ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เลือกภูเก็ต เป็นจังหวัดนำร่อง นำระบบ ICS มาปรับใช้ในพื้นที่ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียน และสหรัฐอเมริกาด้านการจัดการภัยพิบัติ
วันนี้(14 ส.ค.)ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการบัญชาการเหตุการณ์ ในจังหวัดนำร่อง (ICS Pilot Province) และหลักสูตรการบัญชาการเหตุการณ์สำหรับผู้บริหาร (ICS for Executive) กับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานด้านสาธารณสุข รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการสาธารณภัย ในจังหวัดภูเก็ต กว่า 40 หน่วยงาน ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจัดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการสาธารณภัย และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการของระบบบัญชาการเหตุการณ์ ที่เป็นสากล ซึ่งมีการพัฒนามากว่า 40 ปี โดยประเทศสหรัฐอเมริกา
นายอนุสรณ์ แก้วกังวาล รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมมือกันในการพัฒนาการเผชิญสาธารณภัย มีความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพและร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยแบ่งเป็นกำลังพลและเครื่องมืออุปกรณ์ ร่วมกันโดยใช้ระบบการจัดการเหตุการณ์ที่เป็นสากล คือระบบการบัญชาการเหตุการณ์ หรือที่รู้จักในชื่อ Incident Management System: ICS ซึ่งมีการพัฒนามากว่า 40 ปี โดยประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับนำไปปรับใช้ในประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง
นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับจังหวัดภูเก็ตนั้น ถือได้ว่าเป็นจังหวัดนำร่อง (Pilot Province)จังหวัดแรกในการนำระบบ ICS มาปรับใช้ในพื้นที่ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหรัฐอเมริกาด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN-US Cooperation on Disaster Management: ACDM) เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมและมีความมุ่งมั่นในการดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยโครงการความร่วมมือฯ ดังกล่าว นั้น มีประเทศนำร่อง 3 ประเทศ คือ บรูไน ดารุสซาลาม ฟิลิปปินส์ และไทย มีเป้าหมายหลักคือการพัฒนาระบบการบัญชาการ เหตุการณ์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ที่เป็นมาตรฐานในประเทศอาเซียนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อเกิดภัยพิบัติ
ในส่วนของประเทศไทยนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะผู้ประสานงานหลักในคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติได้เสนอให้ประเทศไทยเข้าร่วม โครงการตั้งแต่ปี 2553 โดยขณะนี้อยู่ในระยะ 2 ของโครงการ ส่วนจังหวัดที่จะดำเนินการต่อไป คงจะเป็นจังหวัดหลักๆ ชลบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ เป็นต้น
ด้านนายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ปัญหาสาธารณภัย และภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั้งที่ผ่านมาและในปัจจุบัน ของจังหวัดภูเก็ต มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุของการเสียชีวิตและการสูญเสียส่วนหนึ่งเกิดจากข้อด้อยของการจัดการในขณะเกิดเหตุ โดยพบว่าการจัดการในขณะเกิดเหตุ ยังขาดการประสานงาน ขาดเอกภาพในการบริหารจัดการเหตุการณ์ ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน นักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมถึงไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ให้อยู่ในวงจำกัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังขาดระบบที่เป็นมาตรฐานสากล
ดังนั้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการจัดการสาธารณภัยในจังหวัดภูเก็ต ที่มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานสากล ทางจังหวัดจึงได้ผลักดัน และเข้าร่วมโครงการการบัญชาการเหตุการณ์ในจังหวัดนำร่อง ในการนำระบบ ICS มาปรับใช้ในการจัดการสาธารณภัยในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเชื่อว่าการนำระบบ ICS มาปรับใช้ จะทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจเหมือนกัน เวลาเกิดเหตุจะไม่สับสน ไปในทิศทางเดียวกัน
วันนี้(14 ส.ค.)ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการบัญชาการเหตุการณ์ ในจังหวัดนำร่อง (ICS Pilot Province) และหลักสูตรการบัญชาการเหตุการณ์สำหรับผู้บริหาร (ICS for Executive) กับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานด้านสาธารณสุข รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการสาธารณภัย ในจังหวัดภูเก็ต กว่า 40 หน่วยงาน ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจัดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการสาธารณภัย และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการของระบบบัญชาการเหตุการณ์ ที่เป็นสากล ซึ่งมีการพัฒนามากว่า 40 ปี โดยประเทศสหรัฐอเมริกา
นายอนุสรณ์ แก้วกังวาล รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมมือกันในการพัฒนาการเผชิญสาธารณภัย มีความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพและร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยแบ่งเป็นกำลังพลและเครื่องมืออุปกรณ์ ร่วมกันโดยใช้ระบบการจัดการเหตุการณ์ที่เป็นสากล คือระบบการบัญชาการเหตุการณ์ หรือที่รู้จักในชื่อ Incident Management System: ICS ซึ่งมีการพัฒนามากว่า 40 ปี โดยประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับนำไปปรับใช้ในประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง
นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับจังหวัดภูเก็ตนั้น ถือได้ว่าเป็นจังหวัดนำร่อง (Pilot Province)จังหวัดแรกในการนำระบบ ICS มาปรับใช้ในพื้นที่ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหรัฐอเมริกาด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN-US Cooperation on Disaster Management: ACDM) เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมและมีความมุ่งมั่นในการดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยโครงการความร่วมมือฯ ดังกล่าว นั้น มีประเทศนำร่อง 3 ประเทศ คือ บรูไน ดารุสซาลาม ฟิลิปปินส์ และไทย มีเป้าหมายหลักคือการพัฒนาระบบการบัญชาการ เหตุการณ์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ที่เป็นมาตรฐานในประเทศอาเซียนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อเกิดภัยพิบัติ
ในส่วนของประเทศไทยนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะผู้ประสานงานหลักในคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติได้เสนอให้ประเทศไทยเข้าร่วม โครงการตั้งแต่ปี 2553 โดยขณะนี้อยู่ในระยะ 2 ของโครงการ ส่วนจังหวัดที่จะดำเนินการต่อไป คงจะเป็นจังหวัดหลักๆ ชลบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ เป็นต้น
ด้านนายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ปัญหาสาธารณภัย และภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั้งที่ผ่านมาและในปัจจุบัน ของจังหวัดภูเก็ต มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุของการเสียชีวิตและการสูญเสียส่วนหนึ่งเกิดจากข้อด้อยของการจัดการในขณะเกิดเหตุ โดยพบว่าการจัดการในขณะเกิดเหตุ ยังขาดการประสานงาน ขาดเอกภาพในการบริหารจัดการเหตุการณ์ ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน นักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมถึงไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ให้อยู่ในวงจำกัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังขาดระบบที่เป็นมาตรฐานสากล
ดังนั้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการจัดการสาธารณภัยในจังหวัดภูเก็ต ที่มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานสากล ทางจังหวัดจึงได้ผลักดัน และเข้าร่วมโครงการการบัญชาการเหตุการณ์ในจังหวัดนำร่อง ในการนำระบบ ICS มาปรับใช้ในการจัดการสาธารณภัยในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเชื่อว่าการนำระบบ ICS มาปรับใช้ จะทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจเหมือนกัน เวลาเกิดเหตุจะไม่สับสน ไปในทิศทางเดียวกัน