“กรมศิลป์” โชว์ต้นแบบสินค้าศิลปะสร้างสรรค์ ต่อยอดให้ชุมชนผลิตสร้างรายได้ให้ท้องถิ่น
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการที่ กรมศิลปากร จัดงาน Creative Fine Arts 2012 : เศรษฐกิจ สร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลงานที่นำมรดกทางวัฒนธรรมมาสอดแทรกในชิ้นงาน อาทิ ผ้าพันคอลวดลายบ้านเชียง เนกไทลายอักษรบนศิลาจารึก ประติมากรรมต่างที่สามารถนำไปตกแต่งบ้านเรือนได้ ซึ่งผู้เข้าชมผลงานส่วนใหญ่สนใจขอซื้อ แต่ชิ้นงานที่นำมาจัดแสดงยังเป็นต้นแบบอยู่ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตกรมศิลปากร จะประสานให้สำนักงานศิลปากรพื้นที่แต่ละแห่ง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด ประสานไปยังผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมนำต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดเป็นชิ้นงานต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ด้วย
“ตนมอบโจทย์ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร ไปคิดว่า ในพื้นที่ที่รับผิดชอบมีอะไรที่โดดเด่นบ้าง มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้ความสนใจในเรื่องใด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนมรดกโลก อย่าง อยุธยา สุโขทัย และสถานที่สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ ที่บางคนไม่รู้จัก ควรนำมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันน่าจะจำหน่ายได้มากกว่าออกแบบเป็นของที่ระลึก หรือเป็นสินค้าที่ประชาชนสามารถซื้อไปตั้งโชว์ได้ เนื่องจากพบว่า ทั่วโลกกำลังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ สินค้าตกแต่งบ้าน ตั้งโชว์ ค่อนข้างขายยากกว่าสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หากเราทำให้มีลวดลายแปลกไม่เหมือนท้องตลาด เช่น โมเดลจำลอง นำลวดลายโบราณสถานไปใส่ในเสื้อ กางเกง เป็นต้น ก็น่าจะจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ เราต้องส่งเสริมให้ชุมชนนำองค์ความรู้จากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไปใช้ในการสร้างสรรค์ พัฒนา และต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีคุณภาพ ตามความเหมาะสมของเอกลักษณ์ในแต่ละชุมชนต่อไป เชื่อว่า จะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมด้วย”นางโสมสุดา กล่าว
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการที่ กรมศิลปากร จัดงาน Creative Fine Arts 2012 : เศรษฐกิจ สร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลงานที่นำมรดกทางวัฒนธรรมมาสอดแทรกในชิ้นงาน อาทิ ผ้าพันคอลวดลายบ้านเชียง เนกไทลายอักษรบนศิลาจารึก ประติมากรรมต่างที่สามารถนำไปตกแต่งบ้านเรือนได้ ซึ่งผู้เข้าชมผลงานส่วนใหญ่สนใจขอซื้อ แต่ชิ้นงานที่นำมาจัดแสดงยังเป็นต้นแบบอยู่ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตกรมศิลปากร จะประสานให้สำนักงานศิลปากรพื้นที่แต่ละแห่ง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด ประสานไปยังผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมนำต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดเป็นชิ้นงานต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ด้วย
“ตนมอบโจทย์ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร ไปคิดว่า ในพื้นที่ที่รับผิดชอบมีอะไรที่โดดเด่นบ้าง มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้ความสนใจในเรื่องใด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนมรดกโลก อย่าง อยุธยา สุโขทัย และสถานที่สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ ที่บางคนไม่รู้จัก ควรนำมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันน่าจะจำหน่ายได้มากกว่าออกแบบเป็นของที่ระลึก หรือเป็นสินค้าที่ประชาชนสามารถซื้อไปตั้งโชว์ได้ เนื่องจากพบว่า ทั่วโลกกำลังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ สินค้าตกแต่งบ้าน ตั้งโชว์ ค่อนข้างขายยากกว่าสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หากเราทำให้มีลวดลายแปลกไม่เหมือนท้องตลาด เช่น โมเดลจำลอง นำลวดลายโบราณสถานไปใส่ในเสื้อ กางเกง เป็นต้น ก็น่าจะจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ เราต้องส่งเสริมให้ชุมชนนำองค์ความรู้จากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไปใช้ในการสร้างสรรค์ พัฒนา และต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีคุณภาพ ตามความเหมาะสมของเอกลักษณ์ในแต่ละชุมชนต่อไป เชื่อว่า จะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมด้วย”นางโสมสุดา กล่าว