โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
ในยุค"ศรัทธา มาร์เก็ตติ้ง" ที่หลายวัดหันมาเน้นวัตถุ สร้างสิ่งใหญ่โตประเภทที่สุดในโลก หรือสิ่งแปลกปลอมขึ้นภายในวัด โดยอ้างเหตุเพื่อดึงคนให้เข้าวัด แต่สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเพิ่มดีกรีความยึดติดของเพศฆราวาสให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
และนั่นก็เป็นสิ่งที่ทำให้ใครและใครหลายคนรู้สึกว่าเวลาตนเองเข้าวัดแล้วร้อน
แต่เหตุที่ร้อนนั้นไม่ได้มาจากความร้อนในกิเลส ตัณหา หรือแสบร้อนแบบพวกภูตผีปีศาจ หากแต่เป็นความร้อนที่เกิดมาจากการที่วัดได้ตัด ต้นไม้ใหญ่น้อย ปรับเปลี่ยนลานหญ้า ลานดิน ลานทราย สระน้ำให้กลายเป็นลานจอดรถคอนกรีตแข็งกระด้างและร้อนระยับ
เรียกว่าตรงกันข้ามกับ “วัดป่า”โดยสิ้นเชิง ซึ่งปัจจุบัน วัดป่าหลายๆแห่งมีผู้คนเข้าไปท่องเที่ยว ศึกษาหาธรรมะกันเป็นจำนวนมาก แม้หลายๆวัดทางวัดจะออกมาพูดย้ำอยู่เสมอว่า วัดแห่งนี้ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการเข้ามาในวัดโปรดสำรวม แต่งกายให้เหมาะสม อย่าส่งเสียงดัง
แต่กระนั้นก็ยังมีคนจำนวนมากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเพราะยึดมั่นในคติไทยอย่างแนบแน่นว่าทำอะไรคือไทยแท้
1...
เหตุที่ช่วงหลังๆชาวพุทธส่วนหนึ่งหันมาเข้าวัดป่ากันมาก ก็เป็นเพราะความเสื่อมศรัทธาในวัดบ้านและพระบ้าน ซึ่งพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแบ่งออกสองสายหลักๆ คือ ฝ่ายคันถธุระ และฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ฝ่ายคันถธุระ หรือ ฝ่าย“คามวาสี” เป็นพระสงฆ์ที่ มุ่งศึกษาพระปริยัติธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความรอบรู้ในหลักธรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ จึงมักจะอยู่จำวัดในเขตเมือง ใกล้เขตชุมชน เพื่อความสะดวกในการแสวงหาความรู้ และใช้ความรู้นั้นๆสั่งสอนฆราวาส
พระภิกษุฝ่ายคามวาสี คนนิยมเรียกกันสั้นๆง่ายๆว่า “พระบ้าน”
ส่วนฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือฝ่าย “อรัญวาสี” เป็นพระสายปฏิบัติที่มุ่งนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เน้นไปที่การฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจ และศึกษาแก่นแท้ของธรรมในศาสนาพุทธเพื่อให้เกิดปัญญาอันเป็นความรู้ที่แท้จริงตามหลักของพระพุทธศาสนา จึงจำเป็นต้องหาที่สงบสงัด ห่างไกลต่อการรบกวนจากภายนอกในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นพระภิกษุฝ่ายนี้จึงออกไปสู่ป่าเขา
พระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี คนนิยมเรียกกันสั้นๆว่า “พระป่า” หรือ “พระธุดงค์”
พระป่า หรือ พระธุดงค์ในเมืองไทย ยังมีการแบ่งออกเป็น 2 สายหลักๆอีก สายหนึ่งเป็นพระธุดงค์ฝ่ายธรรมยุติ หรือเรียกว่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นพระธุดงค์ฝ่ายมหานิกาย ในสายหลวงพ่อสนอง วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี และหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
แต่ก่อนในบ้านเราพระธุดงค์หลายๆรูป เมื่อออกเดินธุดงค์ฝึกสมาธิ ปฏิบัติธรรม จนถึงจุดๆหนึ่งแล้วพบว่ามีสถานที่เหมาะสม ก็จะทำการตั้งสำนักสงฆ์ หรือสร้างวัดป่าขึ้น โดยวัดป่าจะต่างจากวัดบ้านตรงที่จะอยู่ห่างไกลจากเขตเมือง(ในสมัยก่อน) เน้นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ไม่เน้นวัตถุสิ่งปลูกสร้างใหญ่โต และเป็นพระปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
แต่ว่าเรื่องเหล่านี้ก็ถือเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ทางสังคมไทย ที่วัดหลายๆวัดเน้นหนักไปในทางวัตถุ เน้นหนักไปทางพุทธพาณิชย์ ซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจาก “วัดป่า” ที่มุ่งเน้นในเรื่องหลักธรรมคำสอน วัตรปฏิบัติ และแก่นแท้ของการศึกษาธรรมในศาสนาพุทธเป็นสำคัญ
2...
