สธ.จัดมหกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพ เทิดพระเกียรติ “สมเด็จพระบรมฯ” กระตุ้นให้ประชาชนออกกำลังกาย ป้องกันโรคเรื้อรัง หลังพบคนไทยสนใจออกกำลังกายลดลงเหลือ 15.1 ล้านคน ผู้สูงอายุ-เด็ก ออกกำลังกายน้อยสุด หวั่นอนาคตทำไทยสูญรายได้กว่า 50,000 ล้านบาท
วันนี้ (28 ก.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมเดิน-วิ่ง เทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา 28 ก.ค.2555 พร้อมเปิดตัวโครงการมหกรรมสาธารณสุข รวมพลังสร้างสุขภาพ โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข บุคลากรจากหน่วยงานเครือข่าย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การเภสัชกรรม หรือ อภ.และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เข้าร่วมงานประมาณ 3,000 คน
นายวิทยา กล่าวว่า ในปีนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดมหกรรมสาธารณสุข รวมพลังสร้างสุขภาพ 4 ภาค เพื่อรณรงค์มาตรการส่งเสริมสุขภาพ ลดจำนวนการเจ็บป่วยของประชาชนลง และเพื่อเทิดพระเกียรติ 3 วโรกาส คือ วโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และวโรกาสครบรอบ 120 ปี แห่งการพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงห่วงใย และใส่ใจในสุขพลานามัยของพสกนิกรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเน้นกิจกรรมเดิน-วิ่ง ให้ความรู้ประชาชน จัดเกมเพื่อสุขภาพ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2555 โดยส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที
นายวิทยา กล่าวต่อว่า เนื่องจากปัจจุบันคนไทย ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทวีความรุนแรงมากขึ้น ที่พบมาก 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ในปี 2553 พบทั่วประเทศป่วย 1.8 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2551 ค่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคที่กล่าวมา เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิต เช่น ขาดการออกกำลังกาย กินอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มัน เค็ม มากเกินไป กินผักและผลไม้สดน้อย หากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าในปี 2558 โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้ มากถึง 52,000 ล้านบาท
ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2554 ในกลุ่มของประชาชนอายุ 11 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวน 57.7 ล้านคน พบว่า มีการออกกำลังกายเพียง 15.1 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 26 เท่านั้นลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 3 ผู้ที่ออกกำลังกายมากที่สุดคืออายุ 25-59 ปี ร้อยละ 44 รองลงมาคือ วัยเยาวชนอายุ 15-24 ปี ร้อยละ28 ส่วนวัยเด็กอายุ 11-14 ปี ร้อยละ 15 ในกลุ่มของผู้สูงอายุออกกำลังกายเพียงร้อยละ 13
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้สำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง จำนวน 15,126 ราย ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2555 ผลปรากฏว่า ผู้ป่วยเหล่านี้ กว่าร้อยละ 80 กินผักผลไม้สดน้อย ไม่ถึงครึ่งกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดว่ามีผลในการป้องกันโรคได้
วันนี้ (28 ก.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมเดิน-วิ่ง เทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา 28 ก.ค.2555 พร้อมเปิดตัวโครงการมหกรรมสาธารณสุข รวมพลังสร้างสุขภาพ โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข บุคลากรจากหน่วยงานเครือข่าย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การเภสัชกรรม หรือ อภ.และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เข้าร่วมงานประมาณ 3,000 คน
นายวิทยา กล่าวว่า ในปีนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดมหกรรมสาธารณสุข รวมพลังสร้างสุขภาพ 4 ภาค เพื่อรณรงค์มาตรการส่งเสริมสุขภาพ ลดจำนวนการเจ็บป่วยของประชาชนลง และเพื่อเทิดพระเกียรติ 3 วโรกาส คือ วโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และวโรกาสครบรอบ 120 ปี แห่งการพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงห่วงใย และใส่ใจในสุขพลานามัยของพสกนิกรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเน้นกิจกรรมเดิน-วิ่ง ให้ความรู้ประชาชน จัดเกมเพื่อสุขภาพ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2555 โดยส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที
นายวิทยา กล่าวต่อว่า เนื่องจากปัจจุบันคนไทย ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทวีความรุนแรงมากขึ้น ที่พบมาก 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ในปี 2553 พบทั่วประเทศป่วย 1.8 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2551 ค่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคที่กล่าวมา เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิต เช่น ขาดการออกกำลังกาย กินอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มัน เค็ม มากเกินไป กินผักและผลไม้สดน้อย หากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าในปี 2558 โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้ มากถึง 52,000 ล้านบาท
ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2554 ในกลุ่มของประชาชนอายุ 11 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวน 57.7 ล้านคน พบว่า มีการออกกำลังกายเพียง 15.1 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 26 เท่านั้นลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 3 ผู้ที่ออกกำลังกายมากที่สุดคืออายุ 25-59 ปี ร้อยละ 44 รองลงมาคือ วัยเยาวชนอายุ 15-24 ปี ร้อยละ28 ส่วนวัยเด็กอายุ 11-14 ปี ร้อยละ 15 ในกลุ่มของผู้สูงอายุออกกำลังกายเพียงร้อยละ 13
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้สำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง จำนวน 15,126 ราย ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2555 ผลปรากฏว่า ผู้ป่วยเหล่านี้ กว่าร้อยละ 80 กินผักผลไม้สดน้อย ไม่ถึงครึ่งกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดว่ามีผลในการป้องกันโรคได้