เบิกจ่ายงบป้องกันน้ำท่วมสุดอืด 9 เดือนงบ 1.2 แสนล้านเบิกจ่ายไปเพียง 60% เท่านั้น พบพิรุธผู้รับเหมาบางรายรับงานไปมากถึง 41 สัญญาเหตุใกล้ชิดผู้อนุมัติงบโครงการ ขณะที่งบ 3.5 แสนล้านหวั่นถูกจ้างงานแบบเทิร์นคีย์ให้ผู้รับเหมารายเดียวรับงานไปแบบเบ็ดเสร็จก่อนกระจายงานให้รายอื่นรับช่วงต่อ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า โครงการเร่งรัดการเบิกจ่ายการใช้เงินเยียวยาและป้องกันน้ำท่วมวงเงิน 1.2 แสนล้านบาทในงบกลางของงบประมาณรายจ่ายปี 2555 นั้น ล่าสุดสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาหรือ 9 เดือนของปีงบประมาณรายจ่ายมีการเบิกจ่ายเงินแล้วเพียง 59% หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ขณะนี้มีโครงการของส่วนราชการต่างๆ ขออนุมัติโครงการเข้ามารวมทั้งสิ้น 1.17 แสนล้านบาท และมีการทำสัญญาผูกพันไว้แล้ว 1.01 แสน ล้านบาท ยังมีอีกประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาทที่ยังไม่มีการทำสัญญา
โดยในส่วนที่ยังไม่มีการทำสัญญานั้นส่วนราชการต้องเร่งดำเนินการภายในเดือน ก.ค.นี้เพื่อจะได้เร่งเบิกจ่ายในช่วง ส.ค.-ก.ย.นี้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแม้จะเบิกจ่ายไม่ทันสิ้นปีงบประมาณก็จะได้รับการกันงบไว้เบิกเหลื่อมปี แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งรัดให้เบิกจ่ายให้ทันสิ้นปีงบประมาณแต่เชื่อว่าส่วนใหญ่ก็จะได้รับการผ่อนปรนอยู่ดีทำให้ส่วนราชการยังไม่ตื่นตัวเท่าที่ควร
ทั้งนี้ ในส่วนที่มีการทำสัญญาแล้วกรมบัญชีกลางก็จะทำการปลดล็อกเงินและกันเป็นงบเหลื่อมปีแบบมีหนี้ ส่วนที่ยังไม่ได้ทำสัญญานั้นจะล็อกเอาไว้และจะสอบถามไปยังส่วนราชการว่าอยู่ในขั้นตอนใด หากอยู่ระหว่างดำเนินการทำสัญญาก็จะกันงบไว้ให้แบบไม่มีหนี้ จึงเชื่อว่าส่วนของ 1.6 หมื่นล้านนั้นคงจะเร่งทำสัญญาภายในเดือน ก.ค.นี้เพราะไม่อยากถูกพับโครงการไป
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนที่ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้วแสนกว่าล้านแต่มีการเบิกจ่ายเข้ามาจริง 7 หมื่นล้านบาทนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องเบิกตามความคืบหน้าของงานหรือส่งมอบงานแล้วเท่านั้น จึงมองว่าคงมีโครงการจำนวนมากที่ยังดำเนินงานไม่แล้วเสร็จ ซึ่งตามระเบียบจะต้องส่งมอบงานตามสัญญาอยู่แล้ว หากล่าช้ากว่ากำหนดเอกชนที่รับงานไปก็จะต้องเสียค่าปรับให้รัฐ หากเอกชนรายใดมีสัญญารับงานไปหลายสัญญาก็ต้องบริการงานแต่ละโครงการให้เสร็จตามกำหนด โดยส่วนใหญ่จะทำโครงการที่ถึงเวลาเบิกจ่ายเงินก่อน และที่เคยพบที่ผ่านมาบางรายก็จะทำหนังสือส่งมอบงานก่อนทั้งที่งานยังไม่เสร็จดีเพื่อให้ทันตามกำหนด เพราะกว่าคณะกรรมการรับมอบงานจะไปตรวจรับมอบงานก็ใช้เวลาหลายวัน เช่น โครงการเทถนน บางรายก็ส่งมอบงานแล้วทั้งๆ ที่เพิ่งเทปูนยังไม่แห้งด้วยซ้ำ
สำหรับโครงการลงทุนที่เกี่ยวกับการเยียวยาและป้องกันน้ำท่วม 1.2 แสนล้านบาทนั้นเป้าหมายเพื่อกระจายโครงการออกในวงเงินไม่สูงมากนักเพื่อให้มีการเร่งเบิกจ่ายเงินได้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2555 แต่จากการตรวจสอบพบว่ามีเอกชนบางรายที่ได้รับงานก่อสร้างถึง 41 สัญญา ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจพิจารณาโครงการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งหากจะเร่งทำโครงการให้เสร็จทันตามกำหนดคงต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ขณะที่ภาวะปัจจุบันแรงงานด้านก่อสร้างถือว่าขาดแคลน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบด้วย
