คจ.สช.ห่วงเด็กติดเกม-อินเทอร์เน็ต จนเสียสุขภาวะ ขณะที่พระสงฆ์สุขภาพแย่ หลายโรครุมเร้า เร่งบรรจุเป็นนโยบายสาธารณะเข้าที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับอีก 7 ระเบียบวาระ หวังสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชน
วันนี้ (29 ส.ค.) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พ.ศ.2555 กล่าวระหว่างการแถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 “ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18-25 ธ.ค.2555 ที่ศูนย์นิทรรศการประชุมไบเทค บางนา ว่า การเตรียมความพร้อมในการจัดประชุมมีความคืบหน้าไปมาก โดยเฉพาะประเด็นนโยบายสาธารณะซึ่งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพ (คจ.สช.) ได้กลั่นกรองคัดเลือกจาก 55 ข้อเสนอของตัวแทนองค์กรและภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ จำนวน 52 องค์กร ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 9 ระเบียบวาระ ได้แก่ 1.การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน 2.การปฏิรูประบบการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ 3.การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง กรณีเด็กไทยกับไอที 4.พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ 5.ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีทางการเกษตร 6.การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) 7.การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล 8.การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และ 9.การรับมือผลกระทบด้านสุขภาพต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อนำเสนอข้อมูลปัญหาและแนวทางการแก้ไขอย่างเป็นระบบ
นางศิรินา กล่าวอีกว่า การคัดเลือกนโยบายสาธารณะทั้ง 9 ประเด็นเพื่อเสนอที่ประชุมจะพิจารณาจากความสำคัญของประเด็นและเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการในปีนี้ โดยสิ่งที่ คจ.สช.ค่อนข้างเป็นห่วงมีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1.กลุ่มเด็กและเยาวชนไทยติดเกมและไอที จนสร้างผลเสียต่อสุขภาวะ เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่โลกใหม่ที่มีเทคโนโลยีที่เร็ว เด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติจึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องดูแลและเป็นเรื่องด่วนที่ต้องป้องกันแก้ไข และ 2.กลุ่มพระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชาชน กำลังเผชิญโรคหลายอย่าง เนื่องมาจากพุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรแบบผิดๆ จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดีและเป็นที่พึ่งของประชาชนต่อไป
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ประธานคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น “การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง : กรณีเด็กกับไอที” กล่าวว่า สภาวะเด็กไทยติดเกมและอินเทอร์เน็ตกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยจนถึงขั้นวิกฤต มีนักเรียนติดเกมรุนแรงร้อยละ 10-15 ใช้เวลาหมกมุ่นเล่นเกมและอินเทอร์เน็ตหลายชั่วโมงต่อวัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการ ซึ่งเร็วๆ นี้ จะมีการกำหนดให้ภาวะติดเกมและอินเทอร์เน็ต ถือเป็นความเจ็บป่วย โดยระบุไว้ใน "หลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตในทางการแพทย์ รุ่นที่ 5" ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2556 โดยทางการแพทย์สภาพเด็กติดไอทีมี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1.การใช้อินเทอร์เน็ตหลายชั่วโมงต่อครั้ง ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการทำงานอื่น 2.มีความต้องการเล่นเกมและใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น 3.ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้หยุดเล่นได้ และมีพฤติกรรมทำร้ายผู้ที่ขัดขวางการเล่น และ 4.มีผลกระทบด้านสุขภาพ แยกตัวออกจากครอบครัวและสังคม
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า จากการสำรวจเด็กและเยาวชนอายุ 7-25 ปี ของสำนักสถิติแห่งชาติ ปี 2553 พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตสูงคือช่วงอายุ 15-25 ปี ในจำนวนนี้มีการใช้อินเทอร์เน็ตสูง 3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 40 มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 6 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 25 และเล่นเกมออนไลน์เฉลี่ย 4.5 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้ธุรกิจร้านเกมออนไลน์เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19 ต่อปี มูลค่าตลาด 3,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในระยะ 5 ปี ถึง 2,160 ล้านบาท ขณะที่การรายงานของบริษัททีโอที ปี 2553 มีทะเบียนผู้เล่นเกมผ่านระบบออนไลน์เพิ่มจาก 1,651,211 เลขหมาย เป็น 4,502,516 เลขหมาย โดยมีระบบสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เร็วและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เช่น Wifi/3G และร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกมออนไลน์ประสบความสำเร็จ
