“สวนสุนันทา” เดินหน้ายกระดับภาษาอังกฤษ ครู-นร.ร.ร.ต้นแบบ เตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) เปิดเผยว่า จากที่มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ตามหลักปรัชญาการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร และภารกิจในการพัฒนา ส่งเสริมวิชาชีพครู ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยได้ลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนขนาดเล็ก จ.สมุทรสงคราม จำนวน 14 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดบางจะเกร็ง, ร.ร.วัดบางขันแตก, ร.ร.วัดช่องลมวรรณาราม, ร.ร.ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ, ร.ร.วัดเสด็จ (สุทธิวิทยานุสรณ์), ร.ร.ท้ายหาด (มัธยม), ร.ร.เมธีชุณหะวัณวิทยาลัย (มัธยม), ร.ร.วัดบางกะพ้อม (มัธยม), ร.ร.วัดคู้สนามจันทร์, ร.ร.วัดลาดเป้ง, ร.ร.บ้านบางนางลี่, ร.ร.วัดช่องลม (ธรรมโชติ), ร.ร.เทพสุวรรณชาญวิทยา (มัธยม) และ ร.ร.อนุบาลวัดเกาะใหญ่ ตั้งแต่ปี 2553 นั้น ในปีงบประมาณ 2555 นี้ ทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้แก่โรงเรียนต้นแบบ โดยมอบหมายให้ทางคณะครุศาสตร์ จัดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหารจัดการสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อยกระดับคุณภาพของโรงเรียน เตรียมความพร้อมให้ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้น
รศ.ดร.ช่วงโชติ กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าว ทางคณะครุศาสตร์ จะร่วมมือกับศูนย์ภาษา และวิทยาลัยนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยในการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ แผนการสอน สื่อการเรียนการสอน จัดสรรบุคลากร วิทยากร และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริม กระตุ้นให้ครู นักเรียน เกิดความรู้ เข้าใจ การเข้าสู่ประชาอาเซียน โดยกิจกรรมแรกที่จะดำเนินการ คือ การอบรมภาษาอังกฤษให้แก่ครู และนักเรียน เพราะเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษ ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสาร อีกทั้งโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ เชี่ยวชาญด้านภาษา ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจะมีการส่งเสริมพัฒนาในเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่ครูและนักเรียนเป็นหลัก รวมถึงจะมีการส่งเสริมให้ครู นักเรียน จัดกิจกรรมเกี่ยวกับประเทศอาเซียน เพื่อทำความเข้าใจ รู้จัก เรียนรู้ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ภาษาท้องถิ่นอาเซียนมากขึ้น
“ในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กนั้น มหาวิทยาลัยต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม จัดสรรบุคลากรเพิ่มเติม เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน เพราะปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนครูจำนวนมาก ครูบางคนต้องสอนหลายวิชา ซึ่งโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหารจัดการสู่ประชาคมอาเซียน นอกจากจะเป็นการช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องของอาเซียน ยกระดับคุณภาพของโรงเรียนแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูอีกด้วย” อธิการบดี มร.สส.กล่าว
รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) เปิดเผยว่า จากที่มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ตามหลักปรัชญาการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร และภารกิจในการพัฒนา ส่งเสริมวิชาชีพครู ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยได้ลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนขนาดเล็ก จ.สมุทรสงคราม จำนวน 14 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดบางจะเกร็ง, ร.ร.วัดบางขันแตก, ร.ร.วัดช่องลมวรรณาราม, ร.ร.ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ, ร.ร.วัดเสด็จ (สุทธิวิทยานุสรณ์), ร.ร.ท้ายหาด (มัธยม), ร.ร.เมธีชุณหะวัณวิทยาลัย (มัธยม), ร.ร.วัดบางกะพ้อม (มัธยม), ร.ร.วัดคู้สนามจันทร์, ร.ร.วัดลาดเป้ง, ร.ร.บ้านบางนางลี่, ร.ร.วัดช่องลม (ธรรมโชติ), ร.ร.เทพสุวรรณชาญวิทยา (มัธยม) และ ร.ร.อนุบาลวัดเกาะใหญ่ ตั้งแต่ปี 2553 นั้น ในปีงบประมาณ 2555 นี้ ทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้แก่โรงเรียนต้นแบบ โดยมอบหมายให้ทางคณะครุศาสตร์ จัดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหารจัดการสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อยกระดับคุณภาพของโรงเรียน เตรียมความพร้อมให้ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้น
รศ.ดร.ช่วงโชติ กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าว ทางคณะครุศาสตร์ จะร่วมมือกับศูนย์ภาษา และวิทยาลัยนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยในการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ แผนการสอน สื่อการเรียนการสอน จัดสรรบุคลากร วิทยากร และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริม กระตุ้นให้ครู นักเรียน เกิดความรู้ เข้าใจ การเข้าสู่ประชาอาเซียน โดยกิจกรรมแรกที่จะดำเนินการ คือ การอบรมภาษาอังกฤษให้แก่ครู และนักเรียน เพราะเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษ ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสาร อีกทั้งโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ เชี่ยวชาญด้านภาษา ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจะมีการส่งเสริมพัฒนาในเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่ครูและนักเรียนเป็นหลัก รวมถึงจะมีการส่งเสริมให้ครู นักเรียน จัดกิจกรรมเกี่ยวกับประเทศอาเซียน เพื่อทำความเข้าใจ รู้จัก เรียนรู้ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ภาษาท้องถิ่นอาเซียนมากขึ้น
“ในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กนั้น มหาวิทยาลัยต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม จัดสรรบุคลากรเพิ่มเติม เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน เพราะปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนครูจำนวนมาก ครูบางคนต้องสอนหลายวิชา ซึ่งโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านการบริหารจัดการสู่ประชาคมอาเซียน นอกจากจะเป็นการช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษ กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องของอาเซียน ยกระดับคุณภาพของโรงเรียนแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูอีกด้วย” อธิการบดี มร.สส.กล่าว