ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ตากใบอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งคดีไต่สวนการตายของศาลจังหวัดสงขลา 8 มิถุนายน 2555
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่า เวลา 09.00 น. วันที่ 8 มิ.ย. 2555 ศาลอาญา กรุงเทพมหานคร นัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขดำที่ ษ 43/2552 หมายเลขแดงที่ ษ 42/2552 กรณีญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 34 คน ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไต่สวนการตายของศาลจังหวัดสงขลา เนื่องจากเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมอบอำนาจให้นางแยน๊ะ สะแลแม เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา
คดีนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2552 ศาลจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งในคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพ หรือคดีไต่สวนการตายกรณีผู้เสียชีวิตในระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 78 คน โดยศาลจังหวัดสงขลา มีคำสั่งว่า ผู้ตายทั้ง 78 คน เสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจ ในระหว่างอยู่ในความควบคุมตัวของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติราชการตามหน้าที่
ญาติผู้เสียชีวิตเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นไปโดยถูกต้อง และไม่เป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 3, 27, 28, 32, 197 ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 2, 6, 7, 14 และไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 150 เนื่องจากหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม และคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
แต่กรณีผู้เสียชีวิตในระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ตากใบนี้ เมื่อรับฟังจากคำให้การพยานในคดีแล้ว เห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเป็นไปโดยไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2552 ญาติผู้เสียชีวิตจำนวน 34 คน จึงได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาลจังหวัดสงขลาต่อศาลอาญา โดยอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลอาญามีเขตอำนาจทั่วอาณาจักร เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้คำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพถึงที่สุด จึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลจังหวัดสงขลาต่อศาลอุทธรณ์ได้
ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งไต่สวนชันสูตร เนื่องจากเห็นว่าศาลอาญา และศาลจังหวัดสงขลาเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นด้วยกัน เมื่อศาลสงขลารับคดีไว้พิจารณาแล้ว ศาลอาญาจึงไม่อาจพิจารณาได้อีก
วันที่ 29 ก.ค.2552 ญาติผู้เสียชีวิตดังกล่าว จึงได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องของศาลอาญาต่อศาลอุทธรณ์ และได้นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 8 มิ.ย.2555 เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาฯ กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่า เวลา 09.00 น. วันที่ 8 มิ.ย. 2555 ศาลอาญา กรุงเทพมหานคร นัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขดำที่ ษ 43/2552 หมายเลขแดงที่ ษ 42/2552 กรณีญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 34 คน ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไต่สวนการตายของศาลจังหวัดสงขลา เนื่องจากเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมอบอำนาจให้นางแยน๊ะ สะแลแม เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา
คดีนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2552 ศาลจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งในคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพ หรือคดีไต่สวนการตายกรณีผู้เสียชีวิตในระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 78 คน โดยศาลจังหวัดสงขลา มีคำสั่งว่า ผู้ตายทั้ง 78 คน เสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจ ในระหว่างอยู่ในความควบคุมตัวของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติราชการตามหน้าที่
ญาติผู้เสียชีวิตเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นไปโดยถูกต้อง และไม่เป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 3, 27, 28, 32, 197 ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 2, 6, 7, 14 และไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 150 เนื่องจากหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม และคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
แต่กรณีผู้เสียชีวิตในระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ตากใบนี้ เมื่อรับฟังจากคำให้การพยานในคดีแล้ว เห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเป็นไปโดยไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2552 ญาติผู้เสียชีวิตจำนวน 34 คน จึงได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาลจังหวัดสงขลาต่อศาลอาญา โดยอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลอาญามีเขตอำนาจทั่วอาณาจักร เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้คำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพถึงที่สุด จึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลจังหวัดสงขลาต่อศาลอุทธรณ์ได้
ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งไต่สวนชันสูตร เนื่องจากเห็นว่าศาลอาญา และศาลจังหวัดสงขลาเป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นด้วยกัน เมื่อศาลสงขลารับคดีไว้พิจารณาแล้ว ศาลอาญาจึงไม่อาจพิจารณาได้อีก
วันที่ 29 ก.ค.2552 ญาติผู้เสียชีวิตดังกล่าว จึงได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องของศาลอาญาต่อศาลอุทธรณ์ และได้นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 8 มิ.ย.2555 เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาฯ กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)