ผู้เชี่ยวชาญฯชี้ เอนเทอโรไวรัสก่อโรคไข้สมองอักเสบได้ 2-4% ส่วนกรณีเด็กเขมรตายที่ระยอง เชื่อเป็นเพราะโรคมือเท้าปาก เพราะมีอาการค่อนข้างแน่ชัด ไม่จำเป็นต้องให้ที่ประชุมฯพิจารณา ใช้มาตรการควบคุมโรคที่มีได้ ไม่ต้องตระหนก
วันนี้ (27 ก.ค.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีพบเด็กกัมพูชาเสียชีวิตจากโรคมือเท้าปากรายล่าสุดที่ รพ.แกลง จ.ระยอง ว่า สธ.ได้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเข้าไปในพื้นที่ที่เด็กคนดังกล่าวเสียชีวิตแล้ว โดยเบื้องต้นแพทย์ระบุว่าเด็กมีอาการคล้ายโรคมือเท้าปาก และมีอาการรุนแรง แต่ยังไม่สามารถระบุว่ามีการติดโรคจากที่ใด เนื่องจากมีประวัติเดินทางเข้าออกไทยและกัมพูชาประจำ คาดว่าอีก 2 วันจะรู้ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าติดเชื้อชนิดใด ส่วนเด็กที่ใกล้ชิดกับเด็กคนดังกล่าวอีก 2-3 คน และเริ่มมีอาการป่วย ทีมสอบสวนโรคได้เข้าไปให้คำแนะนำแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าป่วยจากโรคมือเท้าปากหรือไม่ ซึ่งต้องรอผลการตรวจสอบเช่นกัน
ขณะที่ วันนี้ (27 ก.ค.) เมื่อเวลา 12.00 น. ที่สำนักโรคอุบัติใหม่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา และโรคติดเชื้อในเด็ก ว่า จากกรณีประชาชนมีความกังวลเรื่องไข้สมองอักเสบ ซึ่งเกิดจากการเสียชีวิตของชายวัย 16 ปี ที่ จ.สระแก้ว โดยพบว่าเป็นผลมาจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสนั้น ที่ประชุมจึงได้หารือเรื่องไข้สมองอักเสบเพื่อชี้แจงให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลน้อยลง โดยสรุปว่า โรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคประจำถิ่นที่ไม่มีฤดูกาลระบาด สามารถเกิดได้จากเชื้อหลายชนิด เช่น วัณโรค แบคทีเรีย ไวรัส ส่วนเชื้อเอนเทอโรไวรัส จะพบว่าเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดไข้สมองอักเสบเพียงร้อยละ 2-4
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้สมองอักเสบ พบว่าตั้งแต่ต้นปี 2555 - ปัจจุบัน พบผู้ป่วยรายงานทั่วประเทศ 334 ราย กระจายทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 12 ราย โดยในจำนวนนี้เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 4 ราย สำหรับภาพรวม 5 ปี มีผู้ป่วยกระจายตลอดทั้งปี 300-500 ราย เสียชีวิต 10-20 ราย โดยไม่พบว่าใน จ.สระแก้ว และบริเวณจังหวัดใกล้เคียงมีอัตราการป่วย หรือ เสียชีวิต ที่ผิดปกติ สอดคล้องกับรายงานจากการเก็บข้อมูลของ รพ.จุฬาฯ ที่พบรายงานผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบจากทุกสาเหตุประมาณ 300 ราย โดยกรมควบคุมโรคได้ให้ความสำคัญกับมาตรการเฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ ในส่วนที่มีวัคซีนป้องกันได้ เช่น เจอี คางทูม หัด โดยการให้วัคซีน การเฝ้าระวัง ให้สังเกตอาการ คือ ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบเหนื่อย ชัก แขนขาอ่อนแรง ให้รีบพบแพทย์
เมื่อถามถึงกรณี ผู้ป่วยเด็กกัมพูชาที่เสียชีวิต ที่ จ.ระยอง ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า สำหรับรายดังกล่าวค่อนข้างมีอาการแน่ชัดว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำเข้าคณะทำงานฯ กรมควบคุมสามารถสรุปรายงานได้เลย ซึ่งคณะทำงานฯ จะพิจารณาเฉพาะรายที่มีอาการไม่ชัดเจนและไม่สามารถสรุปได้เท่านั้น ซึ่งโรคปัจจุบัน เป็นเรื่องของโรคไร้พรมแดน ไม่อยากให้ประชาชนกังวลว่า หากเป็นเด็กกัมพูชา แล้วต้องใช้มาตรการมากกว่าปกติ เพราะไม่จำเป็น มาตรการควบคุมโรคจะใช้ในกรณีพบคนป่วยและไม่ต้องการให้เกิดการระบาดเพิ่มเติมเท่านั้น
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคระบาดใหม่ และโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับกรณีผู้เสียชีวิตใน จ.ระยอง กรมควบคุมโรคมีทีมระบาดเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งได้เข้าสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดในพื้นที่ที่ต้องสงสัย เพื่อสังเกตการเจ็บป่วยทั้งกลุ่มครอบครัวผู้เสียชีวิต และรอบข้าง และค้นหาผู้ที่มีอาการเริ่มต้น และเข้าสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกตื่น สับสน
