ที่ปรึกษา กมธ.ศาสนาฯ เสนอศึกษา พระสงฆ์เลือกตั้งได้ แนะ วธ.ดูแลชาวต่างชาตินำพระพุทธรูปมาล้อเลียน อ้อนร้านสัก อย่าสักเกี่ยวกับศาสนาบนเรือนร่าง เตรียมหาช่องออกกฎกระทรวง ออกมาตรการดูแลให้เป็นรูปธรรม
วันนี้ (15 ส.ค.) ที่กระทรวงวัฒนธรรม นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า นายสันตศักดิ์ จรูญ งามพิเชษฐ์ ประธานคณะกรรมาธิการ เห็นว่า วธ.ควรที่จะดูแลเกี่ยวสินค้าพุทธพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาประดับตามสถานที่ต่างๆ อย่างไม่เหมาะสม เนื่องจาก กมธ.ได้รับร้องเรียนเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ห่วงว่า จะส่งผลกระทบต่อศรัทธาของพุทธศาสนิกชน รวมถึง วธ.จะต้องให้ความรู้ชาวต่างชาติได้เห็นว่า สิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ ถึงแม้จะใช้พระพุทธรูปเป็นเครื่องประดับตกแต่งแต่ก็ควรที่จะจัดไว้ในสถานที่เหมาะสมด้วย
นางสุกุมล กล่าวว่า นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ชี้แจงต่อประธาน กมธ.ไปว่า วธ.ได้ทำหนังสือคู่มือการเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทย โดยเฉพาะการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ไปมอบให้แก่สถานทูตต่างๆ เพื่อแจกชาวต่างชาติ จะได้รับทราบธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธต่อรูปเคารพ องค์พระพุทธเจ้า ที่ถูกต้อง รวมทั้งไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไปตั้งตามสถานที่ที่ไม่เหมาะสมด้วย และขอความร่วมมือผู้ประกอบการสัก ว่า ไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางศาสนาทุกศาสนา มาสักลงบนร่างกาย โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม อย่างไรทาง กมธ.ได้เสนอแนะให้ ออกเป็นกฎกระทรวงในการป้องกันหรือใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอย่างไม่เหมาะสมเพื่อให้มีมาตรการดูแลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในเรื่องนี้ตน ได้รับเรื่องจาก กมธ.ไว้พิจารณาอีกครั้ง
ด้าน ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ตนได้เสนอให้ วธ.ไปศึกษาความเป็นไปได้ว่า พระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย ควรที่จะสามารถเลือกตั้งได้เหมือนกับ นักบวช ศาสนาอื่น เช่น ศรีลังกา นักบวชสามารถเข้าไปเล่นการเมืองได้ อยากให้ วธ.ศึกษารายละเอียดว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะให้พระภิกษุสงฆ์สามารถเลือกตั้งได้เพราะนักบวชของไทย ก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเหมือนกับประชาชนทั่วไป
ขณะที่ นายสมชาย กล่าวว่า ข้อเสนอที่ให้พระสงฆ์มีสิทธิเลือกตั้งได้นั้น ตนเห็นว่า ตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณ มีข้อกำหนดไว้ว่า พระสงฆ์ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง อย่างไรก็ตาม ตนจะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับมหาเถรสมาคม (มส.) ซึ่งเป็นผู้ปกครองและออกระเบียบปกครองคณะสงฆ์ก่อน ว่า มีความเห็นเช่นไรกับข้อเสนอนี้ต่อไป
วันนี้ (15 ส.ค.) ที่กระทรวงวัฒนธรรม นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า นายสันตศักดิ์ จรูญ งามพิเชษฐ์ ประธานคณะกรรมาธิการ เห็นว่า วธ.ควรที่จะดูแลเกี่ยวสินค้าพุทธพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาประดับตามสถานที่ต่างๆ อย่างไม่เหมาะสม เนื่องจาก กมธ.ได้รับร้องเรียนเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ห่วงว่า จะส่งผลกระทบต่อศรัทธาของพุทธศาสนิกชน รวมถึง วธ.จะต้องให้ความรู้ชาวต่างชาติได้เห็นว่า สิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ ถึงแม้จะใช้พระพุทธรูปเป็นเครื่องประดับตกแต่งแต่ก็ควรที่จะจัดไว้ในสถานที่เหมาะสมด้วย
นางสุกุมล กล่าวว่า นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ชี้แจงต่อประธาน กมธ.ไปว่า วธ.ได้ทำหนังสือคู่มือการเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทย โดยเฉพาะการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ไปมอบให้แก่สถานทูตต่างๆ เพื่อแจกชาวต่างชาติ จะได้รับทราบธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธต่อรูปเคารพ องค์พระพุทธเจ้า ที่ถูกต้อง รวมทั้งไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไปตั้งตามสถานที่ที่ไม่เหมาะสมด้วย และขอความร่วมมือผู้ประกอบการสัก ว่า ไม่ควรนำสัญลักษณ์ทางศาสนาทุกศาสนา มาสักลงบนร่างกาย โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม อย่างไรทาง กมธ.ได้เสนอแนะให้ ออกเป็นกฎกระทรวงในการป้องกันหรือใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอย่างไม่เหมาะสมเพื่อให้มีมาตรการดูแลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในเรื่องนี้ตน ได้รับเรื่องจาก กมธ.ไว้พิจารณาอีกครั้ง
ด้าน ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ตนได้เสนอให้ วธ.ไปศึกษาความเป็นไปได้ว่า พระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย ควรที่จะสามารถเลือกตั้งได้เหมือนกับ นักบวช ศาสนาอื่น เช่น ศรีลังกา นักบวชสามารถเข้าไปเล่นการเมืองได้ อยากให้ วธ.ศึกษารายละเอียดว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะให้พระภิกษุสงฆ์สามารถเลือกตั้งได้เพราะนักบวชของไทย ก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเหมือนกับประชาชนทั่วไป
ขณะที่ นายสมชาย กล่าวว่า ข้อเสนอที่ให้พระสงฆ์มีสิทธิเลือกตั้งได้นั้น ตนเห็นว่า ตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณ มีข้อกำหนดไว้ว่า พระสงฆ์ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง อย่างไรก็ตาม ตนจะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับมหาเถรสมาคม (มส.) ซึ่งเป็นผู้ปกครองและออกระเบียบปกครองคณะสงฆ์ก่อน ว่า มีความเห็นเช่นไรกับข้อเสนอนี้ต่อไป