ปัจจุบันเมืองไทยมีวัดป่าอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งที่เป็นวัดป่าจริงๆและวัดป่าแอบแฝง โดยหนึ่งในวัดป่าที่ผมชื่นชอบและเห็นว่ามีลักษณะแตกต่างไป
วัดป่าอยู่หลายวัด โดยเฉพาะทางภาคอีสานนี่มีค่อนข้างมาก แต่ที่หลายๆคนไม่รู้ก็คือ ในกรุงเทพฯเมืองหลวงที่วุ่นวายพลุกพล่านนั้นก็มีวัดป่าอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือ “วัดป่าเชิงเลน”
วัดป่าเชิงเลน ตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 ปากซอยทางเข้าอยู่ข้างห้างแมคโครจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กทม.
วัดป่าเชิงเลน มีอายุเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ด้วยความที่สถานที่ตัววัดอยู่ติดคลอง ทำให้ถูกน้ำท่วมบ่อยครั้ง จนวัดทรุดโทรมและถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลายาวนานนับร้อยปี
จนกระทั่ง พระอาจารย์อุทัย (ติ๊ก) ฌานุตฺตโม พระป่าสายอีสานศิษย์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้ธุดงค์มาพบวัดร้างแห่งนี้เข้าโดยบังเอิญใน ปี 2532
พระอาจารย์อุทัย จึงได้ทำการบูรณะวัดนี้ขึ้นใหม่จนเสร็จสมบูรณ์ในปี 2533 ก่อกำเนิดเป็นวัดป่าเชิงเลนขึ้นมา
วัดป่าเชิงเลน ถือเป็นโอเอซิสแห่งจิตวิญญาณแห่งเมืองกรุง ที่มีพระภิกษุอยู่เพียงไม่กี่รูป แต่ทั้งหมดล้วนต่างเป็นพระที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ
และด้วยความมุ่งเน้นเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ให้ช่วยละกิเลสที่ยึดติดในวัตถุทั้งหลายทั้งปวง ที่วัดแห่งนี้ จึงไม่มีการก่อสร้างอาคารอะไรใหญ่โต
สำหรับโบสถ์ของวัดนั้นสร้างอ้างอิงจากของเดิม มีเพียงหลังคาและฐานรากที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้แข้งแรง ส่วนกำแพงใช้ซากกำแพงของเก่าผสมผสานไปกับแนวต้นไม้ที่เป็นดังกำแพงธรรมชาติ
ขณะที่สิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น ศาลาการเปรียญ ศาลากลางน้ำ ศาลาร่วมใจ กุฏิของพระสงฆ์ ก็สร้างอย่างเรียบง่าย กลมกลืนไปกับธรรมชาติต้นไม้ใบหญ้า ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักคิดที่ไม่ต้องการให้ผู้คนยึดติดในวัตถุ สิ่งปลูกสร้างใหญ่โต อีกทั้งมัวเมาลุ่มหลงในอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ และสิ่งที่มาหลอกล่อใจให้เกิดกิเลสไม่รู้จบ
ที่สำคัญคือที่วัดป่าแห่งนี้ไม่มีเลข เบอร์ ไม่มีเครื่องรางของขลัง ไม่มีความเจริญทางด้านวัตถุ หากแต่เป็นวัดที่มุ่งสอนให้คนมีความสงบทั้งทางกายและทางใจ ซึ่งเมื่อนานมาแล้ว ผมเคยสนทนาธรรมกับหลวงพี่นิรนามรูปหนึ่งที่วัดป่าแห่งนี้ โดยท่านบอกกับผมว่า
“ความสงบทางกายที่ได้จากการมาที่วัดนี้ก็อย่างที่คุณโยมเห็น คือเมื่อกายได้มาสัมผัสกับความร่มเย็นของธรรมชาติ ต้นไม้ที่เขียวครึ้ม สายน้ำที่ไหลเย็น รวมถึงดอกไม้กล้วยไม้ที่ออกดอกให้สีสันสวยงาม กายก็จะเกิดความเย็นสบายแล้วก็กลายเป็นความสงบขึ้นมา”
“แต่ว่าความสงบทางกายก็ถือเป็นความฉาบฉวยนะคุณโยม เพราะความสงบที่แท้จริงมันต้องเป็นความสงบในจิตใจ ใครที่มาที่นี่หากมาสนทนาธรรมกับพวกอาตมา พวกอาตมาก็จะสอนให้รักษาศีล สอนการกำหนดสมาธิรวมถึงวิธีการทำจิตให้สงบ เพราะถ้าจิตสงบมันก็จะไม่เกิดกิเลส”
นี่ถือเป็นประโยคอันทรงคุณค่าที่สามารถฟังได้ง่ายแต่การปฏิบัตินั้นยากยิ่ง โดยเฉพาะกับมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาที่ที่ยังเวียนว่ายอยู่ในวังวนกิเลส
3...
