กก.ควบคุม ตั้ง “ชูชาติ” นั่ง อธ.มอส.แทน “ฉันทวิทย์” แจงแม้การฟ้องร้องการสรรหาจะถูกถอนแล้ว แต่ต้องการป้องกันปัญหา พร้อมมอบ อธ.ใหม่ รวมหลักฐานสนับสนุนการเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้ง
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ในฐานะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุม มอส.ที่มี นายสมนึก พิมลเสถียร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นประธาน ได้อนุมัติผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) วิชาชีพครู 24 คน ปริญญาตรี 89 คน และ ปริญญาโท 34 คน ซึ่งจากจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง แสดงถึงการบริหารงานได้ตามเป้าหมายพอสมควร พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณากรณีผู้รับใบอนุญาตฟ้องร้องกระบวนการแต่งตั้ง ดร.ฉันทวิทย์ สุชาตานนท์ เป็นอธิการบดี มอส.ว่าไม่ชอบธรรม แม้จะมีการถอนฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง จึงมีมติแต่งตั้ง รศ.ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์ รองอธิการบดี ขึ้นเป็นอธิการบดีคนใหม่ แทน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือเพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยต่อไป ภายหลังจากได้ดำเนินการควบคุมมาแล้วเป็นเวลานาน โดยที่ประชุมรับฟังความเห็นจากกรรมการควบคุมฯ พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่เห็นสมควรให้ถอนใบอนุญาต เนื่องจากประเด็นหลักเรื่องข้อกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่ฝ่ายผู้รับใบอนุญาตยังไม่ส่งคืนเป็นจำนวนเงินกว่า 40 ล้านบาท และยังมีประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของ มอส.ที่ไม่เป็นไปตามคุณภาพในหลายเรื่อง จึงเห็นว่า ไม่สมควรให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมาย รศ.ชูชาติ อธิการบดีคนใหม่ ทำหน้าที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ที่สนับสนุนการเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อนำกลับเข้าที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมฯ อีกครั้งในวันที่ 3 ก.ย.2555 ก่อนจะเสนอต่อ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ กกอ.ให้ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาต
“หลังจากที่ประชุมได้กำหนด 3 แนวทางให้กรรมการควบคุมฯ กลับไปพิจารณาว่าควรจะบริหารมหาวิทยาลัยต่อไปอย่างไร ได้แก่ กรณีการบริหารร่วมกันในลักษณะที่จะคืนการบริหารให้ฝ่ายผู้รับใบอนุญาต ซึ่งในข้อนี้กรรมการควบคุมฯ ได้พิจารณาแล้วยังไม่มีใครเห็นด้วย เพราะติดปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับเงินของมหาวิทยาลัยที่หายไป ดังนั้น จึงเหลือ 2 แนวทาง คือ ให้คณะกรรมการควบคุมบริหารต่อไป กับ แนวทางให้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งที่ประชุมมีแนวโน้มเห็นด้วยกับการเพิกถอนใบอนุญาตมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม กรรมการควบคุมฯ ยังให้โอกาสฝ่ายผู้รับใบอนุญาต หากภายใน 1 เดือนนี้ หากสามารถแก้ปัญหาด้วยการคืนเงินจำนวนดังกล่าว และให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยไม่ก้าวก่ายและขัดขวางก็จะยังไม่พิจารณาดำเนินการเสนอเรื่องเพิกถอนใบอนุญาตมหาวิทยาลัย” รศ.นพ.กำจร กล่าว
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า ในกรณีที่ได้ข้อสรุปว่าจะเพิกถอนมหาวิทยาลัยนั้น กรรมการควบคุมฯ ยืนยันว่า จะดูแลนักศึกษาทุกคนที่สามารถพิสูจน์ตัวตนได้ว่าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยอาจมีกระบวนการให้ศึกษาต่อจนจบหรือย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่น รวมถึงคืนเงินให้ในกรณีที่นักศึกษาไม่ต้องการศึกษาต่อ โดยทั้งหมดจะใช้เงินของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมฯ ครั้งนี้ ทางฝ่ายผู้รับใบอนุญาต ได้มอบหมายให้ ดร.อัษฎางค์ แสวงการ อดีตอธิการบดี มอส.เข้าชี้แจงแนวทางการบริหารงานมหาวิทยาลัย เพื่อขอคืนการบริหาร โดย ดร.อัษฎางค์ ได้ระบุถึงความต้องการแก้ปัญหาให้นักศึกษา มอส.ในส่วนที่ยังมีปัญหาอยู่ ให้จบการศึกษาได้ภายใน 3 เดือน ซึ่งเป็นคำชี้แจงที่ขาดแนวทางดำเนินการที่ชัดเจน ทางคณะกรรมการควบคุมฯ จึงทำได้เพียงรับฟังเท่า
