การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา มีผลตามกฎหมายแล้ว หลังประกาศลงราชกิจจานุเบกษา 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา “ชัยพฤกษ์” เตรียมนั่งเก้าอี้ ผอ.สถาบัน 19 แห่ง ระหว่างรอการแต่งตั้ง ส่วนสถานศึกษาอาชีวศึกษาอีก 255 แห่ง ที่ไม่ได้เข้าร่วม ยังเปิดสอนปริญญาตรีไม่ได้ แต่ สอศ.เล็งพัฒนาให้มีมาตรฐาน ต่อยอดตั้งเป็นสถาบันเช่นกันในอนาคต
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ส่งกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ.2555 ซึ่งลงนามโดย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปลงประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนของกฎหมายเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555 ซึ่งมีผลให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจำนวน 161 แห่งที่รวมกันจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง มีสถานะเป็นสถานศึกษาเครือข่ายของสถาบันแต่ละแห่งโดยทันที และมีหน้าที่จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพตั้งแต่ระดับ ปวช., ปวส., ปริญญาตรี และหลักสูตรพิเศษ ส่วนสถานศึกษาอาชีวศึกษาอีกจำนวน 255 แห่ง ซึ่งยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสถาบันการอาชีวศึกษาตามกฎกระทรวงครั้งนี้ จะยังมีภารกิจเดิมซึ่งไม่สามารถจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี แต่ในอนาคต สอศ.จะกำกับดูแลเพื่อพัฒนาให้มีมาตรฐานและเข้าร่วมเป็นสถานศึกษาเครือข่ายของสถาบันการอาชีวศึกษา หรือแยกจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาในโอกาสต่อไปได้
เลขาธิการ กอศ.เปิดเผยด้วยว่า สำหรับขั้นตอนในการเปิดสอนระดับปริญญาตรีนั้น จะดำเนินการได้ต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของสภาสถาบันการอาชีวศึกษา และได้รับอนุมัติจาก กอศ.ก่อน ซึ่งในเบื้องต้นศึกษานิเทศก์อาชีวศึกษาร่วมกับผู้แทนสถานประกอบการได้ร่วมกันยกร่างกรอบหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ ซึ่งเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ ยึดโยงกับกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ (TVQF) ไว้แล้วจำนวน 28 สาขาวิชา ซึ่งเมื่อมีสภาสถาบันการอาชีวศึกษา ก็สามารถนำร่างกรอบหลักสูตรดังกล่าวมาพิจารณารายละเอียดเพื่อให้ความเห็นชอบได้ทันที ทั้งนี้ จะสามารถจัดการเรียนการสอนได้จำนวนกี่สาขาวิชา และเปิดรับนักศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาใดบ้าง ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเชี่ยวชาญของบุคลากรในแต่ละสถาบัน รวมทั้งต้องมีกฎระเบียบและข้อบังคับ ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองที่สำคัญและจำเป็น ซึ่งสอศ.กำลังดำเนินยกร่างเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ โดยขณะนี้ ครม. ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันกรรมการสภาสถาบัน หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกหรือสรรหากรรมการสภาสถาบัน พ.ศ.... และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการของสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ.... แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ความเห็นอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นระหว่างรอกฎกระทรวงให้มีผลบังคับใช้ และยังไม่ได้แต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบัน เลขาธิการ กอศ.จะทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันทั้ง 19 แห่งไปพลางก่อนเพื่อทำหน้าที่บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 180 วัน นับตั้งแต่วันรักษาการ
สำหรับการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วหลายส่วน อาทิ ได้อนุมัติงบประมาณประจำปี 2555 ให้สถาบันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานเบื้องต้น สถาบันละ 1.5 ล้านบาท จัดตั้งสำนักงานโครงการและห้องปฏิบัติงานสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันทั้ง 19 แห่ง ไว้ที่ส่วนกลาง และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนงาน กำกับ และติดตามงานของสถาบันในด้านต่างๆที่จำเป็นและเร่งด่วน จำนวน 10 คณะ เพื่อให้สถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่ง สามารถดำเนินภารกิจได้อย่างสมบูรณ์และมีความคล่องตัว ทั้งนี้ สถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง ได้กำหนดให้ตั้งในกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคใต้ 3 แห่ง ซึ่งจะสามารถให้บริการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมพื้นที่บริการครบ 5 ภูมิภาค
