“ประแสง” จี้ “ธาริต” เปิดชื่อ หลังบิ๊ก สอศ.ซัด ถูกการเมืองบีบเซ็นเสนอโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ แฉเพิ่มอดีตเลขาฯอาชีวะไฟเขียวงบ 122.5 ล้าน อ้างใบประกวดราคาหาย ใช้ใบแจ้งความเดียวเบิกงบซ้ำ 1.5 พันล้านบาท ด้าน “ศศิธารา” ยันเลือกบริษัทที่ให้ราคาที่ดีที่สุดและตรงตามเกณฑ์ หลังดีเอสไอสรุปผลมีการฮั้วประมูล ชี้ หากบริษัทแอบคุยลับหลัง สอศ.ไม่เกี่ยวข้อง
จากกรณีที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงผลการตรวจสอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ ตามโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงิน 5,300 ล้านบาท ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยพบบริษัทต่างๆ มีการสมยอมราคาเข้าข่ายฮั้วประมูลหลายบริษัท โดยเฉพาะรายการจัดซื้อครุภัณฑ์ปฏิบัติการสาขางานไฟฟ้าทั่วไป ของวิทยาลัยในสังกัด 46 แห่งทั่วประเทศ วงเงินชุดละ 256,000 บาท โดยวิธีสอบราคา มีบริษัทเพียงเจ้าเดียวที่ชนะการประมูล เสนอราคาจำนวน 35 แห่ง ขณะเดียวกัน วัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ เป็นการขายเครื่องวัดอุณหภูมิ ซึ่งไม่ตรงกับรายการครุภัณฑ์ และยังพบว่า มีอีก 1 บริษัท ที่ชนะในการเสนอราคาจำนวน 28 แห่ง เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ชุดปฎิบัติการ สาขางานชิ้นส่วนเครื่องกลทั่วไป ของวิทยาลัยในสังกัด 44 แห่งทั่วประเทศ วงเงินชุดละ 360,000 บาท ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่า บริษัทดังกล่าว ทำธุรกิจให้บริการ ให้เช่า และซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ รวมถึงตรวจสอบพบว่า ในการจัดกิจกรรมในโครงการต่างๆ ของวิทยาลัยอาชีวะที่ได้มอบหมายให้จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ แต่มีเพียงบริษัทเดียวได้รับการว่าจ้างเกือบทุกโครงการรวม 8 แห่ง
วันนี้ (4 ก.ย.) น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตามที่ดีเอสไอสรุปผลว่า พบมีการฮั้วประมูลนั้นตนยังไม่ทราบ แต่ยืนยันว่าการดำเนินการที่ผ่านมานั้นทำอย่างโปร่งใส ซึ่งตามขั้นตอนก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการกำหนดทีโออาร์ (TOR) คณะกรรมการกำหนดสเปก คณะกรรมการประกวดราคา และคณะกรรมการตรวจรับ ซึ่งแต่ละชุดก็ดำเนินการไปตามหน้าที่ ซึ่งในการคัดเลือกบริษัทที่ชนะการประมูลนั้น คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ก็คัดเลือกบริษัทที่เสนอราคาที่ดีที่สุด ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะมีกรณีว่าบริษัทเหล่านี้ไปตกลงอะไรกันเองภายหลังหรือไม่นั้น ตรงนี้ สอศ.ไม่ได้เกี่ยวข้องและไม่เคยรู้ ซึ่งตนเชื่อว่า ทางดีเอสไอก็ดำเนินการตรวจสอบไปตามข้อมูลที่ได้รับ และตนก็ได้ไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ได้รับการติดต่อไปก่อนหน้าแล้ว
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 13.30 น.ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายประแสง มงคลสิริ อดีตที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะคณะทำงานปราบโกง พรรคเพื่อไทย แถลงเรียกร้องให้ นายธาริตออกมาเปิดเผยรายชื่อนักการเมือง หลังจากปรากฏเป็นข่าวว่าอดีตผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ให้การต่อดีเอสไอ โดยเปิดเผยว่า ถูกบีบจากฝ่ายการเมืองให้เซ็นเสนอโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ของ สอศ.