชั้นดิน รวมถึงแผนที่และพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว ความเสียหายอาคารทุกระดับในแต่ละสถานการณ์จำลองที่มีโอกาสเกิดได้จริง การประเมินผลกระทบและความเสียหายจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม แนวทางการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่มในอนาคต แนวทางการปรับปรุงและแก้ไขด้านกฎหมาย ระเบียบ มาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ตลอดจนการจัดทำแผนปฏิบัติการ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมพร้อมรับภัย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการจัดการหลังการเกิดภัย