กทม.ยืนยันร่างผังเมืองใหม่ไม่กระทบอาคาร สิ่งปลูกสร้างอนุรักษ์ย่านเยาวราช-เจริญกรุง ชี้ เพิ่มพื้นที่พาณิชย์แค่บางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด
จากกรณีสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกมาเรียกร้องให้ประชาชนรวมตัวกัน เคลื่อนไหว หลังจากที่ทางสมาคมได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อคัดค้านการประกาศใช้กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ เนื่องจากเห็นว่า การกำหนดแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ กทม.จำแนกประเภทในร่างผังเมืองใหม่นี้ อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน และอาจทำลายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมที่สมควรแก่การอนุรักษ์ด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งพระนคร ได้แก่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งมีย่านชุมชนประวัติศาสตร์สำคัญ อาทิ ถนนเจริญกรุง เยาวราช อนุวงศ์ ทรงวาด เวิ้งนาครเขษม และ ราชวงศ์ ที่ปัจจุบันกำลังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน และในผังเมืองใหม่ กทม.ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่เขตพาณิชยกรรม ซึ่งสามารถก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้นด้วยนั้น
นายจุมพล สำเภาพล รองปลัด กทม.กล่าวว่า ภายหลังจากที่สำนักผังเมือง (สผม.) กทม.ได้ทำการประกาศเชิญชวนผู้มีส่วนได้เสียไปตรวจดูแผนที่ แผนผัง ข้อกำหนด และรายการประกอบผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.2555 เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียใช้สิทธิ์ยื่นคำร้องขอแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในร่างผังเมืองรวมเป็นเวลา 90 วัน และล่าสุด ครบกำหนดรับคำร้องเมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้เจ้าของร่างอยู่ระหว่างขั้นตอนการรวบรวมคำร้องขอคัดค้านพร้อมจัดทำ รายงานสรุปผลการวิเคราะห์ปัญหาจากการร่างผังเมืองใหม่เสนอให้ ผู้ว่าฯ กทม.พิจารณาสั่งการแก้ไขรายละเอียด ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อยกร่างประกาศให้มีผลใช้บังคับต่อไป
นายจุมพล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม กทม.ยืนยันว่า การกำหนดให้พื้นที่ย่านเจริญกรุง-เยาวราช เป็นพื้นที่การพาณิชย์นั้น เป็นการกำหนดให้มีเพิ่มขึ้นบางส่วนหรือบางจุดไม่ใช่พื้นที่ทั้งหมด โดยมีเหตุผลหรือวัตถุประสงค์หลักเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนของประชากรและการขยายตัวของธุรกิจการค้า-เศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งนับวันยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมนั้นไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มบริเวณพื้นที่สำหรับให้บริการและดูแลประชาชนตลอดจนเพิ่ม ระบบสาธารณูปโภคแก่ผู้ที่เข้ามาในพื้นที่อย่างพอเพียงและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กับพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบ ขณะเดียวกัน ก็ยึดหลักการอนุรักษ์-ไม่ทำลายศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ สำคัญควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของขั้นตอน ณ ปัจจุบันเป็นเพียงขั้นตอนที่ 8 จากทั้งหมด 18 ขั้นตอนเท่านั้น ก่อนที่กทม.จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการผังเมืองชุดใหญ่ที่มีปลัดกระทรวง มหาดไทยเป็นประธานนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอนุมัติ เรียกได้ว่า ยังอีกไกล การชี้ขาดอีกมาก
“สิ่งที่คนกังวลมากที่สุดคงเป็นปัญหาการจราจร แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาเรื่องนี้ค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้วจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรในพื้นที่ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การจราจร และการขยายระบบขนส่งมวลชนให้ทั่วถึง ไม่เว้นแม้แต่การเพิ่มพื้นที่พาณิชย์ในบางมุมเพื่อเป็นสถานที่เลี้ยงปาก เลี้ยงท้องของบรรดาผู้ที่อาศัยหรือทำมาหากินในพื้นที่เพิ่มเติมในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้น กทม.ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นโครงการใดๆ ก็ตาม ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน การก่อสร้างถนน หรือสะพานข้ามแม่น้ำ ทั้งหมดจะไม่กระทบอาคารและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่อนุรักษ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรอย่างแน่นอน” รองปลัด กทม.กล่าว
จากกรณีสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกมาเรียกร้องให้ประชาชนรวมตัวกัน เคลื่อนไหว หลังจากที่ทางสมาคมได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อคัดค้านการประกาศใช้กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ เนื่องจากเห็นว่า การกำหนดแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ กทม.จำแนกประเภทในร่างผังเมืองใหม่นี้ อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน และอาจทำลายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมที่สมควรแก่การอนุรักษ์ด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งพระนคร ได้แก่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งมีย่านชุมชนประวัติศาสตร์สำคัญ อาทิ ถนนเจริญกรุง เยาวราช อนุวงศ์ ทรงวาด เวิ้งนาครเขษม และ ราชวงศ์ ที่ปัจจุบันกำลังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน และในผังเมืองใหม่ กทม.ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่เขตพาณิชยกรรม ซึ่งสามารถก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้นด้วยนั้น
นายจุมพล สำเภาพล รองปลัด กทม.กล่าวว่า ภายหลังจากที่สำนักผังเมือง (สผม.) กทม.ได้ทำการประกาศเชิญชวนผู้มีส่วนได้เสียไปตรวจดูแผนที่ แผนผัง ข้อกำหนด และรายการประกอบผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.2555 เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียใช้สิทธิ์ยื่นคำร้องขอแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในร่างผังเมืองรวมเป็นเวลา 90 วัน และล่าสุด ครบกำหนดรับคำร้องเมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้เจ้าของร่างอยู่ระหว่างขั้นตอนการรวบรวมคำร้องขอคัดค้านพร้อมจัดทำ รายงานสรุปผลการวิเคราะห์ปัญหาจากการร่างผังเมืองใหม่เสนอให้ ผู้ว่าฯ กทม.พิจารณาสั่งการแก้ไขรายละเอียด ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อยกร่างประกาศให้มีผลใช้บังคับต่อไป
นายจุมพล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม กทม.ยืนยันว่า การกำหนดให้พื้นที่ย่านเจริญกรุง-เยาวราช เป็นพื้นที่การพาณิชย์นั้น เป็นการกำหนดให้มีเพิ่มขึ้นบางส่วนหรือบางจุดไม่ใช่พื้นที่ทั้งหมด โดยมีเหตุผลหรือวัตถุประสงค์หลักเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนของประชากรและการขยายตัวของธุรกิจการค้า-เศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งนับวันยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมนั้นไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มบริเวณพื้นที่สำหรับให้บริการและดูแลประชาชนตลอดจนเพิ่ม ระบบสาธารณูปโภคแก่ผู้ที่เข้ามาในพื้นที่อย่างพอเพียงและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กับพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบ ขณะเดียวกัน ก็ยึดหลักการอนุรักษ์-ไม่ทำลายศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ สำคัญควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของขั้นตอน ณ ปัจจุบันเป็นเพียงขั้นตอนที่ 8 จากทั้งหมด 18 ขั้นตอนเท่านั้น ก่อนที่กทม.จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการผังเมืองชุดใหญ่ที่มีปลัดกระทรวง มหาดไทยเป็นประธานนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอนุมัติ เรียกได้ว่า ยังอีกไกล การชี้ขาดอีกมาก
“สิ่งที่คนกังวลมากที่สุดคงเป็นปัญหาการจราจร แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาเรื่องนี้ค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้วจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรในพื้นที่ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การจราจร และการขยายระบบขนส่งมวลชนให้ทั่วถึง ไม่เว้นแม้แต่การเพิ่มพื้นที่พาณิชย์ในบางมุมเพื่อเป็นสถานที่เลี้ยงปาก เลี้ยงท้องของบรรดาผู้ที่อาศัยหรือทำมาหากินในพื้นที่เพิ่มเติมในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้น กทม.ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นโครงการใดๆ ก็ตาม ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน การก่อสร้างถนน หรือสะพานข้ามแม่น้ำ ทั้งหมดจะไม่กระทบอาคารและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่อนุรักษ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรอย่างแน่นอน” รองปลัด กทม.กล่าว