xs
xsm
sm
md
lg

ไฟเขียวแผนยุทธศาสตร์ฯ โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ 56-59

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ครม.อนุมัติแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ.2556 - 2559

นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสร็จสิ้น ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไปโดยแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว/ยุทธศาสตร์ การจัดการระบบการเลี้ยง และสุขภาพสัตว์ และสัตว์ป่า ให้ปลอดโรค/ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบจัดการความรู้ และส่งเสริมการวิจัยพัฒนา/ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการเชิงบูรณาการและเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และยุทธศาสตร์การสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ความเสี่ยงของโรคติดต่ออุบัติใหม่

ซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนและบริหารจัดการแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐร่วมกับภาคส่วนเพื่อความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพนั้น จะให้คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติเป็นกลไกระดับชาติในการขับเคลื่อน ใช้กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนในภาครัฐ โดยบูรณาการวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และมาตรการตามแผนยุทธศาสตร์เข้ากับภารกิจตามอำนาจ หน้าที่ และกฎระเบียบของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัดใช้กระบวนการขับเคลื่อนกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 ยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและกรอบความร่วมมือในปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกลไกเสริมการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศและพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ รัฐบาลโดยคณะกรรมการอำนวยการฯ และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมบทบาทและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาสัมคมทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการการดำเนินงานตามภารกิจของตนให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ใช้การจัดทำแผนประคองกิจการ (Bussiness Continuity Plan : BCP) เป็นกลยุทธ์เร่งรัดการเรียนรู้และพัฒนาบทบาทของหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่และภัยพิบัติต่าง ๆและใช้ระบบการติดตามและประเมินผลปฏิบัติราชการ เป็นกลไก กำกับ ติดตาม และประเมินผลการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ในภาครัฐ ส่วนการติดตามและประเมินผลในภาคส่วนอื่นๆ สามารถทำได้โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
กำลังโหลดความคิดเห็น