ปิดฉากการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน 10 ประเทศ และจีน พร้อมเซ็น MOU พัฒนาสุขภาพประชาชนในภูมิภาค 7 ด้าน พร้อมไฟเขียวนำบุหรี่ออกจาก FTA ขณะที่ เมียนมาร์ ขอไทยให้ความช่วยเหลือปัญหาสาธารณสุขตามแนวชายแดน
วันนี้ (6 ก.ค.) ที่โรงแรมโมเวนพิค รีสอร์ทแอนด์สปา จ.ภูเก็ต นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 ก.ค.2555 ว่า รัฐมนตรีสาธารณสุข 11 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และ จีน มีความเห็นร่วมกันว่า ความร่วมมือด้านสาธารณสุขเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพประชาชนอาเซียนกว่า 2 พันล้านคน จึงได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู (MOU) ใน 7 สาขา ได้แก่ 1.การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ 2.กลไกเพื่อตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และศักยภาพในการดูแลสุขภาพในภาวะภัยพิบัติ 3.การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ 4.ระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและระบบการเตือนภัยฉุกเฉิน 5.การพัฒนากำลังคนทางด้านสุขภาพ 6.การพัฒนาด้านการแพทย์พื้นบ้าน และ 7.การพัฒนามาตรฐานยาและวัคซีนและความร่วมมือด้านอื่นๆ
นายวิทยา กล่าวอีกว่า กลไกความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย 1.การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ระหว่างประเทศ 2.การจัดประชุมสัมมนาวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3.การฝึกอบรมบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกัน 4.การแลกเปลี่ยนและศึกษาดูงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรสาธารณสุข และ 5.การศึกษาและวิจัยร่วมกันและกลไกอื่นๆ ซึ่งจะมีการตกลงภายหลัง โดยไทยพร้อมจะให้ความร่วมมือกับประเทศอาเซียน โดยเฉพาะด้านระบาดวิทยา และการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ไทยมีประสบการณ์
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกจีน ครั้งที่ 4 นั้น วาระสำคัญในการประชุมเน้นในเรื่องของการเร่งรัดควบคุมบริโภคยาสูบ เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีกรอบ 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.การพิจารณาให้นำบุหรี่ออกจากรายการสินค้ายกเว้นภาษีตามข้อตกลงทางการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ (Free Trade Agreement) 2.ร่วมกันกำหนดเป้าหมายสู่อาเซียนปลอดบุหรี่ 100% ทั้งสถานที่ปลอดบุหรี่และการประชุมปลอดบุหรี่ 3.ห้ามการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการห้ามทำซีเอสอาร์ (CSR) ของธุรกิจยาสูบทั้งในและนอกประเทศของตน และ 4.สนับสนุนให้ทุกประเทศ มีกลไกการระดมทุนและงบประมาณที่ยั่งยืน เพื่อการรณรงค์ควบคุมยาสูบ ซึ่งอาจมาจากการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทและงบประมาณของรัฐ
“รัฐมนตรีสาธารณสุขทุกประเทศมีความเห็นร่วมกันในการนำบุหรี่ออกจากรายการสินค้ายกเว้นภาษีตามข้อตกลงทางการค้าเสรี โดยเฉพาะ มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ และ บรูไน ที่แสดงจุดยืนชัดเจนในเรื่องดังกล่าว แต่ทั้งนี้ จะต้องนำหลักการดังกล่าวเข้าสู่การประชุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยนายกรัฐมนตรีของแต่ละประเทศจะเป็นผู้ลงนาม ซึ่งอาจมีบางประเทศที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากธุรกิจบุหรี่เป็นรายได้หลักส่วนหนึ่งของประเทศ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นอกจากนี้ นายวิทยา พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยังได้ร่วมหารือทวิภาคีกับ ศ.นพ.เป เตท ขิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเมียนมาร์ ซึ่งได้ขอให้ไทยให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขตามแนวชายแดน โดยเฉพาะโรคเอดส์ โรคมาลาเรีย และวัณโรค ใน 4 จังหวัดคู่แฝด คือ เชียงราย-ท่าขี้เหล็ก ตาก-เมียวดี กาญจนบุรี-เมืองพญาตองซู และ ระนอง-เกาะสอง รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานอพยพและประชาชนชายแดน การพัฒนาบุคลากรและอุปกรณ์เพื่อดูแลผู้พิการ และความร่วมมือในการผลิตเซรุ่มแก้พิษงูกะปะ
ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 12 จะจัดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ที่ประเทศเวียดนาม
วันนี้ (6 ก.ค.) ที่โรงแรมโมเวนพิค รีสอร์ทแอนด์สปา จ.ภูเก็ต นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 ก.ค.2555 ว่า รัฐมนตรีสาธารณสุข 11 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และ จีน มีความเห็นร่วมกันว่า ความร่วมมือด้านสาธารณสุขเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพประชาชนอาเซียนกว่า 2 พันล้านคน จึงได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู (MOU) ใน 7 สาขา ได้แก่ 1.การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ 2.กลไกเพื่อตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และศักยภาพในการดูแลสุขภาพในภาวะภัยพิบัติ 3.การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ 4.ระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและระบบการเตือนภัยฉุกเฉิน 5.การพัฒนากำลังคนทางด้านสุขภาพ 6.การพัฒนาด้านการแพทย์พื้นบ้าน และ 7.การพัฒนามาตรฐานยาและวัคซีนและความร่วมมือด้านอื่นๆ
นายวิทยา กล่าวอีกว่า กลไกความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย 1.การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ระหว่างประเทศ 2.การจัดประชุมสัมมนาวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3.การฝึกอบรมบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกัน 4.การแลกเปลี่ยนและศึกษาดูงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรสาธารณสุข และ 5.การศึกษาและวิจัยร่วมกันและกลไกอื่นๆ ซึ่งจะมีการตกลงภายหลัง โดยไทยพร้อมจะให้ความร่วมมือกับประเทศอาเซียน โดยเฉพาะด้านระบาดวิทยา และการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ไทยมีประสบการณ์
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกจีน ครั้งที่ 4 นั้น วาระสำคัญในการประชุมเน้นในเรื่องของการเร่งรัดควบคุมบริโภคยาสูบ เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีกรอบ 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.การพิจารณาให้นำบุหรี่ออกจากรายการสินค้ายกเว้นภาษีตามข้อตกลงทางการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ (Free Trade Agreement) 2.ร่วมกันกำหนดเป้าหมายสู่อาเซียนปลอดบุหรี่ 100% ทั้งสถานที่ปลอดบุหรี่และการประชุมปลอดบุหรี่ 3.ห้ามการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการห้ามทำซีเอสอาร์ (CSR) ของธุรกิจยาสูบทั้งในและนอกประเทศของตน และ 4.สนับสนุนให้ทุกประเทศ มีกลไกการระดมทุนและงบประมาณที่ยั่งยืน เพื่อการรณรงค์ควบคุมยาสูบ ซึ่งอาจมาจากการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภทและงบประมาณของรัฐ
“รัฐมนตรีสาธารณสุขทุกประเทศมีความเห็นร่วมกันในการนำบุหรี่ออกจากรายการสินค้ายกเว้นภาษีตามข้อตกลงทางการค้าเสรี โดยเฉพาะ มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ และ บรูไน ที่แสดงจุดยืนชัดเจนในเรื่องดังกล่าว แต่ทั้งนี้ จะต้องนำหลักการดังกล่าวเข้าสู่การประชุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยนายกรัฐมนตรีของแต่ละประเทศจะเป็นผู้ลงนาม ซึ่งอาจมีบางประเทศที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากธุรกิจบุหรี่เป็นรายได้หลักส่วนหนึ่งของประเทศ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นอกจากนี้ นายวิทยา พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยังได้ร่วมหารือทวิภาคีกับ ศ.นพ.เป เตท ขิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเมียนมาร์ ซึ่งได้ขอให้ไทยให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขตามแนวชายแดน โดยเฉพาะโรคเอดส์ โรคมาลาเรีย และวัณโรค ใน 4 จังหวัดคู่แฝด คือ เชียงราย-ท่าขี้เหล็ก ตาก-เมียวดี กาญจนบุรี-เมืองพญาตองซู และ ระนอง-เกาะสอง รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานอพยพและประชาชนชายแดน การพัฒนาบุคลากรและอุปกรณ์เพื่อดูแลผู้พิการ และความร่วมมือในการผลิตเซรุ่มแก้พิษงูกะปะ
ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 12 จะจัดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ที่ประเทศเวียดนาม