มูลค่า 5,300 ล้านบาท เพราะเกรงว่า ประชาชนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นฝ่ายการเมืองของพรรคเพื่อไทย ที่เข้าไปแทรกแซงข้าราชการ ทั้งที่เป็นการทุจริตในคดีครุภัณฑ์ตามโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 (เอสพี 2) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายประแสง กล่าวอีกว่า ขณะนี้ทางดีเอสไอได้ประสานงานมาขอข้อมูลเพิ่มเติมการทุจริตในคดีเดียวกัน โดยพบว่าในช่วงรอยต่อหลังการยุบสภาในระหว่างที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยังรักษาการบริหารประเทศนั้น ได้มีการตั้งเบิกงบประมาณ 122.5 ล้านบาท อย่างมีเงื่อนงำและผิดปกติ โดยดำเนินขั้นตอนผิดระเบียบของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตามระเบียบแล้วต้องแนบเอกสารประกวดราคาหรือสัญญาว่าจ้างในการเบิกงบ แต่เจ้าหน้าที่พัสดุกลับใช้เอกสารแจ้งความลงบันทึกประจำวัน ที่เจ้าหน้าที่พัสดุไปแจ้งความต่อ สน.ดุสิต เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.54 ว่า เอกสารประกวดราคาสูญหายมาใช้แนบในการเบิกงบแทน โดยปราศจากการพิสูจน์ทราบและขาดการตรวจสอบอย่างละเอียดตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง
“กระบวนการดังกล่าวถือว่าไม่โปร่งใสและผิดระเบียบของกรมบัญชีกลาง แต่อดีตเลขาฯ สอศ.กลับอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน 122.5 ล้านบาท ในวันที่ 21 ก.ค.ปี 54 ถือว่าผิดปกติอย่างยิ่ง” นายประแสง กล่าว
นายประแสง กล่าวด้วยว่า งบประมาณ 122.5 ล้านบาทเป็นงบประมาณการจัดซื้อครุภัณฑ์ทั้งหมด 6 สัญญา ได้แก่ ครุภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ ครุภัณฑ์สิ่งแวดล้อม ครุภัณฑ์ยาง ครุภัณฑ์เครื่องกลไฟฟ้า ครุภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และครุภัณฑ์อุปกรณ์พื้นฐาน นอกจากนี้ ในใบแจ้งความลงบันทึกประจำวันชิ้นเดียวกันยังถูกนำเป็นเอกสารแนบในการเบิกงบหลายครั้งรวมเป็นเงินถึง 1,500 ล้านบาท
จากกรณีที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงผลการตรวจสอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ ตามโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงิน 5,300 ล้านบาท ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยพบบริษัทต่างๆ มีการสมยอมราคาเข้าข่ายฮั้วประมูลหลายบริษัท โดยเฉพาะรายการจัดซื้อครุภัณฑ์ปฏิบัติการสาขางานไฟฟ้าทั่วไป ของวิทยาลัยในสังกัด 46 แห่งทั่วประเทศ วงเงินชุดละ 256,000 บาท โดยวิธีสอบราคา มีบริษัทเพียงเจ้าเดียวที่ชนะการประมูล เสนอราคาจำนวน 35 แห่ง ขณะเดียวกัน วัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ เป็นการขายเครื่องวัดอุณหภูมิ ซึ่งไม่ตรงกับรายการครุภัณฑ์ และยังพบว่า มีอีก 1 บริษัท ที่ชนะในการเสนอราคาจำนวน 28 แห่ง เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ชุดปฎิบัติการ สาขางานชิ้นส่วนเครื่องกลทั่วไป ของวิทยาลัยในสังกัด 44 แห่งทั่วประเทศ วงเงินชุดละ 360,000 บาท ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่า บริษัทดังกล่าว ทำธุรกิจให้บริการ ให้เช่า และซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ รวมถึงตรวจสอบพบว่า ในการจัดกิจกรรมในโครงการต่างๆ ของวิทยาลัยอาชีวะที่ได้มอบหมายให้จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ แต่มีเพียงบริษัทเดียวได้รับการว่าจ้างเกือบทุกโครงการรวม 8 แห่ง
