สถาบันวัคซีนฯ เล็งของบประเดิมจาก รบ. 190 ล้านบาท สร้างโรงงานกึ่งอุตสาหกรรม รับผลิตวัคซีนงานวิจัยทั่วประเทศ เพื่อทดสอบในมนุษย์ จ่อคุย มจธ.สร้างเพิ่มอีก 1 แห่ง
วันนี้ (17 ก.ย.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ(องค์การมหาชน) องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้เดินหน้าการพัฒนาวัคซีน เป็นวาระแห่งชาติ สิ่งสำคัญขณะนี้จะต้องแก้ไขเรื่องกฎหมายให้มีความเป็นเอกภาพ และทันสถานการณ์ โดยล่าสุด จะมีการยกร่างเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ.2510 โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งตนจะตามเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เดินหน้าตามขั้นตอนต่อไป
ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยา อย.กล่าวว่า วัคซีน จัดเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้ พ.ร.บ.ยาฯ ซึ่งต้องมีการควบคุมไม่แตกต่างจากยา ดังนั้น การแก้ไขครั้งนี้จะทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในแง่การควบคุมการวิจัย การทดสอบ และการใช้จริง ยกตัวอย่าง การกำกับดูแลการทำวิจัยในมนุษย์จะมีคณะทำงานติดตามการวิจัย รวมไปถึงภายหลังวิจัยเสร็จจะต้องเฝ้าติดตามกลุ่มทดลองถึงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ซึ่งที่ผ่านมาตัวกฎหมายไม่ได้ระบุชัดเจนเกี่ยวกับการวิจัยเรื่องนี้
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถาบันฯ มีศักยภาพเพียงพอในการวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีนในประเทศไทย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการขาดงบประมาณ เนื่องจากกระบวนการของบประมาณที่ผ่านมา สถาบันไม่สามารถของบประมาณแทนหน่วยงานอื่นได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อจัดตั้งเป็นการองค์การมหาชนแล้ว สามารถอาศัยตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชน ในการของบประมาณได้ ซึ่งขณะนี้ ประเด็นสำคัญที่สถาบันจะเร่งดำเนินการ คือ การผลักดันวาระแห่งชาติด้านวัคซีน โดยต้องอาศัยงบประมาณในการบริหารจัดการ แต่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้จัดตั้งเป็นองค์การมหาชน เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้ของบประมาณปี 2556 ไม่ทัน จึงเตรียมที่จะของบประเดิมจากรัฐบาลจำนวน 190 ล้านบาท ซึ่งต่อยอดมาจากการดำเนินงานภายใต้กรมควบคุมโรค
นพ.จรุง กล่าวอีกว่า ในส่วนการผลิตวัคซีนนั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติจะทำหน้าที่ประสานงานระหว่างองค์กรต่างๆ ในการผลิตวัคซีน ทั้งสถานเสาวภา องค์การเภสัชกรรม (อภ.) รวมไปถึงบริษัทเอกชน เพื่อไม่ให้ผลิตวัคซีนที่ซ้ำซ้อน และแย่งตลาดภายในประเทศไทย ส่วนการทดสอบวัคซีนในมนุษย์นั้น จะต้องสร้าง โรงงานกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot Plant) ขึ้น เพื่อเพื่อนำวัคซีนที่วิจัยจากทั่วประเทศมาผลิตและนำไปทดสอบในมนุษย์ เบื้องต้นจะมีการตั้งโรงงาน 2 แห่ง ซึ่งขณะนี้มี โรงงานแล้ว 1 แห่งที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เขตบางขุนเทียน ส่วนอีก 1 แห่ง ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างหารือร่วมกับ มจธ. เพื่อสร้างอีก 1 แห่งเพิ่มเติม
ผู้สื่อข่าวถามความคืบหน้าการเดินหน้าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือ วัคซีนเอชพีวี(HPV) นพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า เบื้องต้นจากการประชุมของคณะอนุกรรมการสร้าง เสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ผ่านมา ชัดเจนว่า ต้องเดินหน้าเรื่องดังกล่าว เพียงแต่ต้องมีการเตรียมแผนให้พร้อม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างว่าจัดหาคณะทำงานศึกษาถึงแนวทางปฏิบัติในการใช้วัคซีน ทั้งเรื่องการพิจารณากลุ่มอายุที่เริ่มรับบริการ ครอบคลุมจำนวนเท่าใด รวมทั้งเรื่องความเหมาะสมของราคา โดยในเรื่องราคาต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความคุ้มค่า คาดว่าคงต้องใช้เวลาในการจัดหาคณะทำงานเรื่องนี้สักระยะหนึ่ง
