ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กระทรวงวัฒนธรรมสร้างความเข้าใจผู้ประกอบการสัก หรือ Tattoo และบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่จังหวัดภูเก็ต หลังมีการร้องเรียนชาวต่างชาตินิยมสักรูปสัญลักลักษณ์ทางศาสนาตามร่างกาย
วันนี้ (9 มิ.ย.) นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมเสริมสร้างความเข้าใจผู้ประกอบการสัก หรือ Tattoo และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ที่ห้องประชุมปาล์มฟลาวเวอร์ โรงแรมถาวรปาล์มบีชรีสอร์ท ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยมีเจ้าของร้านกิจการสัก ศิลปิน หรือช่างสักในจังหวัดภูเก็ตและตัวแทนสื่อมวลชนในส่วนกลางและท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมและสังเกตการณ์ 110 คน
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การลงมาร่วมประชุมกับผู้ประกอบการสักในครั้งนี้ ทางกระทรวงไม่ได้มาสร้างกรอบ หรือกฎเกณฑ์ควบคุม แต่ต้องการมารับทราบข้อมูลในส่วนของผู้ประกอบการทั้งหมด เพื่อรวบรวมนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงพาณิชย์,ก ระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดต่อไป เนื่องจากการสักสัญลักษณ์ทางศาสนาต่างๆ มีประชาชนสะเทือนใจ และไม่ต้องการให้นำไปเป็นการค้า หรือสักตามร่างกายและเห็นว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยมีการร้องเรียนผ่านทางกระทรวงวัฒนธรรมมาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ดังนั้น การดำเนินการใดๆ ควรที่จะให้สอดคล้องกับหลักนิติสัมพันธ์และทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับด้วย และสิ่งสำคัญ คือ นานาชาติถือว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการเรียนร็และศึกษาพุทธศาสนาของโลกควรจะเป็นประเทศแรกๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากมีประชาชนร้องเรียนแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบเห็นชาวต่างประเทศสวมกางเกงขาสั้น และมีการสักสัญลักษณ์ทางศาสนา ลงบนข้อเท้า และเห็นว่า การเผยแพร่ในลักษณะนี้ไม่เหมาะสม และเกิดมีข้อเปรียบกันให้เกิดความรู้สึก ว่า กลุ่มหนึ่งในสังคมมองว่า เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่เคารพนับถือ และเอาไปเป็นการพาณิชย์ จะมีความเหมาะสมหรือไม่ จึงเป็นที่มาของการขอความร่วมมือมายังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้นัดหมายกลุ่มผู้ประกอบการสักมาประชุม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด มารับฟังความเห็น
โดยกระทรวงได้นำเอาแนวทางที่ควรปฏิบัติเรื่องของการนำสัญลักษณ์ทางศาสนา มาชี้แจง และแนวทางนี้ กระทรวงไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่เคยมีการจัดประชุม บุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้แต่พระสงฆ์ ที่มาให้ทัศนะให้ความเห็น เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อของคนในสังคมต่อศาสนา ต่อรูปเคารพและการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ทำให้มีพุทธพาณิชย์มีมากขึ้น
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงว่า ห้ามทำ เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับ แต่สิ่งที่รณรงค์คือการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ถ้าจะทำควรมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติอย่างไร หรือเพียงแต่ขอร้องว่า คนในสังคมกลุ่มหนึ่ง มีความกังวลต่อการสักสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่นๆ ก็ตาม และข้อกำหนดที่วางไว้เป็นขอกำหนดที่กว้างๆ เพื่อให้เห็นว่า คนในสังคมควรจะใช้ สัญลักษณ์ทางศาสนาอย่างไรให้เกิดประโยชน์ ต่อการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างสันติเป็นหลัก
ในขณะที่ นายนนทิวัฒน์ จันทรประสิทธิ์ ตัวแทนผู้ประกอบการสัก จังหวัดภูเก็ตกล่าวยืนยันว่า ช่างสักส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธและตระหนักและทราบดี ในเรื่องที่ควรหรือไม่ควร ในการสักสัญลักษณ์ทางศาสนาลงบนร่างกาย และเห็นว่า ภาพสักเศียรพระพุทธรูป บนข้อเท้าที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น อาจจะไม่ใช่ฝีมือของช่างสักในประเทศไทย ดังนั้น ในอนาคตจะจัดประชุมกลุ่มผู้ประกอบการสักในภูเก็ต เพื่อหารือและออกมาตรการที่เหมาะสม เพื่อรองรับการบริการสักที่เป็นสากลต่อไป
