“สุชาติ” แถลงผลงาน 1 ปี แจง 31 โครงการที่ลงมือทำตามนโยบายของ นายกฯ พร้อมประกาศแผนงานในอนาคต เริ่มตั้งแต่เดินหน้าแจกแท็บเล็ตอีก 700,000 เครื่อง บรรจุครูมุสลิมในภาคใต้เป็น ขรก. 250 อัตรา และจัดสอบ NT ทุกชั้นปี
วันนี้ (5 ก.ย.) ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1 อิมแพ็ค เมืองทองธานี กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดงานแถลงผลงานตลอด 1 ปี “31 นโยบายด้านการศึกษา” ของ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้การบริหารของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ โดยมี ศ.ดร.สุชาติ เป็นประธาน และมีนายศักดา คงเพชร รมช.ศึกษาธิการ ผู้บริหารระดับสูง ศธ. ครู อาจารย์ และนักเรียน เข้าร่วมงาน
โดย ศ.ดร.สุชาติ กล่าวเปิดงานแถลงผลงาน ศธ.ตอนหนึ่ง ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยกล่าวถึงเรื่องการศึกษาไว้ว่า การศึกษาจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของประชาชน ดังนั้น เราต้องมุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพให้สังคม เพราะการศึกษาจะจุดเริ่มต้นการแก้ปัญหาความยากจน ขณะที่นโยบายของรัฐบาลเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเราจะดูแลคนเหล่านี้เสมือนลูกหลานของเรา ส่วนครู อาจารย์ เราก็จะดูแลเสมือนคนในครอบครัว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้มี 2 เรื่อง คือ 1.สร้างความโปร่งใสงานบริหารทุกระดับ 2.สร้างความโปร่งใสการจัดซื้อต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดไม่ได้เลย หากเรายังไม่ปรับความคิดให้คนในประเทศรู้ว่า ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไม เพราะฉะนั้น ศธ.จึงมีนโยบายให้บุคลากรไปปฏิบัติธรรม อย่างไรก็ตาม สำหรับผลงานที่ได้ทำไป อาทิ การยกเลิกสอบสัมภาษณ์ทั้งการสอบบรรจุครูผู้ช่วย และสอบรอง ผอ.และ ผอ.สถานศึกษา, การใช้ผลประเมินระดับชาติเพื่อประเมินเลื่อนขั้นวิทยฐานะ, การแจกแท็บเล็ต ป.1 ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงทยอยแจก และคาดว่า จะเสร็จสิ้นในเดือน ต.ค.นี้, กองทุนตั้งตัวได้, โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่งเป็นโครงการส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศ โดยปีนี้ได้ส่งนักเรียนไทย 700 คนทยอยไปเรียนแล้ว, ครูมืออาชีพ, กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายที่กำลังจะดำเนินการ อาทิ การศึกษาไทยดับไฟใต้ โดยในปีนี้ ศธ.จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอบรรจุครูมุสลิม 3 จังหวัดใต้ให้เป็นข้าราชการครู 250 อัตรา จากเดิมที่เป็นเพียงลูกจ้าง เพื่อสร้างความมั่นคงต่อไป, การแจกแท็บเล็ต ม.1 ประมาณ 700,000 กว่าเครื่อง ซึ่งได้ของบประมาณไว้แล้ว คาดว่า จะแจกได้ในเดือน พ.ย.นี้ เป็นต้น นอกจากนั้น ตนยังมีนโยบายให้มีการจัดให้มีการสอบ NT(National Test) หรือ การสอบประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ทุกระดับชั้นด้วย เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา จากเดิมที่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) จะจัดสอบ NT เฉพาะชั้น ป.2 ป.5 ม.2 และ ม.5
ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า นโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ที่จัดต้องการนักเรียนทุกคนทุกชั้นปีสอบ NT นั้น ถ้านำมาดำเนินการจริง ก็จะเป็นมหกรรมการสอบที่ใหญ่มากๆ ต้องเตรียมคน เตรียมสถานที่ให้พร้อม ที่สำคัญ ต้องมีการจัดทำคลังข้อสอบรองรับให้เพียงพอด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่ และ สพฐ.จะต้องพิจารณาให้รอบครอบก่อน ทั้งนี้ สพฐ.พยายามหาแนวทางปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่จะสามารถสนองนโยบายดังกล่าวของ รมว.ศึกษาธิการ ได้ แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้สูง และสอดคล้องกับสิ่งที่ สพฐ.ดำเนินการอยู่ คือ การยกระดับการประเมินวัดผลของโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน ทำให้การวัดผลของ ร.ร.เข้าข่ายการประเมินวัดผลระดับชาติ หรือ NT แนวทางนี้สามารถทำให้ สพฐ.ตอบโจทย์ของ รมว.ศึกษาธิการ ได้โดยไม่ต้องเป็นภาระด้านงบประมาณเพิ่มเติมมากนัก
“ สพฐ.ไม่ต้องการทำให้การสอบ NT กลายเป็นมหกรรมการสอบขนาดใหญ่ เหมือนการสอบ O-Net อีก นักเรียนทุกคนต้องวิ่งสอบ O-Net อยู่แล้ว ก็ไม่อยากต้องให้มาวิ่งสอบ NT อีก ขณะเดียวกัน เป้าหมายของการสอบ NT นั้น เป็นเสมือนการสอบ Pre O-Net ให้นักเรียนก่อนชั้นปีสุดท้ายของช่วงชั้น คือ ป.5ม.5 ได้เข้าสอบ เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก ก่อนที่เด็กจะเข้าสอบ O-Net เมื่อจบช่วงชั้น” นายชินภัทร กล่าว