วันนี้ (4 ก.ย.) น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตามที่ดีเอสไอสรุปผลว่า พบมีการฮั้วประมูลนั้นตนยังไม่ทราบ แต่ยืนยันว่าการดำเนินการที่ผ่านมานั้นทำอย่างโปร่งใส ซึ่งตามขั้นตอนก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการกำหนดทีโออาร์ (TOR) คณะกรรมการกำหนดสเปก คณะกรรมการประกวดราคา และคณะกรรมการตรวจรับ ซึ่งแต่ละชุดก็ดำเนินการไปตามหน้าที่ ซึ่งในการคัดเลือกบริษัทที่ชนะการประมูลนั้น คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ก็คัดเลือกบริษัทที่เสนอราคาที่ดีที่สุด ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะมีกรณีว่าบริษัทเหล่านี้ไปตกลงอะไรกันเองภายหลังหรือไม่นั้น ตรงนี้ สอศ.ไม่ได้เกี่ยวข้องและไม่เคยรู้ ซึ่งตนเชื่อว่า ทางดีเอสไอก็ดำเนินการตรวจสอบไปตามข้อมูลที่ได้รับ และตนก็ได้ไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ได้รับการติดต่อไปก่อนหน้าแล้ว
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 13.30 น.ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายประแสง มงคลสิริ อดีตที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะคณะทำงานปราบโกง พรรคเพื่อไทย แถลงเรียกร้องให้ นายธาริตออกมาเปิดเผยรายชื่อนักการเมือง หลังจากปรากฏเป็นข่าวว่าอดีตผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ให้การต่อดีเอสไอ โดยเปิดเผยว่า ถูกบีบจากฝ่ายการเมืองให้เซ็นเสนอโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ของ สอศ.มูลค่า 5,300 ล้านบาท เพราะเกรงว่า ประชาชนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นฝ่ายการเมืองของพรรคเพื่อไทย ที่เข้าไปแทรกแซงข้าราชการ ทั้งที่เป็นการทุจริตในคดีครุภัณฑ์ตามโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 (เอสพี 2) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายประแสง กล่าวอีกว่า ขณะนี้ทางดีเอสไอได้ประสานงานมาขอข้อมูลเพิ่มเติมการทุจริตในคดีเดียวกัน โดยพบว่าในช่วงรอยต่อหลังการยุบสภาในระหว่างที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยังรักษาการบริหารประเทศนั้น ได้มีการตั้งเบิกงบประมาณ 122.5 ล้านบาท อย่างมีเงื่อนงำและผิดปกติ โดยดำเนินขั้นตอนผิดระเบียบของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตามระเบียบแล้วต้องแนบเอกสารประกวดราคาหรือสัญญาว่าจ้างในการเบิกงบ แต่เจ้าหน้าที่พัสดุกลับใช้เอกสารแจ้งความลงบันทึกประจำวัน ที่เจ้าหน้าที่พัสดุไปแจ้งความต่อ สน.ดุสิต เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.54 ว่า เอกสารประกวดราคาสูญหายมาใช้แนบในการเบิกงบแทน โดยปราศจากการพิสูจน์ทราบและขาดการตรวจสอบอย่างละเอียดตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง
“กระบวนการดังกล่าวถือว่าไม่โปร่งใสและผิดระเบียบของกรมบัญชีกลาง แต่อดีตเลขาฯ สอศ.กลับอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน 122.5 ล้านบาท ในวันที่ 21 ก.ค.ปี 54 ถือว่าผิดปกติอย่างยิ่ง” นายประแสง กล่าว
นายประแสง กล่าวด้วยว่า งบประมาณ 122.5 ล้านบาทเป็นงบประมาณการจัดซื้อครุภัณฑ์ทั้งหมด 6 สัญญา ได้แก่ ครุภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ ครุภัณฑ์สิ่งแวดล้อม ครุภัณฑ์ยาง ครุภัณฑ์เครื่องกลไฟฟ้า ครุภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และครุภัณฑ์อุปกรณ์พื้นฐาน นอกจากนี้ ในใบแจ้งความลงบันทึกประจำวันชิ้นเดียวกันยังถูกนำเป็นเอกสารแนบในการเบิกงบหลายครั้งรวมเป็นเงินถึง 1,500 ล้านบาท