รมช.ศึกษาธิการ หอบหลักฐานการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการไทยเข้มแข็งส่งดีเอสไอ พร้อมตั้งกรรมการเพิ่ม 10 ชุด ด้านดีเอสไอ ชี้ คดีส่อทุจริตจริง มีเจ้าหน้าที่เอี่ยวการจัดซื้อ-จัดส่ง แต่ยังไม่ฟันธงมีข้าราชการระดับสูงเกี่ยวข้องหรือไม่ เตรียมยื่นสำนวน ป.ป.ช.สอบสวนต่อ
พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า การสอบสวนโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ภายใต้โครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ 2 (SP2) ไทยเข้มแข็ง เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ให้กับสถานศึกษาวงเงินงบประมาณ 5,300 ล้านบาท พบว่า การจัดซื้อครุภัณฑ์ วงเงิน 800 ล้านบาท ส่อไปในทางทุจริต โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการจัดซื้อ การจัดส่ง และครุภัณฑ์ มีราคาแพงเกินจริง ไม่มีการตรวจรับตามขั้นตอนที่ถูกต้อง จึงส่งสำนวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปดำเนินการแล้ว เพราะดีเอสไอไม่มีอำนาจสอบเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทุจริต
พ.ต.ท.ถวัล กล่าวอีกว่า จากนั้นมีการยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส่งเอกสารของโครงการตั้งแต่การตั้งทีโออาร์ การประกวดราคา และการตรวจรับมาให้ดีเอสไอตรวจสอบ แต่ถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับเอกสาร ทำให้การตรวจสอบไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เมื่อ รมช.ศึกษาธิการ เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนพร้อมส่งเอกสารให้ดีเอสไอตรวจสอบ จึงน่าเชื่อว่า จะได้หลักฐานที่ชัดเจนขึ้น เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีข้าราชการระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือไม่ เนื่องจากคดีในส่วนข้าราชการระดับสูงต้องพิจารณาภาพรวมทั้งโครงการวงเงินงบประมาณ 5,300 ล้านบาท ไม่สามารถแยกส่วนพิจารณาเป็นรายโครงการได้
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ได้รวบรวมหลักฐานที่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โดยใช้งบประมาณไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2 นำไปมอบให้แก่ดีเอสไอ เพื่อนำไปขยายผลการตรวจสอบเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้จะเรียกประชุมวิทยาลัยที่ประสบปัญหาได้รับครุภัณฑ์ที่ไม่ตรงตามต้องการเพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน เร็วๆ นี้ ตนจะตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นอีก 10 ชุดจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 4 ชุด เพื่อกระจายลงพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม เนื่องจากวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีมากถึง 415 แห่ง ซึ่งการตั้งกรรมการเพิ่มเติมนั้น ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบอำนาจให้ตนเป็นผู้ดำเนินการแล้ว แต่เร็วๆ นี้ ตนจะทำหนังสือถึง รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้มอบอำนาจให้ตนสามารถตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ข้าราชการที่มีเอี่ยวกับเรื่องการทุจริตได้
“ก่อนหน้าผมได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ซึ่งมี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) เป็นประธาน ซึ่งแม้ว่าผมจะตั้งขึ้นมาอย่างชอบธรรม แต่ก็มีการเล่นแง่ว่าการตั้งดังกล่าวผิดในข้อระเบียบ ดังนั้น ผมจะทำเรื่องขอให้ รมว.ศึกษาธิการ มอบอำนาจให้สามารถตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงได้ เหมือนที่ท่านมอบอำนาจให้ผมตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทุจริต” นายศักดา กล่าว
พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า การสอบสวนโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ภายใต้โครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ 2 (SP2) ไทยเข้มแข็ง เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ให้กับสถานศึกษาวงเงินงบประมาณ 5,300 ล้านบาท พบว่า การจัดซื้อครุภัณฑ์ วงเงิน 800 ล้านบาท ส่อไปในทางทุจริต โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการจัดซื้อ การจัดส่ง และครุภัณฑ์ มีราคาแพงเกินจริง ไม่มีการตรวจรับตามขั้นตอนที่ถูกต้อง จึงส่งสำนวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปดำเนินการแล้ว เพราะดีเอสไอไม่มีอำนาจสอบเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทุจริต
พ.ต.ท.ถวัล กล่าวอีกว่า จากนั้นมีการยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และขอให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส่งเอกสารของโครงการตั้งแต่การตั้งทีโออาร์ การประกวดราคา และการตรวจรับมาให้ดีเอสไอตรวจสอบ แต่ถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับเอกสาร ทำให้การตรวจสอบไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เมื่อ รมช.ศึกษาธิการ เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนพร้อมส่งเอกสารให้ดีเอสไอตรวจสอบ จึงน่าเชื่อว่า จะได้หลักฐานที่ชัดเจนขึ้น เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีข้าราชการระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือไม่ เนื่องจากคดีในส่วนข้าราชการระดับสูงต้องพิจารณาภาพรวมทั้งโครงการวงเงินงบประมาณ 5,300 ล้านบาท ไม่สามารถแยกส่วนพิจารณาเป็นรายโครงการได้
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ได้รวบรวมหลักฐานที่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โดยใช้งบประมาณไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2 นำไปมอบให้แก่ดีเอสไอ เพื่อนำไปขยายผลการตรวจสอบเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้จะเรียกประชุมวิทยาลัยที่ประสบปัญหาได้รับครุภัณฑ์ที่ไม่ตรงตามต้องการเพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน เร็วๆ นี้ ตนจะตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นอีก 10 ชุดจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 4 ชุด เพื่อกระจายลงพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม เนื่องจากวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีมากถึง 415 แห่ง ซึ่งการตั้งกรรมการเพิ่มเติมนั้น ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบอำนาจให้ตนเป็นผู้ดำเนินการแล้ว แต่เร็วๆ นี้ ตนจะทำหนังสือถึง รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้มอบอำนาจให้ตนสามารถตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ข้าราชการที่มีเอี่ยวกับเรื่องการทุจริตได้
“ก่อนหน้าผมได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ซึ่งมี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) เป็นประธาน ซึ่งแม้ว่าผมจะตั้งขึ้นมาอย่างชอบธรรม แต่ก็มีการเล่นแง่ว่าการตั้งดังกล่าวผิดในข้อระเบียบ ดังนั้น ผมจะทำเรื่องขอให้ รมว.ศึกษาธิการ มอบอำนาจให้สามารถตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงได้ เหมือนที่ท่านมอบอำนาจให้ผมตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทุจริต” นายศักดา กล่าว