ขณะที่ผู้คนจำนวนหนึ่ง อยากหลีกหนีความวุ่นวาย พลุกพล่าน พลุ่งพล่าน ของเมืองใหญ่มุ่งสู่ความสงบในวิถีธรรมชาติ พระสงฆ์หลายรูปอยากเข้าหาวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดเพื่อแสวงหาแนวทางหลุดพ้นตามวัดป่าต่างๆ แต่น่าแปลกที่กลับมีพระจำนวนหนึ่งกลับมีพฤติกรรมสวนทางด้วยการเดินธุดงค์นะจ๊ะเข้าเมืองหลวง จนกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ไปทั่ว พร้อมทั้งยังความกังขาให้กับคนส่วนใหญ่ว่าทำไปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาหรือทำเพื่ออะไรกันแน่ ???
เรื่องนี้ นางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้ออกมาแสดงทัศนะในเรื่องดังกล่าว ว่า เป็นเรื่องไม่เหมาะสม เนื่องจากการเดินธุดงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ พระสงฆ์ต้องจาริกไปตามเขา อยู่อย่างสมถะ เพื่อทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่ใช่มาเดินในเมืองหลวงท่ามกลางกิเลส ที่มีสีสันแห่งบริโภคนิยม
และนี่ก็คือหนึ่งในภาพสะท้อนของยุคศีลธรรมเสื่อมทรุด ซึ่งหลายๆคนยังกังขาว่า เหตุที่ศีลธรรมเสื่อมถอย เป็นเพราะ “คนเสื่อม” หรือ “พระเสื่อม” กันแน่?!?
ในยุค"ศรัทธา มาร์เก็ตติ้ง" ที่หลายวัดหันมาเน้นวัตถุ สร้างสิ่งใหญ่โตประเภทที่สุดในโลก หรือสิ่งแปลกปลอมขึ้นภายในวัด โดยอ้างเหตุเพื่อดึงคนให้เข้าวัด แต่สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเพิ่มดีกรีความยึดติดของเพศฆราวาสให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
และนั่นก็เป็นสิ่งที่ทำให้ใครและใครหลายคนรู้สึกว่าเวลาตนเองเข้าวัดแล้วร้อน
แต่เหตุที่ร้อนนั้นไม่ได้มาจากความร้อนในกิเลส ตัณหา หรือแสบร้อนแบบพวกภูตผีปีศาจ หากแต่เป็นความร้อนที่เกิดมาจากการที่วัดได้ตัด ต้นไม้ใหญ่น้อย ปรับเปลี่ยนลานหญ้า ลานดิน ลานทราย สระน้ำให้กลายเป็นลานจอดรถคอนกรีตแข็งกระด้างและร้อนระยับ
เรียกว่าตรงกันข้ามกับ “วัดป่า”โดยสิ้นเชิง ซึ่งปัจจุบัน วัดป่าหลายๆแห่งมีผู้คนเข้าไปท่องเที่ยว ศึกษาหาธรรมะกันเป็นจำนวนมาก แม้หลายๆวัดทางวัดจะออกมาพูดย้ำอยู่เสมอว่า วัดแห่งนี้ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการเข้ามาในวัดโปรดสำรวม แต่งกายให้เหมาะสม อย่าส่งเสียงดัง
แต่กระนั้นก็ยังมีคนจำนวนมากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเพราะยึดมั่นในคติไทยอย่างแนบแน่นว่าทำอะไรคือไทยแท้
1...
