สธ.เตรียมพัฒนาศูนย์พักพิงด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ได้มาตรฐานโครงการสเฟียร์ 4 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม อาหาร ที่อยู่ และสุขภาพ รับมือภัยพิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน
วันนี้ (18 ก.ค.) ที่โรงแรมโกลเดน ดรากอน จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนการเตรียมความพร้อมศูนย์พักพิง (Shelter) ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 2554 ซึ่งได้สร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก มีประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า 12.8 ล้านคน ผู้ประสบอุทกภัยบางส่วนจำต้องอพยพออกจากที่อยู่มาพักในศูนย์พักพิงชั่วคราวนั้น ทำให้ศูนย์พักพิงเป็นพื้นที่เป้าหมายในการปกป้องประชาชนจากโรคระบาดและภัยสุขภาพ ไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำเติม สธ.จึงร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดประชุมพัฒนาทีมและรูปแบบในการบริหารจัดการศูนย์พักพิงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงการพัฒนาภาคีเครือข่ายในการเตรียมความพร้อมศูนย์พักพิง และเตรียมมาตรการสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
นายแพทย์ สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า จากบทเรียนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในกรณีมหาอุทกภัย ปี 2554 พบว่า การบริหารจัดการศูนย์พักพิง (Shelter) จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม ในการตอบสนองต่อภัยพิบัติตามกฎบัตรมนุษยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำ (Sphere) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนอย่างเพียงพอและได้มาตรฐานสากล
“โครงการสเฟียร์ หรือกฎบัตรมนุษยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำ ประกอบด้วย มาตรฐาน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 2.ด้านความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหาร โภชนาการ และความช่วยเหลือด้านอาหาร 3.ด้านที่พักพิง ที่อยู่อาศัย เครื่องอุปโภค และน้ำดื่มน้ำใช้ และ 4.ด้านการบริการสุขภาพ โดยมาตรฐานทั้ง 4 ด้าน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโรคและภัยสุขภาพของประชาชน ซึ่งการตอบสนองต่อภัยพิบัติตามกฎบัตรมนุษยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำนี้ จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดแผนงานหรือแนวทางการบริหารจัดการ การดำเนินงานร่วมกันในศูนย์พักพิงต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน” นายแพทย์ สุวรรณชัย กล่าว
วันนี้ (18 ก.ค.) ที่โรงแรมโกลเดน ดรากอน จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนการเตรียมความพร้อมศูนย์พักพิง (Shelter) ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 2554 ซึ่งได้สร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก มีประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า 12.8 ล้านคน ผู้ประสบอุทกภัยบางส่วนจำต้องอพยพออกจากที่อยู่มาพักในศูนย์พักพิงชั่วคราวนั้น ทำให้ศูนย์พักพิงเป็นพื้นที่เป้าหมายในการปกป้องประชาชนจากโรคระบาดและภัยสุขภาพ ไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำเติม สธ.จึงร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดประชุมพัฒนาทีมและรูปแบบในการบริหารจัดการศูนย์พักพิงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงการพัฒนาภาคีเครือข่ายในการเตรียมความพร้อมศูนย์พักพิง และเตรียมมาตรการสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
นายแพทย์ สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า จากบทเรียนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในกรณีมหาอุทกภัย ปี 2554 พบว่า การบริหารจัดการศูนย์พักพิง (Shelter) จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม ในการตอบสนองต่อภัยพิบัติตามกฎบัตรมนุษยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำ (Sphere) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนอย่างเพียงพอและได้มาตรฐานสากล
“โครงการสเฟียร์ หรือกฎบัตรมนุษยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำ ประกอบด้วย มาตรฐาน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 2.ด้านความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหาร โภชนาการ และความช่วยเหลือด้านอาหาร 3.ด้านที่พักพิง ที่อยู่อาศัย เครื่องอุปโภค และน้ำดื่มน้ำใช้ และ 4.ด้านการบริการสุขภาพ โดยมาตรฐานทั้ง 4 ด้าน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโรคและภัยสุขภาพของประชาชน ซึ่งการตอบสนองต่อภัยพิบัติตามกฎบัตรมนุษยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำนี้ จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดแผนงานหรือแนวทางการบริหารจัดการ การดำเนินงานร่วมกันในศูนย์พักพิงต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน” นายแพทย์ สุวรรณชัย กล่าว