นักกฎหมาย ยัน กม.ยาสูบ ฉบับใหม่ไม่ได้ทำลายชาวไร่ยาสูบ ชี้ ปลูกขายได้น้อย เพราะโรงงานยาสูบถูกบุหรี่นอกแย่งตลาด ย้ำ เพื่อป้องกันเยาวชน คุ้มครองคนไม่สูบบุหรี่ เตรียมทำประชาพิจารณ์ครั้งสุดท้าย
จากกรณีสมาคมการค้ายาสูบไทย และสมาคมผู้บ่มยา ได้ร่วมคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ... ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ และ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เข้าด้วยกัน โดยอ้างว่า เป็นการทำให้ชาวไร่ยาสูบปลูกยาสูบได้น้อยลง และค้านกรณีการร่างกฎหมายเรื่องอายุของผู้ซื้อห้ามต่ำกว่า 20 ปีว่าเป็นทำให้ร้านค้าปลีกเสียรายได้นั้น
นายแสวง บุญเฉลิมวิภาส อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การคัดค้าน พ.ร.บ.เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะร่างกฎหมายดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันเยาวชนไม่ให้ตกเป็นนักสูบหน้าใหม่ และคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยไม่มีมาตราใดเลยที่เข้าไปควบคุมหรือเกี่ยวข้องกับชาวไร่ที่ปลูกใบยาสูบแต่อย่างใด ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้ชาวไร่ยาสูบ มีปริมาณการขายที่ลดลง เกิดจากโรงงานยาสูบของไทย ซึ่งเป็นผู้ซื้อใบยาหลักมีการจำหน่ายลดลง โดยเกิดจากบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาทำการตลาดในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งการ มี พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ จะคุมเรื่องการโฆษณา การตลาดต่างๆ จะทำให้บุหรี่ต่างประเทศเข้ามาโจมตีตลาดลดลง โดยหลักการของร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ ฉบับใหม่ยังเหมือนเดิม เพียงแต่จำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้ทันต่อเหตุการณ์
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ประเด็นที่สมาคมผู้ค้ายาสูบ ออกมาคัดค้าน โดยเฉพาะเรื่องอายุของผู้ซื้อบุหรี่นั้น ถือเป็นความตะกละของบริษัทบุหรี่ เพราะอัตราผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนมีเพียง ร้อยละ 10 ของตลาดทั้งหมดเท่านั้น แต่สาเหตุที่บริษัทบุหรี่ อยากทำการตลาดใน กลุ่มเยาวชน เพราะพบว่าเมื่อกลุ่มเยาวชนติดบุหรี่ ก็จะกลายเป็นลูกค้าไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15-20 ปี หากเลิกไม่ได้ก็จะติดไปจนตลอดชีวิตด้วย ส่วนมาตรการห้ามการขายปลีกหรือแบ่งมวนนั้น เพื่อทำให้มาตรการทางภาษีซึ่งเป็นมาตรการที่ดีที่สุด สามารถป้องกันเยาวชนอย่างได้ผลด้วย
ทั้งนี้ ในการทำประชาพิจารณ์ภาคกลาง ที่โรงแรมริชมอนด์ วันที่ 14 ก.ย.จะมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกรมควบคุมโรค ทำหน้าที่ชี้แจงมาตราต่างๆ ใน พ.ร.บ.และแจกเอกสารให้ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีกลุ่มต่างๆ ทั้งประชาชน พ่อค้า นักธุรกิจ ที่แสดงความประสงค์เข้าร่วมการประชาพิจารณ์ประมาณ 1,600 คน นอกจากนี้ ยังพบว่า ในการประชาพิจารณ์แต่ละครั้ง จะมีกลุ่มธุรกิจยาสูบและชาวไร่ยาสูบ เข้ามาร่วมคัดค้าน พ.ร.บ.โดยชูประเด็นกระทบต่อรายได้ใบยาสูบและธุรกิจค้าปลีกทุกครั้ง
จากกรณีสมาคมการค้ายาสูบไทย และสมาคมผู้บ่มยา ได้ร่วมคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ... ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ และ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เข้าด้วยกัน โดยอ้างว่า เป็นการทำให้ชาวไร่ยาสูบปลูกยาสูบได้น้อยลง และค้านกรณีการร่างกฎหมายเรื่องอายุของผู้ซื้อห้ามต่ำกว่า 20 ปีว่าเป็นทำให้ร้านค้าปลีกเสียรายได้นั้น
นายแสวง บุญเฉลิมวิภาส อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การคัดค้าน พ.ร.บ.เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะร่างกฎหมายดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันเยาวชนไม่ให้ตกเป็นนักสูบหน้าใหม่ และคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยไม่มีมาตราใดเลยที่เข้าไปควบคุมหรือเกี่ยวข้องกับชาวไร่ที่ปลูกใบยาสูบแต่อย่างใด ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้ชาวไร่ยาสูบ มีปริมาณการขายที่ลดลง เกิดจากโรงงานยาสูบของไทย ซึ่งเป็นผู้ซื้อใบยาหลักมีการจำหน่ายลดลง โดยเกิดจากบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาทำการตลาดในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งการ มี พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ จะคุมเรื่องการโฆษณา การตลาดต่างๆ จะทำให้บุหรี่ต่างประเทศเข้ามาโจมตีตลาดลดลง โดยหลักการของร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ ฉบับใหม่ยังเหมือนเดิม เพียงแต่จำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้ทันต่อเหตุการณ์
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ประเด็นที่สมาคมผู้ค้ายาสูบ ออกมาคัดค้าน โดยเฉพาะเรื่องอายุของผู้ซื้อบุหรี่นั้น ถือเป็นความตะกละของบริษัทบุหรี่ เพราะอัตราผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนมีเพียง ร้อยละ 10 ของตลาดทั้งหมดเท่านั้น แต่สาเหตุที่บริษัทบุหรี่ อยากทำการตลาดใน กลุ่มเยาวชน เพราะพบว่าเมื่อกลุ่มเยาวชนติดบุหรี่ ก็จะกลายเป็นลูกค้าไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15-20 ปี หากเลิกไม่ได้ก็จะติดไปจนตลอดชีวิตด้วย ส่วนมาตรการห้ามการขายปลีกหรือแบ่งมวนนั้น เพื่อทำให้มาตรการทางภาษีซึ่งเป็นมาตรการที่ดีที่สุด สามารถป้องกันเยาวชนอย่างได้ผลด้วย
ทั้งนี้ ในการทำประชาพิจารณ์ภาคกลาง ที่โรงแรมริชมอนด์ วันที่ 14 ก.ย.จะมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกรมควบคุมโรค ทำหน้าที่ชี้แจงมาตราต่างๆ ใน พ.ร.บ.และแจกเอกสารให้ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีกลุ่มต่างๆ ทั้งประชาชน พ่อค้า นักธุรกิจ ที่แสดงความประสงค์เข้าร่วมการประชาพิจารณ์ประมาณ 1,600 คน นอกจากนี้ ยังพบว่า ในการประชาพิจารณ์แต่ละครั้ง จะมีกลุ่มธุรกิจยาสูบและชาวไร่ยาสูบ เข้ามาร่วมคัดค้าน พ.ร.บ.โดยชูประเด็นกระทบต่อรายได้ใบยาสูบและธุรกิจค้าปลีกทุกครั้ง