สธ.ร่วมกับ กทม.มอบนโยบายการดำเนินงานอาหารปลอดภัยส่งเสริม ครัวไทยสู่ครัวโลก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมในตลาดทุ่งครุ ตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อของกรมอนามัยระดับดีมาก และรักษามาตรฐานมาอย่างยาวนานถึง 9 ปี
วันนี้ (3 ก.ย.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด ณ ตลาดใหม่ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ว่า จากนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะยกระดับมาตรฐานอาหารไทยให้มีความปลอดภัย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้บริโภคภายในประเทศที่นิยมใช้บริการตลาด ตามแบบวิถีไทย
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงตั้งแต่ปี 2542 และปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ.2551 เพื่อใช้ในการควบคุมกำกับการดำเนินกิจการตลาดสดให้ถูกสุขลักษณะ ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค พร้อมสนับสนุนการส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลกรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า การพัฒนาตลาดสดให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ ประกอบด้วยการดำเนินงานหลัก 3 ด้าน คือ ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น โครงสร้างตลาดมีความมั่นคงแข็งแรง มีการรักษาความสะอาด การระบายอากาศ การรวบรวมขยะ การกำจัดน้ำเสีย การวางสินค้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และผู้ขายของมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ถูกสุขอนามัย ด้านความปลอดภัยของอาหาร แผงขายอาหารในตลาดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เช่น ตรวจไม่พบสารฟอร์มาลิน สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง และตรวจไม่พบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบกิจการตลาดต้องจัดให้มีกิจกรรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น จัดบอร์ดให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในเรื่องที่เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดให้มีจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และจัดให้มีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้บริการผู้บริโภค
“ตลาดใหม่ทุ่งครุ ถือเป็นตลาดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินตลาดสด น่าซื้อของกรมอนามัยในระดับดีมาก อีกทั้งยังรักษามาตรฐานมาตลอด 9 ปี นับเป็นแบบอย่างที่ดีที่สามารถเผยแพร่และเป็นต้นแบบให้แก่ตลาดอื่น ๆ นำไปปฏิบัติตาม โดยเฉพาะการดำเนินการควบคุมอาหารที่จำหน่ายให้สะอาดปลอดภัย มีการตรวจสอบคุณภาพอย่าง ต่อเนื่องในส่วนของอาหารสด ด้วยการจัดหาวัตถุดิบหรืออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และมีมาตรการในการแก้ไข หากพบสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ด้วยการแจ้งกลับไปยังผู้ค้าส่งหรือทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าไปแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” นพ.สุรวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ การดำเนินงานตลาดสด น่าซื้อ ในปี 2554 พบว่า ตลาดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร) ทั่วประเทศมีจำนวน 1,533 แห่ง ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,302 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.93 แบ่งเป็นระดับดีมาก จำนวน 228 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.87 ระดับดี จำนวน 1,074 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 70.06 กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องเร่งพัฒนาตลาดสดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจด้านอาหารปลอดภัย ภายใต้สโลแกน “ผู้บริโภคมั่นใจ อาหารปลอดภัย ในตลาดสด น่าซื้อเพื่อส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก”
วันนี้ (3 ก.ย.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในตลาดสด ณ ตลาดใหม่ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ว่า จากนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะยกระดับมาตรฐานอาหารไทยให้มีความปลอดภัย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้บริโภคภายในประเทศที่นิยมใช้บริการตลาด ตามแบบวิถีไทย
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงตั้งแต่ปี 2542 และปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ.2551 เพื่อใช้ในการควบคุมกำกับการดำเนินกิจการตลาดสดให้ถูกสุขลักษณะ ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค พร้อมสนับสนุนการส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลกรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า การพัฒนาตลาดสดให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ ประกอบด้วยการดำเนินงานหลัก 3 ด้าน คือ ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น โครงสร้างตลาดมีความมั่นคงแข็งแรง มีการรักษาความสะอาด การระบายอากาศ การรวบรวมขยะ การกำจัดน้ำเสีย การวางสินค้าให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และผู้ขายของมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ถูกสุขอนามัย ด้านความปลอดภัยของอาหาร แผงขายอาหารในตลาดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เช่น ตรวจไม่พบสารฟอร์มาลิน สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง และตรวจไม่พบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบกิจการตลาดต้องจัดให้มีกิจกรรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น จัดบอร์ดให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในเรื่องที่เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดให้มีจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และจัดให้มีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้บริการผู้บริโภค
“ตลาดใหม่ทุ่งครุ ถือเป็นตลาดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินตลาดสด น่าซื้อของกรมอนามัยในระดับดีมาก อีกทั้งยังรักษามาตรฐานมาตลอด 9 ปี นับเป็นแบบอย่างที่ดีที่สามารถเผยแพร่และเป็นต้นแบบให้แก่ตลาดอื่น ๆ นำไปปฏิบัติตาม โดยเฉพาะการดำเนินการควบคุมอาหารที่จำหน่ายให้สะอาดปลอดภัย มีการตรวจสอบคุณภาพอย่าง ต่อเนื่องในส่วนของอาหารสด ด้วยการจัดหาวัตถุดิบหรืออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และมีมาตรการในการแก้ไข หากพบสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ด้วยการแจ้งกลับไปยังผู้ค้าส่งหรือทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าไปแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” นพ.สุรวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ การดำเนินงานตลาดสด น่าซื้อ ในปี 2554 พบว่า ตลาดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร) ทั่วประเทศมีจำนวน 1,533 แห่ง ผ่านเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ จำนวน 1,302 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.93 แบ่งเป็นระดับดีมาก จำนวน 228 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.87 ระดับดี จำนวน 1,074 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 70.06 กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องเร่งพัฒนาตลาดสดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจด้านอาหารปลอดภัย ภายใต้สโลแกน “ผู้บริโภคมั่นใจ อาหารปลอดภัย ในตลาดสด น่าซื้อเพื่อส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก”