“มานิต” อ้างกรรมการสิทธิมนุษยชน ฟันธง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ถูกละเมิดจริง เตรียมฟ้องศาลปกครอง 9 ส.ค.นี้ พร้อมเรียกค่าเสียหาย 7 ล้านบาท
วันนี้ (8 ส.ค.) นายมานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างภาพยนตร์ “เชคสเปียร์ต้องตาย” กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ตนเองได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรรมาธิการสิทธิฯ วุฒิสภา กรณีที่ตนถูกละเมิดสิทธิตามมาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ มีมติไม่อนุญาตให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่องเชคสเปียร์ฯ โดยชี้แจงเหตุผลห้ามฉายไม่ชัดเจน เขียนแบบกว้างๆ ที่สำคัญ เหตุผลที่ห้ามฉายมีการเพิ่มเนื้อหาอีก จากเดิมเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสาระบางส่วนที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ กลับส่งหนังสือมาว่า คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ พิจารณาเห็นว่า เนื้อหาของภาพยนตร์ เรื่อง เชคสเปียร์ฯ แม้จะดัดแปลงให้เป็นประเทศสมมติก็ตาม แต่ก็มีลักษณะที่สื่อความหมายให้เข้าใจว่าเป็นสังคมไทย และบางฉากยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศด้วย
นายมานิต กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยด้วยวาจาจาก นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีมติเห็นว่า ตนเองถูกละเมิดสิทธิ์จริงตามที่ร้องเรียนไปจริง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอหนังสือแจ้งมาเป็นลายลักษณ์อักษรมาอีกครั้ง ส่วนการไต่สวนของกรรมาธิการสิทธิฯ วุฒิสภา ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนเองคิดว่าคำวินิจฉัยคงจะออกมาไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ จะนำคำวินิจฉัยของคณะกรรมการทั้ง 2 ส่วนไปเป็นข้อมูลในรูปคดีเพื่อนำไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองในวันที่ 9 ส.ค.นี้ ที่สำคัญ ในการยื่นฟ้องครั้งนี้ตนเองยังได้เรียกร้องค่าเสียหาย 7 ล้านบาท เท่ากับงบประมาณการสร้างภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว
วันนี้ (8 ส.ค.) นายมานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างภาพยนตร์ “เชคสเปียร์ต้องตาย” กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ตนเองได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรรมาธิการสิทธิฯ วุฒิสภา กรณีที่ตนถูกละเมิดสิทธิตามมาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ มีมติไม่อนุญาตให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่องเชคสเปียร์ฯ โดยชี้แจงเหตุผลห้ามฉายไม่ชัดเจน เขียนแบบกว้างๆ ที่สำคัญ เหตุผลที่ห้ามฉายมีการเพิ่มเนื้อหาอีก จากเดิมเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสาระบางส่วนที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ กลับส่งหนังสือมาว่า คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ พิจารณาเห็นว่า เนื้อหาของภาพยนตร์ เรื่อง เชคสเปียร์ฯ แม้จะดัดแปลงให้เป็นประเทศสมมติก็ตาม แต่ก็มีลักษณะที่สื่อความหมายให้เข้าใจว่าเป็นสังคมไทย และบางฉากยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศด้วย
นายมานิต กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยด้วยวาจาจาก นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีมติเห็นว่า ตนเองถูกละเมิดสิทธิ์จริงตามที่ร้องเรียนไปจริง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอหนังสือแจ้งมาเป็นลายลักษณ์อักษรมาอีกครั้ง ส่วนการไต่สวนของกรรมาธิการสิทธิฯ วุฒิสภา ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนเองคิดว่าคำวินิจฉัยคงจะออกมาไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ จะนำคำวินิจฉัยของคณะกรรมการทั้ง 2 ส่วนไปเป็นข้อมูลในรูปคดีเพื่อนำไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองในวันที่ 9 ส.ค.นี้ ที่สำคัญ ในการยื่นฟ้องครั้งนี้ตนเองยังได้เรียกร้องค่าเสียหาย 7 ล้านบาท เท่ากับงบประมาณการสร้างภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว