สสส.เผยผลวิจัย อึ้งไทยตาย-เดี้ยง สูญสุขภาพ 10.2 ล้าน DALY ทุกปี เหล้า บุหรี่ ซิ่ง อ้วน เหตุหลัก
เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น ในการสัมมนา “ภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย เพื่อก้าวใหม่กับการพัฒนาระบบสุขภาพ” ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ศาสตราจารย์อาวุโสด้านระบาดวิทยา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ และหัวหน้าหน่วยระบาดวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยผลการศึกษาในปี 2552 ซึ่งดำเนินการโดยทีมวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทยจากสำนักนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า ในปีดังกล่าว การตายก่อนวัยอันสมควรและการเกิดภาวะทุพลภาพรายใหม่ ทำให้คนไทยสูญเสียช่วงชีวิตที่จะอยู่อย่างมีความสุขไปถึง 10.2 ล้านปี หรือ 10.2 ล้าน DALY
ศ.นพ.วีระศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงห้าอันดับแรก ทั้งหมดของชายไทยมาจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ร้อยละ 15.7 จากยาสูบ ร้อยละ 11.3 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 6.2 การไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 5.9 และภาวะคอเลสเตอรอลสูง ร้อยละ 3.1 ส่วนของหญิงไทยมาจาก ดัชนีมวลกายสูง (อ้วน) ร้อยละ 7.7 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 6 การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 5.4 ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ร้อยละ 3.3 และ การสูบบุหรี่ร้อยละ 2.2
“การวิเคราะห์ภาระโรค ซึ่งวัดเป็น DALY จัดทำเพื่อให้หน่วยงานทั้งหมดของประเทศทราบสถานการณ์ปัญหา และนำไปปรับเปลี่ยนนโยบาย ข้อมูลที่มีอยู่บ่งชี้ว่าเราควรเพิ่มมาตรการลดการบริโภคแอลกอฮอล์ ยาสูบ และอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมทั้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบเดินทางขนส่งให้ปลอดภัย และให้ประชาชนได้เดินหรือขี่จักรยานอย่างสะดวกเพื่อการเป็นการออกกำลังกายประจำ เพื่อยืดอายุขัยและเพิ่มสุขภาวะของทุกคน” ศ.นพ.วีระศักดิ์ กล่าว
เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น ในการสัมมนา “ภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย เพื่อก้าวใหม่กับการพัฒนาระบบสุขภาพ” ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ศาสตราจารย์อาวุโสด้านระบาดวิทยา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ และหัวหน้าหน่วยระบาดวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยผลการศึกษาในปี 2552 ซึ่งดำเนินการโดยทีมวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทยจากสำนักนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า ในปีดังกล่าว การตายก่อนวัยอันสมควรและการเกิดภาวะทุพลภาพรายใหม่ ทำให้คนไทยสูญเสียช่วงชีวิตที่จะอยู่อย่างมีความสุขไปถึง 10.2 ล้านปี หรือ 10.2 ล้าน DALY
ศ.นพ.วีระศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงห้าอันดับแรก ทั้งหมดของชายไทยมาจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ร้อยละ 15.7 จากยาสูบ ร้อยละ 11.3 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 6.2 การไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 5.9 และภาวะคอเลสเตอรอลสูง ร้อยละ 3.1 ส่วนของหญิงไทยมาจาก ดัชนีมวลกายสูง (อ้วน) ร้อยละ 7.7 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 6 การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 5.4 ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ร้อยละ 3.3 และ การสูบบุหรี่ร้อยละ 2.2
“การวิเคราะห์ภาระโรค ซึ่งวัดเป็น DALY จัดทำเพื่อให้หน่วยงานทั้งหมดของประเทศทราบสถานการณ์ปัญหา และนำไปปรับเปลี่ยนนโยบาย ข้อมูลที่มีอยู่บ่งชี้ว่าเราควรเพิ่มมาตรการลดการบริโภคแอลกอฮอล์ ยาสูบ และอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมทั้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบเดินทางขนส่งให้ปลอดภัย และให้ประชาชนได้เดินหรือขี่จักรยานอย่างสะดวกเพื่อการเป็นการออกกำลังกายประจำ เพื่อยืดอายุขัยและเพิ่มสุขภาวะของทุกคน” ศ.นพ.วีระศักดิ์ กล่าว