ผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยา เผยผลตรวจเชื้อในคอเด็กหญิง 2 ขวบ ตายเพราะมือเท้าปากชนิดรุนแรง ชี้ เด็กมีโรคประจำตัว ยันความรุนแรงของโรคไม่เกี่ยวกับชนิดของสายพันธุ์ ส่วนผู้ต้องสงสัยอีก 2 ราย วินิจฉัยแล้วไม่เข้าข่ายตายเพราะโรคมือเท้าปาก
วันนี้ (24 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่สำนักโรคอุบัติใหม่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา เป็นประธานการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา และโรคติดเชื้อในเด็ก พร้อมด้วย รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษาสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดกรมควบคุมโรค
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า คณะทำงานได้พิจารณาวิเคราะห์ประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนกรณีเด็กหญิงอายุ 2 ปี 8 เดือน ซึ่งเข้าข่ายต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากโรคมือเท้าปากที่ รพ.นพรัตน์ราชธานี เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา มีข้อมูลหลายอย่าง ทั้งทางระบาดวิทยา และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยสรุปว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว คือ โรคหอบหืด โดยผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 12 ก.ค.มีอาการไอ หายใจลำบาก แต่ไม่มีตุ่มหรือแผลในปาก ต่อมามีความดันโลหิตสูง เหนื่อยหอบ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว เม็ดเลือดขาวมีปริมาณสูง หัวใจมีอัตราการเต้นสูงกว่าปกติ สอดคล้องกับอาการอักเสบ ที่การตรวจเอนไซม์พบว่า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไม่พบประวัติการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก และไม่พบกลุ่มผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในบริเวณที่ป่วยอยู่อาศัย
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นของการตรวจแม้ไม่พบประวัติต้องสงสัย แต่แพทย์มีความสงสัยจึงส่งอุจจาระ และน้ำไขสันหลัง ตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลลบต่อเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ต่อมาได้เก็บตัวอย่างเชื้อจากคอ ใหม่อีกครั้ง ด้วยการตรวจเทคนิคชีวโมเลกุล (PCR) ได้ผลบวกต่อเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 โดยคณะทำงานพบว่า อาการของโรคต่างๆ ไม่เข่าข่าย โดยบริเวณมือและเท้าไม่มีตุ่ม แต่อาการบางอย่างเข้าข่ายโรคมือเท้าปาก คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ฉะนั้น เมื่อได้ผลจากคอ ทำให้เชื่อได้ว่า เด็กเสียชีวิตจากด้วยโรคมือเท้าปากชนิดรุนแรง โดยพบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ บี 5
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อว่า สายพันธุ์ บี5 ไม่ใช่สายพันธ์รุนแรง แต่พบว่าในรายดังกล่าวมีอาการรุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่อยากให้มุ่งประเด็นไปแค่เรื่องของสายพันธุ์ เพราะไม่มีหลักฐานว่าสายพันธุ์จะเกี่ยวกับความรุนแรงของโรค ทุกสายพันธุ์มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ และเนื่องจากเด็กรายดังกล่าวมีโรคประจำตัว แต่ไม่ได้เข้าพบแพทย์ช้าเกินไป อีกทั้งการสอบสวน พบว่า แพทย์ได้ให้แนวทางการรักษาที่ถูกต้องทุกประการ ไม่มีตรงไหนบกพร่อง มีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา
“ตลอดเวลาที่ระบาดในประเทศไทย ซึ่งมีการระบาดทุกปี โรคทุกโรคไม่ว่าอ่อนหรือรุนแรง มันมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องมากมายที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิต จะเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ ซึ่งมือเท้าปาก ก็ไม่ได้เสียชีวิตเยอะ เช่น อุบัติการณ์ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อปี 2540 ประเทศไต้หวันป่วยเป็นแสนราย ตาย 500 ประเทศจีน ป่วยเป็นล้านตายก็ 500 คน เห็นได้ชัดว่า มีปัจจัยจำนวนมากที่จะทำให้เสียชีวิต ไม่ใช่แค่สายพันธุ์” นพ.ประเสริฐ กล่าว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ในที่ประชุมคณะทำงานยังได้พิจารณาผู้ต้องสงสัยรายอื่นๆ พบว่า มีกรณีของชายไทยอายุ 16 ปี อาศัย ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว มีอาการไข้สมองอักเสบ เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 3 ก.ค. เบื้องต้น มีไข้ อาเจียน ไม่มีตุ่มผื่น ไม่มีประวัติการสัมผัสเชื้อ แต่มีน้ำท่วมปอดและไข้สมองอักเสบ ซึ่งตรวจสาเหตุพบว่ามาจากเชื้อเอนเทอโรวัส 71 ซึ่งเชื้อดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปากเพียงอย่างเดียว สามารถทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบได้ด้วย จึงสรุปว่า รายดังกล่าวไม่ได้ป่วยโรคมือเท้าปาก ส่วนกรณีเด็กหญิงอายุ 3 ปี เสียชีวิต อยู่ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี พบว่า มีโรคหัวใจ เข้าโรงพยาบาลฉุกเฉินจากอาการไข้สูง ตาลอย อาเจียน เหนื่อยหอบ โดยผลการตรวจ PCR ไม่พบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ยังต้องมีการศึกษาต่อว่าสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเกิดจากอะไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา คร.เปิดเผยตัวเลขผู้ป่วยมือ เท้า ปาก ล่าสุดตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. 2555 พบผู้ป่วยรวมแล้ว 16,860 รายเฉพาะเดือน มิ.ย. พบ 5,258 ราย เดือนก.ค.พบ 4,257 ราย