วันนี้ (27 ก.ค.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีพบเด็กกัมพูชาเสียชีวิตจากโรคมือเท้าปากรายล่าสุดที่ รพ.แกลง จ.ระยอง ว่า สธ.ได้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเข้าไปในพื้นที่ที่เด็กคนดังกล่าวเสียชีวิตแล้ว โดยเบื้องต้นแพทย์ระบุว่าเด็กมีอาการคล้ายโรคมือเท้าปาก และมีอาการรุนแรง แต่ยังไม่สามารถระบุว่ามีการติดโรคจากที่ใด เนื่องจากมีประวัติเดินทางเข้าออกไทยและกัมพูชาประจำ คาดว่าอีก 2 วันจะรู้ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าติดเชื้อชนิดใด ส่วนเด็กที่ใกล้ชิดกับเด็กคนดังกล่าวอีก 2-3 คน และเริ่มมีอาการป่วย ทีมสอบสวนโรคได้เข้าไปให้คำแนะนำแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าป่วยจากโรคมือเท้าปากหรือไม่ ซึ่งต้องรอผลการตรวจสอบเช่นกัน
ขณะที่ วันนี้ (27 ก.ค.) เมื่อเวลา 12.00 น. ที่สำนักโรคอุบัติใหม่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา และโรคติดเชื้อในเด็ก ว่า จากกรณีประชาชนมีความกังวลเรื่องไข้สมองอักเสบ ซึ่งเกิดจากการเสียชีวิตของชายวัย 16 ปี ที่ จ.สระแก้ว โดยพบว่าเป็นผลมาจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสนั้น ที่ประชุมจึงได้หารือเรื่องไข้สมองอักเสบเพื่อชี้แจงให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลน้อยลง โดยสรุปว่า โรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคประจำถิ่นที่ไม่มีฤดูกาลระบาด สามารถเกิดได้จากเชื้อหลายชนิด เช่น วัณโรค แบคทีเรีย ไวรัส ส่วนเชื้อเอนเทอโรไวรัส จะพบว่าเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดไข้สมองอักเสบเพียงร้อยละ 2-4
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้สมองอักเสบ พบว่าตั้งแต่ต้นปี 2555 - ปัจจุบัน พบผู้ป่วยรายงานทั่วประเทศ 334 ราย กระจายทุกกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 12 ราย โดยในจำนวนนี้เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 4 ราย สำหรับภาพรวม 5 ปี มีผู้ป่วยกระจายตลอดทั้งปี 300-500 ราย เสียชีวิต 10-20 ราย โดยไม่พบว่าใน จ.สระแก้ว และบริเวณจังหวัดใกล้เคียงมีอัตราการป่วย หรือ เสียชีวิต ที่ผิดปกติ สอดคล้องกับรายงานจากการเก็บข้อมูลของ รพ.จุฬาฯ ที่พบรายงานผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบจากทุกสาเหตุประมาณ 300 ราย โดยกรมควบคุมโรคได้ให้ความสำคัญกับมาตรการเฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ ในส่วนที่มีวัคซีนป้องกันได้ เช่น เจอี คางทูม หัด โดยการให้วัคซีน การเฝ้าระวัง ให้สังเกตอาการ คือ ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบเหนื่อย ชัก แขนขาอ่อนแรง ให้รีบพบแพทย์
เมื่อถามถึงกรณี ผู้ป่วยเด็กกัมพูชาที่เสียชีวิต ที่ จ.ระยอง ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า สำหรับรายดังกล่าวค่อนข้างมีอาการแน่ชัดว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำเข้าคณะทำงานฯ กรมควบคุมสามารถสรุปรายงานได้เลย ซึ่งคณะทำงานฯ จะพิจารณาเฉพาะรายที่มีอาการไม่ชัดเจนและไม่สามารถสรุปได้เท่านั้น ซึ่งโรคปัจจุบัน เป็นเรื่องของโรคไร้พรมแดน ไม่อยากให้ประชาชนกังวลว่า หากเป็นเด็กกัมพูชา แล้วต้องใช้มาตรการมากกว่าปกติ เพราะไม่จำเป็น มาตรการควบคุมโรคจะใช้ในกรณีพบคนป่วยและไม่ต้องการให้เกิดการระบาดเพิ่มเติมเท่านั้น
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคระบาดใหม่ และโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับกรณีผู้เสียชีวิตใน จ.ระยอง กรมควบคุมโรคมีทีมระบาดเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งได้เข้าสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดในพื้นที่ที่ต้องสงสัย เพื่อสังเกตการเจ็บป่วยทั้งกลุ่มครอบครัวผู้เสียชีวิต และรอบข้าง และค้นหาผู้ที่มีอาการเริ่มต้น และเข้าสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกตื่น สับสน