เหตุที่ช่วงหลังๆชาวพุทธส่วนหนึ่งหันมาเข้าวัดป่ากันมาก ก็เป็นเพราะความเสื่อมศรัทธาในวัดบ้านและพระบ้าน ซึ่งพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแบ่งออกสองสายหลักๆ คือ ฝ่ายคันถธุระ และฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ฝ่ายคันถธุระ หรือ ฝ่าย“คามวาสี” เป็นพระสงฆ์ที่ มุ่งศึกษาพระปริยัติธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความรอบรู้ในหลักธรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ จึงมักจะอยู่จำวัดในเขตเมือง ใกล้เขตชุมชน เพื่อความสะดวกในการแสวงหาความรู้ และใช้ความรู้นั้นๆสั่งสอนฆราวาส
พระภิกษุฝ่ายคามวาสี คนนิยมเรียกกันสั้นๆง่ายๆว่า “พระบ้าน”
ส่วนฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือฝ่าย “อรัญวาสี” เป็นพระสายปฏิบัติที่มุ่งนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เน้นไปที่การฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจ และศึกษาแก่นแท้ของธรรมในศาสนาพุทธเพื่อให้เกิดปัญญาอันเป็นความรู้ที่แท้จริงตามหลักของพระพุทธศาสนา จึงจำเป็นต้องหาที่สงบสงัด ห่างไกลต่อการรบกวนจากภายนอกในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นพระภิกษุฝ่ายนี้จึงออกไปสู่ป่าเขา
พระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี คนนิยมเรียกกันสั้นๆว่า “พระป่า” หรือ “พระธุดงค์”
พระป่า หรือ พระธุดงค์ในเมืองไทย ยังมีการแบ่งออกเป็น 2 สายหลักๆอีก สายหนึ่งเป็นพระธุดงค์ฝ่ายธรรมยุติ หรือเรียกว่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นพระธุดงค์ฝ่ายมหานิกาย ในสายหลวงพ่อสนอง วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี และหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
แต่ก่อนในบ้านเราพระธุดงค์หลายๆรูป เมื่อออกเดินธุดงค์ฝึกสมาธิ ปฏิบัติธรรม จนถึงจุดๆหนึ่งแล้วพบว่ามีสถานที่เหมาะสม ก็จะทำการตั้งสำนักสงฆ์ หรือสร้างวัดป่าขึ้น โดยวัดป่าจะต่างจากวัดบ้านตรงที่จะอยู่ห่างไกลจากเขตเมือง(ในสมัยก่อน) เน้นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ไม่เน้นวัตถุสิ่งปลูกสร้างใหญ่โต และเป็นพระปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
แต่ว่าเรื่องเหล่านี้ก็ถือเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ทางสังคมไทย ที่วัดหลายๆวัดเน้นหนักไปในทางวัตถุ เน้นหนักไปทางพุทธพาณิชย์ ซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจาก “วัดป่า” ที่มุ่งเน้นในเรื่องหลักธรรมคำสอน วัตรปฏิบัติ และแก่นแท้ของการศึกษาธรรมในศาสนาพุทธเป็นสำคัญ
2...
ปัจจุบันเมืองไทยมีวัดป่าอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งที่เป็นวัดป่าจริงๆและวัดป่าแอบแฝง โดยหนึ่งในวัดป่าที่ผมชื่นชอบและเห็นว่ามีลักษณะแตกต่างไป
วัดป่าอยู่หลายวัด โดยเฉพาะทางภาคอีสานนี่มีค่อนข้างมาก แต่ที่หลายๆคนไม่รู้ก็คือ ในกรุงเทพฯเมืองหลวงที่วุ่นวายพลุกพล่านนั้นก็มีวัดป่าอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือ “วัดป่าเชิงเลน”
วัดป่าเชิงเลน ตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 ปากซอยทางเข้าอยู่ข้างห้างแมคโครจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กทม.
