กทม.กำชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังเข้มโรคมือเท้าปาก มั่นใจมาตรการที่ดำเนินการอยู่ ช่วยคุมสถานการณ์ได้ พร้อมเร่งทำความสะอาดพื้นที่ที่เด็กรวมตัวจำนวนมาก เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาด
วันนี้ (18 ก.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น.ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบนโยบายเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปาก แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัด อาทิ สำนักงานเขต 50 เขต ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง พร้อมมอบหมายให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ดำเนินการอย่างเข้มงวดจริงจังและเร่งด่วน เนื่องจากมีประชาชนเกิดความวิตกเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
พญ.มาลินี กล่าวอีกว่า สถานการณ์โรคมือเท้าปาก ที่พบในประเทศไทย ไม่เป็นอันตรายรุนแรงเหมือนกับที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นสายพันธุ์ที่มีอยู่แล้ว และไม่ได้เกิดการกลายพันธุ์ จึงไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต มั่นใจว่า กทม.สามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคได้ ซึ่งจะดำเนินการเช่นเดียวกับการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ผ่านมา และ กทม.จะดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปาก ภายใต้มาตรการการเฝ้าระวังโรค คัดแยกผู้ติดเชื้อออกทันทีที่ตรวจพบ และการรักษาความสะอาดพื้นที่เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อ โดยจะเฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่ที่มีเด็กมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก อาทิ ศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาล และสวนสนุกในห้างสรรพสินค้า อีกทั้งมอบหมายให้ทุกสำนักงานเขตจัดประชุม ประเมินผล และติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ หากโรงเรียนใดพบเด็กติดเชื้อให้ทางโรงเรียนหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู และผู้ปกครอง ก่อนปิดโรงเรียน
พญ.มาลินี กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สพฐ. และเอกชน พบเด็กติดเชื้อโรคมือเท้าปาก และปิดโรงเรียนทั้งโรงเรียนรวม 22 แห่ง และปิดบางส่วน 12 แห่ง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคมือเท้าปากได้ที่กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย โทร.0 2354 1836 ในวันและเวลาราชการ
วันนี้ (18 ก.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น.ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบนโยบายเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปาก แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัด อาทิ สำนักงานเขต 50 เขต ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง พร้อมมอบหมายให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ดำเนินการอย่างเข้มงวดจริงจังและเร่งด่วน เนื่องจากมีประชาชนเกิดความวิตกเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
พญ.มาลินี กล่าวอีกว่า สถานการณ์โรคมือเท้าปาก ที่พบในประเทศไทย ไม่เป็นอันตรายรุนแรงเหมือนกับที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นสายพันธุ์ที่มีอยู่แล้ว และไม่ได้เกิดการกลายพันธุ์ จึงไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต มั่นใจว่า กทม.สามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคได้ ซึ่งจะดำเนินการเช่นเดียวกับการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ผ่านมา และ กทม.จะดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปาก ภายใต้มาตรการการเฝ้าระวังโรค คัดแยกผู้ติดเชื้อออกทันทีที่ตรวจพบ และการรักษาความสะอาดพื้นที่เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อ โดยจะเฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่ที่มีเด็กมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก อาทิ ศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาล และสวนสนุกในห้างสรรพสินค้า อีกทั้งมอบหมายให้ทุกสำนักงานเขตจัดประชุม ประเมินผล และติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ หากโรงเรียนใดพบเด็กติดเชื้อให้ทางโรงเรียนหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู และผู้ปกครอง ก่อนปิดโรงเรียน
พญ.มาลินี กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สพฐ. และเอกชน พบเด็กติดเชื้อโรคมือเท้าปาก และปิดโรงเรียนทั้งโรงเรียนรวม 22 แห่ง และปิดบางส่วน 12 แห่ง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคมือเท้าปากได้ที่กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย โทร.0 2354 1836 ในวันและเวลาราชการ