วันนี้ (9 มิ.ย.) นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมเสริมสร้างความเข้าใจผู้ประกอบการสัก หรือ Tattoo และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ที่ห้องประชุมปาล์มฟลาวเวอร์ โรงแรมถาวรปาล์มบีชรีสอร์ท ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยมีเจ้าของร้านกิจการสัก ศิลปิน หรือช่างสักในจังหวัดภูเก็ตและตัวแทนสื่อมวลชนในส่วนกลางและท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมและสังเกตการณ์ 110 คน
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การลงมาร่วมประชุมกับผู้ประกอบการสักในครั้งนี้ ทางกระทรวงไม่ได้มาสร้างกรอบ หรือกฎเกณฑ์ควบคุม แต่ต้องการมารับทราบข้อมูลในส่วนของผู้ประกอบการทั้งหมด เพื่อรวบรวมนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงพาณิชย์,ก ระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดต่อไป เนื่องจากการสักสัญลักษณ์ทางศาสนาต่างๆ มีประชาชนสะเทือนใจ และไม่ต้องการให้นำไปเป็นการค้า หรือสักตามร่างกายและเห็นว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยมีการร้องเรียนผ่านทางกระทรวงวัฒนธรรมมาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ดังนั้น การดำเนินการใดๆ ควรที่จะให้สอดคล้องกับหลักนิติสัมพันธ์และทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับด้วย และสิ่งสำคัญ คือ นานาชาติถือว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการเรียนร็และศึกษาพุทธศาสนาของโลกควรจะเป็นประเทศแรกๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากมีประชาชนร้องเรียนแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบเห็นชาวต่างประเทศสวมกางเกงขาสั้น และมีการสักสัญลักษณ์ทางศาสนา ลงบนข้อเท้า และเห็นว่า การเผยแพร่ในลักษณะนี้ไม่เหมาะสม และเกิดมีข้อเปรียบกันให้เกิดความรู้สึก ว่า กลุ่มหนึ่งในสังคมมองว่า เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่เคารพนับถือ และเอาไปเป็นการพาณิชย์ จะมีความเหมาะสมหรือไม่ จึงเป็นที่มาของการขอความร่วมมือมายังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้นัดหมายกลุ่มผู้ประกอบการสักมาประชุม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด มารับฟังความเห็น
โดยกระทรวงได้นำเอาแนวทางที่ควรปฏิบัติเรื่องของการนำสัญลักษณ์ทางศาสนา มาชี้แจง และแนวทางนี้ กระทรวงไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่เคยมีการจัดประชุม บุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้แต่พระสงฆ์ ที่มาให้ทัศนะให้ความเห็น เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อของคนในสังคมต่อศาสนา ต่อรูปเคารพและการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ทำให้มีพุทธพาณิชย์มีมากขึ้น
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงว่า ห้ามทำ เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับ แต่สิ่งที่รณรงค์คือการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ถ้าจะทำควรมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติอย่างไร หรือเพียงแต่ขอร้องว่า คนในสังคมกลุ่มหนึ่ง มีความกังวลต่อการสักสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่นๆ ก็ตาม และข้อกำหนดที่วางไว้เป็นขอกำหนดที่กว้างๆ เพื่อให้เห็นว่า คนในสังคมควรจะใช้ สัญลักษณ์ทางศาสนาอย่างไรให้เกิดประโยชน์ ต่อการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างสันติเป็นหลัก
ในขณะที่ นายนนทิวัฒน์ จันทรประสิทธิ์ ตัวแทนผู้ประกอบการสัก จังหวัดภูเก็ตกล่าวยืนยันว่า ช่างสักส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธและตระหนักและทราบดี ในเรื่องที่ควรหรือไม่ควร ในการสักสัญลักษณ์ทางศาสนาลงบนร่างกาย และเห็นว่า ภาพสักเศียรพระพุทธรูป บนข้อเท้าที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น อาจจะไม่ใช่ฝีมือของช่างสักในประเทศไทย ดังนั้น ในอนาคตจะจัดประชุมกลุ่มผู้ประกอบการสักในภูเก็ต เพื่อหารือและออกมาตรการที่เหมาะสม เพื่อรองรับการบริการสักที่เป็นสากลต่อไป