เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบ เฮ! กม.ห้ามดื่มบนรถ และห้ามขายห้ามดื่มในโรงงาน มีผลบังคับใช้แล้ว วอนรัฐประชาสัมพันธ์รับมือปีใหม่ เชียร์ตำรวจเร่งพิสูจน์ผลงาน
จากกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ทั้ง 2 ฉบับ ได้แก่ 1.การห้ามขายหรือห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการ โรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน หลังจากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ วันที่ 7 ส.ค.2555 2.เรื่องการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางสาธารณะขณะขับขี่ หรือโดยสารอยู่บนรถทุกประเภท โดยจะมีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือบังคับใช้วันที่ 8 ส.ค.2555
นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่เห็นความสำคัญนำมาสู่การแก้ปัญหาที่มาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยทำกฎหมายให้เป็นจริง เครือข่ายเชื่อว่าจะช่วยลดสถิติการเสียชีวิต พิการ บาดเจ็บ ในทุกช่วงโดยเฉพาะเทศกาลปีใหม่ในอีกไม่กี่เดือนนี้ เพราะที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตสูงเฉลี่ยวันละ 60-66 ราย ส่วนวันธรรมดาจะมีประมาณ 30 ราย รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายแสนบาทต่อปี โดยที่บริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้รับผิดชอบอะไรเลย และที่สำคัญ มักพบว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม ต้องมาตกเป็นเหยื่อจนกลายเป็นคนพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หวังว่า กฎหมายนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเสี่ยงของคนไทย และประสิทธิภาพในการผลิตของผู้ใช้แรงงาน นายจ้างได้
“เราผลักดันเรื่องนี้นานกว่า 3 ปี มาสำเร็จในรัฐบาลนี้ แต่แม้จะมีกฎหมายนี้แล้ว การบังคับใช้ก็ต้องจริงจังและเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดจุดอ่อน ซึ่งสามารถพิสูจน์ผลงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เครือข่ายยังหวังว่า รัฐบาลจะมีมาตรการใหม่ๆ เพิ่มเติมอีก เพื่อลดปัญหา สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน” นายจะเด็จ กล่าว
ด้านนายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า ต้องขอบคุณและสนับสนุนการทำหน้าที่ของรัฐบาลชุดนี้ เพราะกฎหมายดังกล่าวถือเป็นช่องทางในการเข้าถึงและจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยเป็นเกราะปกป้องคนที่ไม่ได้ดื่ม โดยที่ผ่านมา จะเห็นว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สร้างความสูญเสียเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ ซึ่งกฎหมายนี้จะเป็นสิ่งจำเป็นสามารถนำมาตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาได้เป็นรูปธรรม แต่ถ้าจะให้ได้ผลยิ่งขึ้นต้องมีมาตรการเสริมเรื่องการจำกัดการซื้อ การออกใบอนุญาตขายร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อกฎหมายนี้ออกมาแล้วสิ่งที่ต้องรีบทำ คือ การสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ให้กว้างขวางที่สุดเพื่อรับมือกับช่วงปีใหม่ที่จะมาถึง
จากกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ทั้ง 2 ฉบับ ได้แก่ 1.การห้ามขายหรือห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการ โรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน หลังจากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ วันที่ 7 ส.ค.2555 2.เรื่องการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางสาธารณะขณะขับขี่ หรือโดยสารอยู่บนรถทุกประเภท โดยจะมีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือบังคับใช้วันที่ 8 ส.ค.2555
นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่เห็นความสำคัญนำมาสู่การแก้ปัญหาที่มาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยทำกฎหมายให้เป็นจริง เครือข่ายเชื่อว่าจะช่วยลดสถิติการเสียชีวิต พิการ บาดเจ็บ ในทุกช่วงโดยเฉพาะเทศกาลปีใหม่ในอีกไม่กี่เดือนนี้ เพราะที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตสูงเฉลี่ยวันละ 60-66 ราย ส่วนวันธรรมดาจะมีประมาณ 30 ราย รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายแสนบาทต่อปี โดยที่บริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้รับผิดชอบอะไรเลย และที่สำคัญ มักพบว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม ต้องมาตกเป็นเหยื่อจนกลายเป็นคนพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หวังว่า กฎหมายนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเสี่ยงของคนไทย และประสิทธิภาพในการผลิตของผู้ใช้แรงงาน นายจ้างได้
“เราผลักดันเรื่องนี้นานกว่า 3 ปี มาสำเร็จในรัฐบาลนี้ แต่แม้จะมีกฎหมายนี้แล้ว การบังคับใช้ก็ต้องจริงจังและเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดจุดอ่อน ซึ่งสามารถพิสูจน์ผลงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เครือข่ายยังหวังว่า รัฐบาลจะมีมาตรการใหม่ๆ เพิ่มเติมอีก เพื่อลดปัญหา สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน” นายจะเด็จ กล่าว
ด้านนายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า ต้องขอบคุณและสนับสนุนการทำหน้าที่ของรัฐบาลชุดนี้ เพราะกฎหมายดังกล่าวถือเป็นช่องทางในการเข้าถึงและจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยเป็นเกราะปกป้องคนที่ไม่ได้ดื่ม โดยที่ผ่านมา จะเห็นว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สร้างความสูญเสียเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ ซึ่งกฎหมายนี้จะเป็นสิ่งจำเป็นสามารถนำมาตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาได้เป็นรูปธรรม แต่ถ้าจะให้ได้ผลยิ่งขึ้นต้องมีมาตรการเสริมเรื่องการจำกัดการซื้อ การออกใบอนุญาตขายร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อกฎหมายนี้ออกมาแล้วสิ่งที่ต้องรีบทำ คือ การสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ให้กว้างขวางที่สุดเพื่อรับมือกับช่วงปีใหม่ที่จะมาถึง