วันนี้ (24 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่สำนักโรคอุบัติใหม่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา เป็นประธานการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา และโรคติดเชื้อในเด็ก พร้อมด้วย รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษาสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดกรมควบคุมโรค
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า คณะทำงานได้พิจารณาวิเคราะห์ประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนกรณีเด็กหญิงอายุ 2 ปี 8 เดือน ซึ่งเข้าข่ายต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากโรคมือเท้าปากที่ รพ.นพรัตน์ราชธานี เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา มีข้อมูลหลายอย่าง ทั้งทางระบาดวิทยา และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยสรุปว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว คือ โรคหอบหืด โดยผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 12 ก.ค.มีอาการไอ หายใจลำบาก แต่ไม่มีตุ่มหรือแผลในปาก ต่อมามีความดันโลหิตสูง เหนื่อยหอบ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว เม็ดเลือดขาวมีปริมาณสูง หัวใจมีอัตราการเต้นสูงกว่าปกติ สอดคล้องกับอาการอักเสบ ที่การตรวจเอนไซม์พบว่า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไม่พบประวัติการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก และไม่พบกลุ่มผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในบริเวณที่ป่วยอยู่อาศัย
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นของการตรวจแม้ไม่พบประวัติต้องสงสัย แต่แพทย์มีความสงสัยจึงส่งอุจจาระ และน้ำไขสันหลัง ตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลลบต่อเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ต่อมาได้เก็บตัวอย่างเชื้อจากคอ ใหม่อีกครั้ง ด้วยการตรวจเทคนิคชีวโมเลกุล (PCR) ได้ผลบวกต่อเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 โดยคณะทำงานพบว่า อาการของโรคต่างๆ ไม่เข่าข่าย โดยบริเวณมือและเท้าไม่มีตุ่ม แต่อาการบางอย่างเข้าข่ายโรคมือเท้าปาก คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ฉะนั้น เมื่อได้ผลจากคอ ทำให้เชื่อได้ว่า เด็กเสียชีวิตจากด้วยโรคมือเท้าปากชนิดรุนแรง โดยพบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธุ์ บี 5
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อว่า สายพันธุ์ บี5 ไม่ใช่สายพันธ์รุนแรง แต่พบว่าในรายดังกล่าวมีอาการรุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่อยากให้มุ่งประเด็นไปแค่เรื่องของสายพันธุ์ เพราะไม่มีหลักฐานว่าสายพันธุ์จะเกี่ยวกับความรุนแรงของโรค ทุกสายพันธุ์มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ และเนื่องจากเด็กรายดังกล่าวมีโรคประจำตัว แต่ไม่ได้เข้าพบแพทย์ช้าเกินไป อีกทั้งการสอบสวน พบว่า แพทย์ได้ให้แนวทางการรักษาที่ถูกต้องทุกประการ ไม่มีตรงไหนบกพร่อง มีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา
“ตลอดเวลาที่ระบาดในประเทศไทย ซึ่งมีการระบาดทุกปี โรคทุกโรคไม่ว่าอ่อนหรือรุนแรง มันมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องมากมายที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิต จะเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ ซึ่งมือเท้าปาก ก็ไม่ได้เสียชีวิตเยอะ เช่น อุบัติการณ์ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อปี 2540 ประเทศไต้หวันป่วยเป็นแสนราย ตาย 500 ประเทศจีน ป่วยเป็นล้านตายก็ 500 คน เห็นได้ชัดว่า มีปัจจัยจำนวนมากที่จะทำให้เสียชีวิต ไม่ใช่แค่สายพันธุ์” นพ.ประเสริฐ กล่าว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ในที่ประชุมคณะทำงานยังได้พิจารณาผู้ต้องสงสัยรายอื่นๆ พบว่า มีกรณีของชายไทยอายุ 16 ปี อาศัย ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว มีอาการไข้สมองอักเสบ เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 3 ก.ค. เบื้องต้น มีไข้ อาเจียน ไม่มีตุ่มผื่น ไม่มีประวัติการสัมผัสเชื้อ แต่มีน้ำท่วมปอดและไข้สมองอักเสบ ซึ่งตรวจสาเหตุพบว่ามาจากเชื้อเอนเทอโรวัส 71 ซึ่งเชื้อดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปากเพียงอย่างเดียว สามารถทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบได้ด้วย จึงสรุปว่า รายดังกล่าวไม่ได้ป่วยโรคมือเท้าปาก ส่วนกรณีเด็กหญิงอายุ 3 ปี เสียชีวิต อยู่ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี พบว่า มีโรคหัวใจ เข้าโรงพยาบาลฉุกเฉินจากอาการไข้สูง ตาลอย อาเจียน เหนื่อยหอบ โดยผลการตรวจ PCR ไม่พบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ยังต้องมีการศึกษาต่อว่าสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเกิดจากอะไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา คร.เปิดเผยตัวเลขผู้ป่วยมือ เท้า ปาก ล่าสุดตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. 2555 พบผู้ป่วยรวมแล้ว 16,860 รายเฉพาะเดือน มิ.ย. พบ 5,258 ราย เดือนก.ค.พบ 4,257 ราย