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ส่งกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ.2555 ซึ่งลงนามโดย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปลงประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนของกฎหมายเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555 ซึ่งมีผลให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจำนวน 161 แห่งที่รวมกันจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง มีสถานะเป็นสถานศึกษาเครือข่ายของสถาบันแต่ละแห่งโดยทันที และมีหน้าที่จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพตั้งแต่ระดับ ปวช., ปวส., ปริญญาตรี และหลักสูตรพิเศษ ส่วนสถานศึกษาอาชีวศึกษาอีกจำนวน 255 แห่ง ซึ่งยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสถาบันการอาชีวศึกษาตามกฎกระทรวงครั้งนี้ จะยังมีภารกิจเดิมซึ่งไม่สามารถจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี แต่ในอนาคต สอศ.จะกำกับดูแลเพื่อพัฒนาให้มีมาตรฐานและเข้าร่วมเป็นสถานศึกษาเครือข่ายของสถาบันการอาชีวศึกษา หรือแยกจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาในโอกาสต่อไปได้
เลขาธิการ กอศ.เปิดเผยด้วยว่า สำหรับขั้นตอนในการเปิดสอนระดับปริญญาตรีนั้น จะดำเนินการได้ต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของสภาสถาบันการอาชีวศึกษา และได้รับอนุมัติจาก กอศ.ก่อน ซึ่งในเบื้องต้นศึกษานิเทศก์อาชีวศึกษาร่วมกับผู้แทนสถานประกอบการได้ร่วมกันยกร่างกรอบหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ ซึ่งเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ ยึดโยงกับกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ (TVQF) ไว้แล้วจำนวน 28 สาขาวิชา ซึ่งเมื่อมีสภาสถาบันการอาชีวศึกษา ก็สามารถนำร่างกรอบหลักสูตรดังกล่าวมาพิจารณารายละเอียดเพื่อให้ความเห็นชอบได้ทันที ทั้งนี้ จะสามารถจัดการเรียนการสอนได้จำนวนกี่สาขาวิชา และเปิดรับนักศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาใดบ้าง ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเชี่ยวชาญของบุคลากรในแต่ละสถาบัน รวมทั้งต้องมีกฎระเบียบและข้อบังคับ ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองที่สำคัญและจำเป็น ซึ่งสอศ.กำลังดำเนินยกร่างเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ โดยขณะนี้ ครม. ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันกรรมการสภาสถาบัน หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกหรือสรรหากรรมการสภาสถาบัน พ.ศ.... และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการของสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ.... แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ความเห็นอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นระหว่างรอกฎกระทรวงให้มีผลบังคับใช้ และยังไม่ได้แต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบัน เลขาธิการ กอศ.จะทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันทั้ง 19 แห่งไปพลางก่อนเพื่อทำหน้าที่บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 180 วัน นับตั้งแต่วันรักษาการ
สำหรับการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วหลายส่วน อาทิ ได้อนุมัติงบประมาณประจำปี 2555 ให้สถาบันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานเบื้องต้น สถาบันละ 1.5 ล้านบาท จัดตั้งสำนักงานโครงการและห้องปฏิบัติงานสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันทั้ง 19 แห่ง ไว้ที่ส่วนกลาง และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนงาน กำกับ และติดตามงานของสถาบันในด้านต่างๆที่จำเป็นและเร่งด่วน จำนวน 10 คณะ เพื่อให้สถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่ง สามารถดำเนินภารกิจได้อย่างสมบูรณ์และมีความคล่องตัว ทั้งนี้ สถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง ได้กำหนดให้ตั้งในกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคใต้ 3 แห่ง ซึ่งจะสามารถให้บริการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมพื้นที่บริการครบ 5 ภูมิภาค