วันนี้ (5 ก.ย.) ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1 อิมแพ็ค เมืองทองธานี กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดงานแถลงผลงานตลอด 1 ปี “31 นโยบายด้านการศึกษา” ของ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้การบริหารของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ โดยมี ศ.ดร.สุชาติ เป็นประธาน และมีนายศักดา คงเพชร รมช.ศึกษาธิการ ผู้บริหารระดับสูง ศธ. ครู อาจารย์ และนักเรียน เข้าร่วมงาน
โดย ศ.ดร.สุชาติ กล่าวเปิดงานแถลงผลงาน ศธ.ตอนหนึ่ง ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยกล่าวถึงเรื่องการศึกษาไว้ว่า การศึกษาจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของประชาชน ดังนั้น เราต้องมุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพให้สังคม เพราะการศึกษาจะจุดเริ่มต้นการแก้ปัญหาความยากจน ขณะที่นโยบายของรัฐบาลเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเราจะดูแลคนเหล่านี้เสมือนลูกหลานของเรา ส่วนครู อาจารย์ เราก็จะดูแลเสมือนคนในครอบครัว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้มี 2 เรื่อง คือ 1.สร้างความโปร่งใสงานบริหารทุกระดับ 2.สร้างความโปร่งใสการจัดซื้อต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดไม่ได้เลย หากเรายังไม่ปรับความคิดให้คนในประเทศรู้ว่า ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไม เพราะฉะนั้น ศธ.จึงมีนโยบายให้บุคลากรไปปฏิบัติธรรม อย่างไรก็ตาม สำหรับผลงานที่ได้ทำไป อาทิ การยกเลิกสอบสัมภาษณ์ทั้งการสอบบรรจุครูผู้ช่วย และสอบรอง ผอ.และ ผอ.สถานศึกษา, การใช้ผลประเมินระดับชาติเพื่อประเมินเลื่อนขั้นวิทยฐานะ, การแจกแท็บเล็ต ป.1 ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงทยอยแจก และคาดว่า จะเสร็จสิ้นในเดือน ต.ค.นี้, กองทุนตั้งตัวได้, โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่งเป็นโครงการส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศ โดยปีนี้ได้ส่งนักเรียนไทย 700 คนทยอยไปเรียนแล้ว, ครูมืออาชีพ, กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายที่กำลังจะดำเนินการ อาทิ การศึกษาไทยดับไฟใต้ โดยในปีนี้ ศธ.จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอบรรจุครูมุสลิม 3 จังหวัดใต้ให้เป็นข้าราชการครู 250 อัตรา จากเดิมที่เป็นเพียงลูกจ้าง เพื่อสร้างความมั่นคงต่อไป, การแจกแท็บเล็ต ม.1 ประมาณ 700,000 กว่าเครื่อง ซึ่งได้ของบประมาณไว้แล้ว คาดว่า จะแจกได้ในเดือน พ.ย.นี้ เป็นต้น นอกจากนั้น ตนยังมีนโยบายให้มีการจัดให้มีการสอบ NT(National Test) หรือ การสอบประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ทุกระดับชั้นด้วย เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา จากเดิมที่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) จะจัดสอบ NT เฉพาะชั้น ป.2 ป.5 ม.2 และ ม.5
ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า นโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ ที่จัดต้องการนักเรียนทุกคนทุกชั้นปีสอบ NT นั้น ถ้านำมาดำเนินการจริง ก็จะเป็นมหกรรมการสอบที่ใหญ่มากๆ ต้องเตรียมคน เตรียมสถานที่ให้พร้อม ที่สำคัญ ต้องมีการจัดทำคลังข้อสอบรองรับให้เพียงพอด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่ และ สพฐ.จะต้องพิจารณาให้รอบครอบก่อน ทั้งนี้ สพฐ.พยายามหาแนวทางปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่จะสามารถสนองนโยบายดังกล่าวของ รมว.ศึกษาธิการ ได้ แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้สูง และสอดคล้องกับสิ่งที่ สพฐ.ดำเนินการอยู่ คือ การยกระดับการประเมินวัดผลของโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน ทำให้การวัดผลของ ร.ร.เข้าข่ายการประเมินวัดผลระดับชาติ หรือ NT แนวทางนี้สามารถทำให้ สพฐ.ตอบโจทย์ของ รมว.ศึกษาธิการ ได้โดยไม่ต้องเป็นภาระด้านงบประมาณเพิ่มเติมมากนัก
“ สพฐ.ไม่ต้องการทำให้การสอบ NT กลายเป็นมหกรรมการสอบขนาดใหญ่ เหมือนการสอบ O-Net อีก นักเรียนทุกคนต้องวิ่งสอบ O-Net อยู่แล้ว ก็ไม่อยากต้องให้มาวิ่งสอบ NT อีก ขณะเดียวกัน เป้าหมายของการสอบ NT นั้น เป็นเสมือนการสอบ Pre O-Net ให้นักเรียนก่อนชั้นปีสุดท้ายของช่วงชั้น คือ ป.5ม.5 ได้เข้าสอบ เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก ก่อนที่เด็กจะเข้าสอบ O-Net เมื่อจบช่วงชั้น” นายชินภัทร กล่าว