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ในฐานะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุม มอส.ที่มี นายสมนึก พิมลเสถียร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นประธาน ได้อนุมัติผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) วิชาชีพครู 24 คน ปริญญาตรี 89 คน และ ปริญญาโท 34 คน ซึ่งจากจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง แสดงถึงการบริหารงานได้ตามเป้าหมายพอสมควร พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณากรณีผู้รับใบอนุญาตฟ้องร้องกระบวนการแต่งตั้ง ดร.ฉันทวิทย์ สุชาตานนท์ เป็นอธิการบดี มอส.ว่าไม่ชอบธรรม แม้จะมีการถอนฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง จึงมีมติแต่งตั้ง รศ.ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์ รองอธิการบดี ขึ้นเป็นอธิการบดีคนใหม่ แทน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือเพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยต่อไป ภายหลังจากได้ดำเนินการควบคุมมาแล้วเป็นเวลานาน โดยที่ประชุมรับฟังความเห็นจากกรรมการควบคุมฯ พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่เห็นสมควรให้ถอนใบอนุญาต เนื่องจากประเด็นหลักเรื่องข้อกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่ฝ่ายผู้รับใบอนุญาตยังไม่ส่งคืนเป็นจำนวนเงินกว่า 40 ล้านบาท และยังมีประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของ มอส.ที่ไม่เป็นไปตามคุณภาพในหลายเรื่อง จึงเห็นว่า ไม่สมควรให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมาย รศ.ชูชาติ อธิการบดีคนใหม่ ทำหน้าที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ที่สนับสนุนการเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อนำกลับเข้าที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมฯ อีกครั้งในวันที่ 3 ก.ย.2555 ก่อนจะเสนอต่อ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ กกอ.ให้ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาต
“หลังจากที่ประชุมได้กำหนด 3 แนวทางให้กรรมการควบคุมฯ กลับไปพิจารณาว่าควรจะบริหารมหาวิทยาลัยต่อไปอย่างไร ได้แก่ กรณีการบริหารร่วมกันในลักษณะที่จะคืนการบริหารให้ฝ่ายผู้รับใบอนุญาต ซึ่งในข้อนี้กรรมการควบคุมฯ ได้พิจารณาแล้วยังไม่มีใครเห็นด้วย เพราะติดปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับเงินของมหาวิทยาลัยที่หายไป ดังนั้น จึงเหลือ 2 แนวทาง คือ ให้คณะกรรมการควบคุมบริหารต่อไป กับ แนวทางให้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งที่ประชุมมีแนวโน้มเห็นด้วยกับการเพิกถอนใบอนุญาตมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม กรรมการควบคุมฯ ยังให้โอกาสฝ่ายผู้รับใบอนุญาต หากภายใน 1 เดือนนี้ หากสามารถแก้ปัญหาด้วยการคืนเงินจำนวนดังกล่าว และให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยไม่ก้าวก่ายและขัดขวางก็จะยังไม่พิจารณาดำเนินการเสนอเรื่องเพิกถอนใบอนุญาตมหาวิทยาลัย” รศ.นพ.กำจร กล่าว
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า ในกรณีที่ได้ข้อสรุปว่าจะเพิกถอนมหาวิทยาลัยนั้น กรรมการควบคุมฯ ยืนยันว่า จะดูแลนักศึกษาทุกคนที่สามารถพิสูจน์ตัวตนได้ว่าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยอาจมีกระบวนการให้ศึกษาต่อจนจบหรือย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่น รวมถึงคืนเงินให้ในกรณีที่นักศึกษาไม่ต้องการศึกษาต่อ โดยทั้งหมดจะใช้เงินของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมฯ ครั้งนี้ ทางฝ่ายผู้รับใบอนุญาต ได้มอบหมายให้ ดร.อัษฎางค์ แสวงการ อดีตอธิการบดี มอส.เข้าชี้แจงแนวทางการบริหารงานมหาวิทยาลัย เพื่อขอคืนการบริหาร โดย ดร.อัษฎางค์ ได้ระบุถึงความต้องการแก้ปัญหาให้นักศึกษา มอส.ในส่วนที่ยังมีปัญหาอยู่ ให้จบการศึกษาได้ภายใน 3 เดือน ซึ่งเป็นคำชี้แจงที่ขาดแนวทางดำเนินการที่ชัดเจน ทางคณะกรรมการควบคุมฯ จึงทำได้เพียงรับฟังเท่า