รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย-เวียดนาม ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือสาธารณสุข 3 เรื่องหลัก การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งประเทศเวียดนามจะประกาศใช้ในปี 2557 และให้ไทยช่วยพัฒนาความพร้อมบุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับในการเฝ้าระวังและรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส และการพัฒนาศักยภาพบริการของโรงพยาบาล
วันนี้ (26 ม.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กทม. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และแพทย์หญิงเหงียนถิ กิม เทียน (Dr.Nguyen Thi Kim Tien) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขไทย และกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม ว่าด้วยความร่วมมือสาธารณสุขซึ่งเป็นการขยายความร่วมมือหลังจากที่ร่วมลงนามที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีนพ.ไพจิตร์วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นสักขีพยานสาระความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย 3 เรื่องหลัก ได้แก่1. การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยและบริหารระบบ 2. การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับระบบบริการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพและระบบการสนับสนุนทางการเงินซึ่งจะมีการจับคู่โรงพยาบาลเพื่อเรียนรู้ในโรงพยาบาล 2 คู่ ได้แก่โรงพยาบาลราชวิถี กทม. กับโรงพยาบาลบาไหม (Bach Mai) ของเวียดนามและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีกับโรงพยาบาลเด็กแห่งชาติของเวียดนามเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ 3. การพัฒนาศักยภาพของชาติในการเฝ้าระวังโรคและการรับมือต่อการระบาดโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส
นายวิทยากล่าวว่า ในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินงานครบปีที่ 10 ประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งรัฐบาลชุดนี้มีนโยบายชัดเจนที่จะดำเนินการต่อเนื่องและพัฒนาคุณภาพบริการสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ทางประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ประกาศกฎหมายจะใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเช่นกันภายใน พ.ศ. 2557 โดยในระยะเตรียมการนี้ เวียดนามจะมีการพัฒนาระบบการเงินการคลังงบค่าใช้จ่ายรายหัวระบบการจ่ายเงินผู้ป่วยในแบบวินิจฉัยโรคร่วม หรือดีอาร์จี (DiagnosisRelated Groups : DRG) เพื่อควบคุมคุณภาพบริการและพัฒนาศักยภาพบุคลากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับในประเทศเพื่อให้มีความพร้อมในการจัดบริการแก่ประชาชนซึ่งจะให้ไทยช่วยพัฒนาบุคลากรเหล่านี้โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการศึกษาดูงานของบุคลากรระหว่างกัน
ทั้งนี้ มูลนิธิร็อคกี้ เฟลเลอร์ ได้สนับสนุนเงินให้ประเทศไทยจำนวน 16 ล้านบาท เพื่อเป็นศูนย์กลางฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประเทศทั่วโลกที่สนใจและมีเป้าหมายจะจัดทำโครงการหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน อินโดนีเซีย โดยประเทศไทยจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งจะมีต่างประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย เช่น เวียดนาม จีน ฟิลิปปินส์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
วันนี้ (26 ม.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กทม. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และแพทย์หญิงเหงียนถิ กิม เทียน (Dr.Nguyen Thi Kim Tien) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขไทย และกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม ว่าด้วยความร่วมมือสาธารณสุขซึ่งเป็นการขยายความร่วมมือหลังจากที่ร่วมลงนามที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีนพ.ไพจิตร์วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นสักขีพยานสาระความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย 3 เรื่องหลัก ได้แก่1. การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยและบริหารระบบ 2. การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับระบบบริการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพและระบบการสนับสนุนทางการเงินซึ่งจะมีการจับคู่โรงพยาบาลเพื่อเรียนรู้ในโรงพยาบาล 2 คู่ ได้แก่โรงพยาบาลราชวิถี กทม. กับโรงพยาบาลบาไหม (Bach Mai) ของเวียดนามและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีกับโรงพยาบาลเด็กแห่งชาติของเวียดนามเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ 3. การพัฒนาศักยภาพของชาติในการเฝ้าระวังโรคและการรับมือต่อการระบาดโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส
นายวิทยากล่าวว่า ในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินงานครบปีที่ 10 ประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งรัฐบาลชุดนี้มีนโยบายชัดเจนที่จะดำเนินการต่อเนื่องและพัฒนาคุณภาพบริการสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ทางประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ประกาศกฎหมายจะใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเช่นกันภายใน พ.ศ. 2557 โดยในระยะเตรียมการนี้ เวียดนามจะมีการพัฒนาระบบการเงินการคลังงบค่าใช้จ่ายรายหัวระบบการจ่ายเงินผู้ป่วยในแบบวินิจฉัยโรคร่วม หรือดีอาร์จี (DiagnosisRelated Groups : DRG) เพื่อควบคุมคุณภาพบริการและพัฒนาศักยภาพบุคลากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับในประเทศเพื่อให้มีความพร้อมในการจัดบริการแก่ประชาชนซึ่งจะให้ไทยช่วยพัฒนาบุคลากรเหล่านี้โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการศึกษาดูงานของบุคลากรระหว่างกัน
ทั้งนี้ มูลนิธิร็อคกี้ เฟลเลอร์ ได้สนับสนุนเงินให้ประเทศไทยจำนวน 16 ล้านบาท เพื่อเป็นศูนย์กลางฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประเทศทั่วโลกที่สนใจและมีเป้าหมายจะจัดทำโครงการหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน อินโดนีเซีย โดยประเทศไทยจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระดับประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งจะมีต่างประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย เช่น เวียดนาม จีน ฟิลิปปินส์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน