สธ.ยันไม่มีการส่งตัวผู้ติดเชื้อเอชไอวีจากรัฐนากาแลนด์มารักษาตัวในไทย ตามที่สื่อนอกประโคมข่าว แต่รับมี จนท.จากนากาแลนด์มาศึกษาดูงานเพื่อนำไปพัฒนาระบบการป้องกันและรักษาโรคเอดส์
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์ชาวต่างชาติที่ติดเชื้อเอชไอวีและเดินทางเข้ามารักษาตัวในประเทศไทยนั้น หากเป็นแรงงานข้ามชาติที่มีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีประมาณ 3,000 คน ส่วนแรงงานเถื่อนยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด ขณะที่ชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาตัวในประเทศไทยโดยเฉพาะ ส่วนมากจะเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งไม่อยู่ในระบบกองทุนต่างๆ ของประเทศไทย ทำให้กรมควบคุมโรคไม่มีข้อมูลในเรื่องดังกล่าว
ส่วนกรณีที่สื่อต่างประเทศรายงานข่าวว่า นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีความยินดีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้มีการนำผู้ติดเชื้อเอชไอวีจากรัฐนากาแลนด์ ประเทศอินเดีย เข้ามาในประเทศไทย เพื่อทำการรักษาด้วยนั้น นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า อาจเป็นเรื่องของการเข้าใจผิด เพราะรัฐนากาแลนด์ก็ได้รับงบประมาณจากกองทุนโลกในการป้องกันและรักษาโรคเอดส์เหมือนกับประเทศไทย แต่ยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสังคมหรือกลุ่มเอ็นจีโอจากรัฐนากาแลนด์เดินทางเข้ามาศึกษาดูงานการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ในประเทศไทย เนื่องจากไทยมีระบบในการดูแลป้องกันรักษาโรคเอดส์ที่ดีกว่า
“เจ้าหน้าที่จากไทยและรัฐนากาแลนด์มีการเดินทางเพื่อแลกเปลี่ยนดูงานในเรื่องการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ แต่ขอยืนยันว่าไม่มีการตกลงในการรับส่งตัวผู้ติดเชื้อเอชไอวีจากรัฐนากาแลนด์มารักษาตัวในไทยแน่นอน มีเพียงการมาดูงานของรัฐนากาแลนด์เพื่อนำไปพัฒนาระบบเท่านั้น” รองอธิบดี คร.กล่าว
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์ชาวต่างชาติที่ติดเชื้อเอชไอวีและเดินทางเข้ามารักษาตัวในประเทศไทยนั้น หากเป็นแรงงานข้ามชาติที่มีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีประมาณ 3,000 คน ส่วนแรงงานเถื่อนยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด ขณะที่ชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาตัวในประเทศไทยโดยเฉพาะ ส่วนมากจะเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งไม่อยู่ในระบบกองทุนต่างๆ ของประเทศไทย ทำให้กรมควบคุมโรคไม่มีข้อมูลในเรื่องดังกล่าว
ส่วนกรณีที่สื่อต่างประเทศรายงานข่าวว่า นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีความยินดีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้มีการนำผู้ติดเชื้อเอชไอวีจากรัฐนากาแลนด์ ประเทศอินเดีย เข้ามาในประเทศไทย เพื่อทำการรักษาด้วยนั้น นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า อาจเป็นเรื่องของการเข้าใจผิด เพราะรัฐนากาแลนด์ก็ได้รับงบประมาณจากกองทุนโลกในการป้องกันและรักษาโรคเอดส์เหมือนกับประเทศไทย แต่ยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสังคมหรือกลุ่มเอ็นจีโอจากรัฐนากาแลนด์เดินทางเข้ามาศึกษาดูงานการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ในประเทศไทย เนื่องจากไทยมีระบบในการดูแลป้องกันรักษาโรคเอดส์ที่ดีกว่า
“เจ้าหน้าที่จากไทยและรัฐนากาแลนด์มีการเดินทางเพื่อแลกเปลี่ยนดูงานในเรื่องการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ แต่ขอยืนยันว่าไม่มีการตกลงในการรับส่งตัวผู้ติดเชื้อเอชไอวีจากรัฐนากาแลนด์มารักษาตัวในไทยแน่นอน มีเพียงการมาดูงานของรัฐนากาแลนด์เพื่อนำไปพัฒนาระบบเท่านั้น” รองอธิบดี คร.กล่าว