วันนี้ (17 ก.ย.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ(องค์การมหาชน) องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้เดินหน้าการพัฒนาวัคซีน เป็นวาระแห่งชาติ สิ่งสำคัญขณะนี้จะต้องแก้ไขเรื่องกฎหมายให้มีความเป็นเอกภาพ และทันสถานการณ์ โดยล่าสุด จะมีการยกร่างเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ.2510 โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งตนจะตามเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เดินหน้าตามขั้นตอนต่อไป
ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยา อย.กล่าวว่า วัคซีน จัดเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้ พ.ร.บ.ยาฯ ซึ่งต้องมีการควบคุมไม่แตกต่างจากยา ดังนั้น การแก้ไขครั้งนี้จะทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในแง่การควบคุมการวิจัย การทดสอบ และการใช้จริง ยกตัวอย่าง การกำกับดูแลการทำวิจัยในมนุษย์จะมีคณะทำงานติดตามการวิจัย รวมไปถึงภายหลังวิจัยเสร็จจะต้องเฝ้าติดตามกลุ่มทดลองถึงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ซึ่งที่ผ่านมาตัวกฎหมายไม่ได้ระบุชัดเจนเกี่ยวกับการวิจัยเรื่องนี้
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถาบันฯ มีศักยภาพเพียงพอในการวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีนในประเทศไทย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการขาดงบประมาณ เนื่องจากกระบวนการของบประมาณที่ผ่านมา สถาบันไม่สามารถของบประมาณแทนหน่วยงานอื่นได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อจัดตั้งเป็นการองค์การมหาชนแล้ว สามารถอาศัยตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชน ในการของบประมาณได้ ซึ่งขณะนี้ ประเด็นสำคัญที่สถาบันจะเร่งดำเนินการ คือ การผลักดันวาระแห่งชาติด้านวัคซีน โดยต้องอาศัยงบประมาณในการบริหารจัดการ แต่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้จัดตั้งเป็นองค์การมหาชน เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้ของบประมาณปี 2556 ไม่ทัน จึงเตรียมที่จะของบประเดิมจากรัฐบาลจำนวน 190 ล้านบาท ซึ่งต่อยอดมาจากการดำเนินงานภายใต้กรมควบคุมโรค
นพ.จรุง กล่าวอีกว่า ในส่วนการผลิตวัคซีนนั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติจะทำหน้าที่ประสานงานระหว่างองค์กรต่างๆ ในการผลิตวัคซีน ทั้งสถานเสาวภา องค์การเภสัชกรรม (อภ.) รวมไปถึงบริษัทเอกชน เพื่อไม่ให้ผลิตวัคซีนที่ซ้ำซ้อน และแย่งตลาดภายในประเทศไทย ส่วนการทดสอบวัคซีนในมนุษย์นั้น จะต้องสร้าง โรงงานกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot Plant) ขึ้น เพื่อเพื่อนำวัคซีนที่วิจัยจากทั่วประเทศมาผลิตและนำไปทดสอบในมนุษย์ เบื้องต้นจะมีการตั้งโรงงาน 2 แห่ง ซึ่งขณะนี้มี โรงงานแล้ว 1 แห่งที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เขตบางขุนเทียน ส่วนอีก 1 แห่ง ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างหารือร่วมกับ มจธ. เพื่อสร้างอีก 1 แห่งเพิ่มเติม
ผู้สื่อข่าวถามความคืบหน้าการเดินหน้าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือ วัคซีนเอชพีวี(HPV) นพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า เบื้องต้นจากการประชุมของคณะอนุกรรมการสร้าง เสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ผ่านมา ชัดเจนว่า ต้องเดินหน้าเรื่องดังกล่าว เพียงแต่ต้องมีการเตรียมแผนให้พร้อม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างว่าจัดหาคณะทำงานศึกษาถึงแนวทางปฏิบัติในการใช้วัคซีน ทั้งเรื่องการพิจารณากลุ่มอายุที่เริ่มรับบริการ ครอบคลุมจำนวนเท่าใด รวมทั้งเรื่องความเหมาะสมของราคา โดยในเรื่องราคาต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความคุ้มค่า คาดว่าคงต้องใช้เวลาในการจัดหาคณะทำงานเรื่องนี้สักระยะหนึ่ง