ขณะเดียวกัน ในส่วนของโครงการลงทุนบริหารจัดการด้านน้ำทั้งระบบ 3.5 แสนล้านบาทนั้น รัฐบาลกำลังพิจารณาจะใช้วิธีพิเศษในการประมูลเพื่อให้เอกชนรายเดียวเข้าไปดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จหรือระบบเทิร์นคีย์ โดยจะให้เสนอโครงการและวงเงินเข้ามาจากนั้นเอกชนรายดังกล่าวสามารถกระจายงานไปให้บริษัทอื่นๆ รับช่วงต่อได้ จึงต้องจับตาดูว่าอาจมีการใช้เงินหลวงไม่ตรงวัตถุประสงค์และมีการแสวงหาผลประโยชน์ได้ง่าย เพราะวิธีดังกล่าวอาจจะไม่เหมาะสมกับงบจำนวนมากขนาดนี้เพราะที่ผ่านมาระบบเทิร์นคีย์จะใช้แค่การออกแบบเท่านั้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า โครงการเร่งรัดการเบิกจ่ายการใช้เงินเยียวยาและป้องกันน้ำท่วมวงเงิน 1.2 แสนล้านบาทในงบกลางของงบประมาณรายจ่ายปี 2555 นั้น ล่าสุดสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาหรือ 9 เดือนของปีงบประมาณรายจ่ายมีการเบิกจ่ายเงินแล้วเพียง 59% หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ขณะนี้มีโครงการของส่วนราชการต่างๆ ขออนุมัติโครงการเข้ามารวมทั้งสิ้น 1.17 แสนล้านบาท และมีการทำสัญญาผูกพันไว้แล้ว 1.01 แสน ล้านบาท ยังมีอีกประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาทที่ยังไม่มีการทำสัญญา
โดยในส่วนที่ยังไม่มีการทำสัญญานั้นส่วนราชการต้องเร่งดำเนินการภายในเดือน ก.ค.นี้เพื่อจะได้เร่งเบิกจ่ายในช่วง ส.ค.-ก.ย.นี้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแม้จะเบิกจ่ายไม่ทันสิ้นปีงบประมาณก็จะได้รับการกันงบไว้เบิกเหลื่อมปี แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งรัดให้เบิกจ่ายให้ทันสิ้นปีงบประมาณแต่เชื่อว่าส่วนใหญ่ก็จะได้รับการผ่อนปรนอยู่ดีทำให้ส่วนราชการยังไม่ตื่นตัวเท่าที่ควร
ทั้งนี้ ในส่วนที่มีการทำสัญญาแล้วกรมบัญชีกลางก็จะทำการปลดล็อกเงินและกันเป็นงบเหลื่อมปีแบบมีหนี้ ส่วนที่ยังไม่ได้ทำสัญญานั้นจะล็อกเอาไว้และจะสอบถามไปยังส่วนราชการว่าอยู่ในขั้นตอนใด หากอยู่ระหว่างดำเนินการทำสัญญาก็จะกันงบไว้ให้แบบไม่มีหนี้ จึงเชื่อว่าส่วนของ 1.6 หมื่นล้านนั้นคงจะเร่งทำสัญญาภายในเดือน ก.ค.นี้เพราะไม่อยากถูกพับโครงการไป
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนที่ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้วแสนกว่าล้านแต่มีการเบิกจ่ายเข้ามาจริง 7 หมื่นล้านบาทนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องเบิกตามความคืบหน้าของงานหรือส่งมอบงานแล้วเท่านั้น จึงมองว่าคงมีโครงการจำนวนมากที่ยังดำเนินงานไม่แล้วเสร็จ ซึ่งตามระเบียบจะต้องส่งมอบงานตามสัญญาอยู่แล้ว หากล่าช้ากว่ากำหนดเอกชนที่รับงานไปก็จะต้องเสียค่าปรับให้รัฐ หากเอกชนรายใดมีสัญญารับงานไปหลายสัญญาก็ต้องบริการงานแต่ละโครงการให้เสร็จตามกำหนด โดยส่วนใหญ่จะทำโครงการที่ถึงเวลาเบิกจ่ายเงินก่อน และที่เคยพบที่ผ่านมาบางรายก็จะทำหนังสือส่งมอบงานก่อนทั้งที่งานยังไม่เสร็จดีเพื่อให้ทันตามกำหนด เพราะกว่าคณะกรรมการรับมอบงานจะไปตรวจรับมอบงานก็ใช้เวลาหลายวัน เช่น โครงการเทถนน บางรายก็ส่งมอบงานแล้วทั้งๆ ที่เพิ่งเทปูนยังไม่แห้งด้วยซ้ำ
สำหรับโครงการลงทุนที่เกี่ยวกับการเยียวยาและป้องกันน้ำท่วม 1.2 แสนล้านบาทนั้นเป้าหมายเพื่อกระจายโครงการออกในวงเงินไม่สูงมากนักเพื่อให้มีการเร่งเบิกจ่ายเงินได้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2555 แต่จากการตรวจสอบพบว่ามีเอกชนบางรายที่ได้รับงานก่อสร้างถึง 41 สัญญา ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจพิจารณาโครงการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งหากจะเร่งทำโครงการให้เสร็จทันตามกำหนดคงต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ขณะที่ภาวะปัจจุบันแรงงานด้านก่อสร้างถือว่าขาดแคลน จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบด้วย
ขณะเดียวกัน ในส่วนของโครงการลงทุนบริหารจัดการด้านน้ำทั้งระบบ 3.5 แสนล้านบาทนั้น รัฐบาลกำลังพิจารณาจะใช้วิธีพิเศษในการประมูลเพื่อให้เอกชนรายเดียวเข้าไปดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จหรือระบบเทิร์นคีย์ โดยจะให้เสนอโครงการและวงเงินเข้ามาจากนั้นเอกชนรายดังกล่าวสามารถกระจายงานไปให้บริษัทอื่นๆ รับช่วงต่อได้ จึงต้องจับตาดูว่าอาจมีการใช้เงินหลวงไม่ตรงวัตถุประสงค์และมีการแสวงหาผลประโยชน์ได้ง่าย เพราะวิธีดังกล่าวอาจจะไม่เหมาะสมกับงบจำนวนมากขนาดนี้เพราะที่ผ่านมาระบบเทิร์นคีย์จะใช้แค่การออกแบบเท่านั้น