กลุ่มแพทย์พร้อมรับมือก้าวสู่อาเซียน ไม่หวั่นหากหมอจากประเทศในกลุ่มเข้ามาทำงานในไทย ชี้ แพทยสภาวางหลักเกณฑ์รองรับแล้ว ระบุ คนต่างชาติมาเรียนหมอในไทยได้เฉพาะ ม.เอกชน เท่านั้น
ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ให้สัมภาษณ์กรณีการเตรียมกำลังคนด้านการแพทย์เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ.2558 ว่า ในส่วนของ กสพท.ซึ่งมีโรงเรียนแพทย์ทั้งรัฐและเอกชนร่วมเป็นสมาชิก ไม่ค่อยมีความกังวลต่อการที่ประเทศจะเปิดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาชีพแพทย์ซึ่งเป็น 1 ใน 8 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะประเทศไทยสามารถผลิตแพทย์ได้อย่างมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น เราจึงมองการผลิตแพทย์และการพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับโลก อย่างไรก็ตามหากถึงปี 2558 แล้วจะมีแพทย์จากประเทศในอาเซียนหลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทย ก็ไม่เป็นห่วงเพราะเรื่องนี้แพทยสภาวางหลักเกณฑ์ไว้แล้ว
ศ.นพ.อาวุธ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เสนอให้ กสพท วางหลักเกณฑ์พิจารณาการรับนักเรียนจากประเทศในกลุ่มอาเซียนซึ่งอาจจะมาเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย นั้น ว่า ผู้ที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ เมื่อจบแล้วมีข้อกำหนดว่า จะต้องรับราชการ และผู้ที่รับราชการได้ก็ต้องมีสัญชาติไทย ดังนั้นนักเรียนต่างชาติอาจจะไม่สามารถเรียนแพทย์ในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ แต่หากจะเรียนในโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยเอกชน ก็เปิดกว้างต้อนรับ เช่น วิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และในอนาคตอันใกล้นี้ มหาวิทยาลัยสยาม ก็กำลังจะเปิดสอนคณะแพทย์ ซึ่งขณะนี้แพทยสภาให้การรับรองหลักสูตรแล้ว คาดว่า น่าจะเปิดรับนักศึกษาได้ปีหน้า
“ส่วนตัวมองว่า การที่เอกชนเปิดคณะแพทย์ เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ช่วยกันผลิตแพทย์ ทั้งจะเป็นการเปิดเสรีเมื่อมีการแข่งขันกันมากขึ้น ก็จะได้แข่งกันผลิตให้มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ” เลขาธิการ กสพท.กล่าว
ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ให้สัมภาษณ์กรณีการเตรียมกำลังคนด้านการแพทย์เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ.2558 ว่า ในส่วนของ กสพท.ซึ่งมีโรงเรียนแพทย์ทั้งรัฐและเอกชนร่วมเป็นสมาชิก ไม่ค่อยมีความกังวลต่อการที่ประเทศจะเปิดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาชีพแพทย์ซึ่งเป็น 1 ใน 8 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะประเทศไทยสามารถผลิตแพทย์ได้อย่างมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น เราจึงมองการผลิตแพทย์และการพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับโลก อย่างไรก็ตามหากถึงปี 2558 แล้วจะมีแพทย์จากประเทศในอาเซียนหลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทย ก็ไม่เป็นห่วงเพราะเรื่องนี้แพทยสภาวางหลักเกณฑ์ไว้แล้ว
ศ.นพ.อาวุธ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เสนอให้ กสพท วางหลักเกณฑ์พิจารณาการรับนักเรียนจากประเทศในกลุ่มอาเซียนซึ่งอาจจะมาเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย นั้น ว่า ผู้ที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ เมื่อจบแล้วมีข้อกำหนดว่า จะต้องรับราชการ และผู้ที่รับราชการได้ก็ต้องมีสัญชาติไทย ดังนั้นนักเรียนต่างชาติอาจจะไม่สามารถเรียนแพทย์ในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ แต่หากจะเรียนในโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยเอกชน ก็เปิดกว้างต้อนรับ เช่น วิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และในอนาคตอันใกล้นี้ มหาวิทยาลัยสยาม ก็กำลังจะเปิดสอนคณะแพทย์ ซึ่งขณะนี้แพทยสภาให้การรับรองหลักสูตรแล้ว คาดว่า น่าจะเปิดรับนักศึกษาได้ปีหน้า
“ส่วนตัวมองว่า การที่เอกชนเปิดคณะแพทย์ เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ช่วยกันผลิตแพทย์ ทั้งจะเป็นการเปิดเสรีเมื่อมีการแข่งขันกันมากขึ้น ก็จะได้แข่งกันผลิตให้มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ” เลขาธิการ กสพท.กล่าว