“เด็กที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือไอทีในรูปแบบต่างๆ นานหลายชั่วโมงต่อวัน มีผลต่อร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการ อย่างในสหรัฐอเมริกา ผลสำรวจของสมาคมกุมารแพทย์ พบว่า เด็กที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ย 7 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้เกิดปัญหาในการเรียน สมาธิสั้น การกิน การนอน และโรคอ้วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เด็กอเมริกันนิยมมากคือ อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยเนื้อหาในสื่อบ่งบอกความรุนแรง การร่วมเพศ และการใช้ยาเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ก่อปัญหาทางพฤติกรรมทั่งในระยะสั้นและยาวได้” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
ด้าน นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา หัวหน้ากลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีพระสงฆ์กว่า 300,000 รูป โดยพบว่า ร้อยละ 50 มีปัญหาสุขภาพป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และภาวะไขมันในเลือดสูง มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 45 โดยมีสาเหตุมาจาก 1.อาหาร โดยพบว่า พุทธศาสนิกชนนิยมใส่บาตรด้วยอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2.ขาดการออกกำลังกาย โดยพบว่า พระสงฆ์ 1 ใน 4 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ออกกำลังกายน้อยหรือไม่ออกกำลังกายเลย และ 3.ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น บุหรี่ โดยพบว่า พระสงฆ์สูบบุหรี่ ร้อยละ 40 ขณะที่ประชาชนนิยมถวายบุหรี่ ร้อยละ 12 และพระสงฆ์ซื้อบุหรี่เองร้อยละ 90 นอกจากนี้ ยังพบว่าพระสงฆ์นิยมฉันกาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลังเกินกว่า 2 ขวดต่อวัน ซึ่งส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลพระสงฆ์ที่เข้ารับการตรวจรักษาโรงพยาบาลสงฆ์ปี 2549 เป็นจำนวน 56.4 ล้านบาท อีกทั้งพระสงฆ์มีหลักประกันสุขภาพ แต่มีปัญหาในการเข้าถึงบริการ
วันนี้ (29 ส.ค.) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พ.ศ.2555 กล่าวระหว่างการแถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 “ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18-25 ธ.ค.2555 ที่ศูนย์นิทรรศการประชุมไบเทค บางนา ว่า การเตรียมความพร้อมในการจัดประชุมมีความคืบหน้าไปมาก โดยเฉพาะประเด็นนโยบายสาธารณะซึ่งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพ (คจ.สช.) ได้กลั่นกรองคัดเลือกจาก 55 ข้อเสนอของตัวแทนองค์กรและภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ จำนวน 52 องค์กร ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 9 ระเบียบวาระ ได้แก่ 1.การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน 2.การปฏิรูประบบการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ 3.การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง กรณีเด็กไทยกับไอที 4.พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ 5.ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีทางการเกษตร 6.การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) 7.การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล 8.การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และ 9.การรับมือผลกระทบด้านสุขภาพต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อนำเสนอข้อมูลปัญหาและแนวทางการแก้ไขอย่างเป็นระบบ
นางศิรินา กล่าวอีกว่า การคัดเลือกนโยบายสาธารณะทั้ง 9 ประเด็นเพื่อเสนอที่ประชุมจะพิจารณาจากความสำคัญของประเด็นและเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการในปีนี้ โดยสิ่งที่ คจ.สช.ค่อนข้างเป็นห่วงมีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1.กลุ่มเด็กและเยาวชนไทยติดเกมและไอที จนสร้างผลเสียต่อสุขภาวะ เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่โลกใหม่ที่มีเทคโนโลยีที่เร็ว เด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติจึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องดูแลและเป็นเรื่องด่วนที่ต้องป้องกันแก้ไข และ 2.กลุ่มพระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชาชน กำลังเผชิญโรคหลายอย่าง เนื่องมาจากพุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรแบบผิดๆ จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดีและเป็นที่พึ่งของประชาชนต่อไป
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ประธานคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น “การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง : กรณีเด็กกับไอที” กล่าวว่า สภาวะเด็กไทยติดเกมและอินเทอร์เน็ตกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยจนถึงขั้นวิกฤต มีนักเรียนติดเกมรุนแรงร้อยละ 10-15 ใช้เวลาหมกมุ่นเล่นเกมและอินเทอร์เน็ตหลายชั่วโมงต่อวัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการ ซึ่งเร็วๆ นี้ จะมีการกำหนดให้ภาวะติดเกมและอินเทอร์เน็ต ถือเป็นความเจ็บป่วย โดยระบุไว้ใน "หลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตในทางการแพทย์ รุ่นที่ 5" ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2556 โดยทางการแพทย์สภาพเด็กติดไอทีมี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1.การใช้อินเทอร์เน็ตหลายชั่วโมงต่อครั้ง ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการทำงานอื่น 2.มีความต้องการเล่นเกมและใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น 3.ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้หยุดเล่นได้ และมีพฤติกรรมทำร้ายผู้ที่ขัดขวางการเล่น และ 4.มีผลกระทบด้านสุขภาพ แยกตัวออกจากครอบครัวและสังคม
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า จากการสำรวจเด็กและเยาวชนอายุ 7-25 ปี ของสำนักสถิติแห่งชาติ ปี 2553 พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตสูงคือช่วงอายุ 15-25 ปี ในจำนวนนี้มีการใช้อินเทอร์เน็ตสูง 3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 40 มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 6 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 25 และเล่นเกมออนไลน์เฉลี่ย 4.5 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้ธุรกิจร้านเกมออนไลน์เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19 ต่อปี มูลค่าตลาด 3,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในระยะ 5 ปี ถึง 2,160 ล้านบาท ขณะที่การรายงานของบริษัททีโอที ปี 2553 มีทะเบียนผู้เล่นเกมผ่านระบบออนไลน์เพิ่มจาก 1,651,211 เลขหมาย เป็น 4,502,516 เลขหมาย โดยมีระบบสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เร็วและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เช่น Wifi/3G และร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกมออนไลน์ประสบความสำเร็จ
“เด็กที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือไอทีในรูปแบบต่างๆ นานหลายชั่วโมงต่อวัน มีผลต่อร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการ อย่างในสหรัฐอเมริกา ผลสำรวจของสมาคมกุมารแพทย์ พบว่า เด็กที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ย 7 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้เกิดปัญหาในการเรียน สมาธิสั้น การกิน การนอน และโรคอ้วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เด็กอเมริกันนิยมมากคือ อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยเนื้อหาในสื่อบ่งบอกความรุนแรง การร่วมเพศ และการใช้ยาเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ก่อปัญหาทางพฤติกรรมทั่งในระยะสั้นและยาวได้” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
ด้าน นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา หัวหน้ากลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีพระสงฆ์กว่า 300,000 รูป โดยพบว่า ร้อยละ 50 มีปัญหาสุขภาพป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และภาวะไขมันในเลือดสูง มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 45 โดยมีสาเหตุมาจาก 1.อาหาร โดยพบว่า พุทธศาสนิกชนนิยมใส่บาตรด้วยอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2.ขาดการออกกำลังกาย โดยพบว่า พระสงฆ์ 1 ใน 4 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ออกกำลังกายน้อยหรือไม่ออกกำลังกายเลย และ 3.ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น บุหรี่ โดยพบว่า พระสงฆ์สูบบุหรี่ ร้อยละ 40 ขณะที่ประชาชนนิยมถวายบุหรี่ ร้อยละ 12 และพระสงฆ์ซื้อบุหรี่เองร้อยละ 90 นอกจากนี้ ยังพบว่าพระสงฆ์นิยมฉันกาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลังเกินกว่า 2 ขวดต่อวัน ซึ่งส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลพระสงฆ์ที่เข้ารับการตรวจรักษาโรงพยาบาลสงฆ์ปี 2549 เป็นจำนวน 56.4 ล้านบาท อีกทั้งพระสงฆ์มีหลักประกันสุขภาพ แต่มีปัญหาในการเข้าถึงบริการ