วัดป่าเชิงเลน มีอายุเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ด้วยความที่สถานที่ตัววัดอยู่ติดคลอง ทำให้ถูกน้ำท่วมบ่อยครั้ง จนวัดทรุดโทรมและถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลายาวนานนับร้อยปี
จนกระทั่ง พระอาจารย์อุทัย (ติ๊ก) ฌานุตฺตโม พระป่าสายอีสานศิษย์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้ธุดงค์มาพบวัดร้างแห่งนี้เข้าโดยบังเอิญใน ปี 2532
พระอาจารย์อุทัย จึงได้ทำการบูรณะวัดนี้ขึ้นใหม่จนเสร็จสมบูรณ์ในปี 2533 ก่อกำเนิดเป็นวัดป่าเชิงเลนขึ้นมา
วัดป่าเชิงเลน ถือเป็นโอเอซิสแห่งจิตวิญญาณแห่งเมืองกรุง ที่มีพระภิกษุอยู่เพียงไม่กี่รูป แต่ทั้งหมดล้วนต่างเป็นพระที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ
และด้วยความมุ่งเน้นเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ให้ช่วยละกิเลสที่ยึดติดในวัตถุทั้งหลายทั้งปวง ที่วัดแห่งนี้ จึงไม่มีการก่อสร้างอาคารอะไรใหญ่โต
สำหรับโบสถ์ของวัดนั้นสร้างอ้างอิงจากของเดิม มีเพียงหลังคาและฐานรากที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้แข้งแรง ส่วนกำแพงใช้ซากกำแพงของเก่าผสมผสานไปกับแนวต้นไม้ที่เป็นดังกำแพงธรรมชาติ
ขณะที่สิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น ศาลาการเปรียญ ศาลากลางน้ำ ศาลาร่วมใจ กุฏิของพระสงฆ์ ก็สร้างอย่างเรียบง่าย กลมกลืนไปกับธรรมชาติต้นไม้ใบหญ้า ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักคิดที่ไม่ต้องการให้ผู้คนยึดติดในวัตถุ สิ่งปลูกสร้างใหญ่โต อีกทั้งมัวเมาลุ่มหลงในอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ และสิ่งที่มาหลอกล่อใจให้เกิดกิเลสไม่รู้จบ
ที่สำคัญคือที่วัดป่าแห่งนี้ไม่มีเลข เบอร์ ไม่มีเครื่องรางของขลัง ไม่มีความเจริญทางด้านวัตถุ หากแต่เป็นวัดที่มุ่งสอนให้คนมีความสงบทั้งทางกายและทางใจ ซึ่งเมื่อนานมาแล้ว ผมเคยสนทนาธรรมกับหลวงพี่นิรนามรูปหนึ่งที่วัดป่าแห่งนี้ โดยท่านบอกกับผมว่า
“ความสงบทางกายที่ได้จากการมาที่วัดนี้ก็อย่างที่คุณโยมเห็น คือเมื่อกายได้มาสัมผัสกับความร่มเย็นของธรรมชาติ ต้นไม้ที่เขียวครึ้ม สายน้ำที่ไหลเย็น รวมถึงดอกไม้กล้วยไม้ที่ออกดอกให้สีสันสวยงาม กายก็จะเกิดความเย็นสบายแล้วก็กลายเป็นความสงบขึ้นมา”
“แต่ว่าความสงบทางกายก็ถือเป็นความฉาบฉวยนะคุณโยม เพราะความสงบที่แท้จริงมันต้องเป็นความสงบในจิตใจ ใครที่มาที่นี่หากมาสนทนาธรรมกับพวกอาตมา พวกอาตมาก็จะสอนให้รักษาศีล สอนการกำหนดสมาธิรวมถึงวิธีการทำจิตให้สงบ เพราะถ้าจิตสงบมันก็จะไม่เกิดกิเลส”
นี่ถือเป็นประโยคอันทรงคุณค่าที่สามารถฟังได้ง่ายแต่การปฏิบัตินั้นยากยิ่ง โดยเฉพาะกับมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาที่ที่ยังเวียนว่ายอยู่ในวังวนกิเลส
3...
ขณะที่ผู้คนจำนวนหนึ่ง อยากหลีกหนีความวุ่นวาย พลุกพล่าน พลุ่งพล่าน ของเมืองใหญ่มุ่งสู่ความสงบในวิถีธรรมชาติ พระสงฆ์หลายรูปอยากเข้าหาวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดเพื่อแสวงหาแนวทางหลุดพ้นตามวัดป่าต่างๆ แต่น่าแปลกที่กลับมีพระจำนวนหนึ่งกลับมีพฤติกรรมสวนทางด้วยการเดินธุดงค์นะจ๊ะเข้าเมืองหลวง จนกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ไปทั่ว พร้อมทั้งยังความกังขาให้กับคนส่วนใหญ่ว่าทำไปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาหรือทำเพื่ออะไรกันแน่ ???
เรื่องนี้ นางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้ออกมาแสดงทัศนะในเรื่องดังกล่าว ว่า เป็นเรื่องไม่เหมาะสม เนื่องจากการเดินธุดงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ พระสงฆ์ต้องจาริกไปตามเขา อยู่อย่างสมถะ เพื่อทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่ใช่มาเดินในเมืองหลวงท่ามกลางกิเลส ที่มีสีสันแห่งบริโภคนิยม
และนี่ก็คือหนึ่งในภาพสะท้อนของยุคศีลธรรมเสื่อมทรุด ซึ่งหลายๆคนยังกังขาว่า เหตุที่ศีลธรรมเสื่อมถอย เป็นเพราะ “คนเสื่อม” หรือ “พระเสื่อม” กันแน่?!?