กทม.เดินหน้า 5 กลยุทธ์ มุ่งลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ให้เป็นศูนย์
วันนี้ (16 ก.ค.) ณ โรงแรมตวันนา เขตบางรัก พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ “พัฒนาข้อมูล มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์” พร้อมมอบนโยบาย “Bangkok Getting to Zero” หรือการมุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการตายเนื่องจากเอดส์ รวมถึงลดการตีตรา และเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ โดยใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.สร้างการเป็นเจ้าของร่วม 2.ขยายการดำเนินงานด้านการป้องกันบนพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิ 3.ส่งเสริมการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษา 4.ขยายการดำเนินงานด้านการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงป้องกันและการดูแลรักษา 5.พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
ทั้งนี้ จากการคาดประมาณจำนวนผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในกรุงเทพฯ พบว่า ในภาพรวมจำนวนผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ มีแนวโน้มลดลง คือ จำนวนผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ในปี 2554 มีจำนวน 2,384 ราย ลดลงจากจำนวน 2,557 รายในปี 2550 และจำนวนผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงสิ้นปี 2554 จำนวน 55,525 ราย ลดลงจากจำนวน 60,709 ราย ในปี 2550 และจำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์ในปี 2554 จำนวน 3,577 ราย ลดลงจากจำนวน 4,491 ราย ในปี 2550 เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาต้านไวรัสได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี ยังพบว่า สัดส่วนของผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ใน 5 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีพฤติกรรมเปราะบาง และเข้าถึงยาก เช่น กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด และพนักงานบริการทั้งชายและหญิง จากแนวโน้มดังกล่าวนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยไม่ได้หมายความว่า จำนวนผู้ป่วยจะต้องเป็นศูนย์ในระยะเวลาตามแผนยุทธศาสตร์ แต่ต้องสะท้อนว่า กรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่ายมีการดำเนินงานและบริหารจัดการที่ชัดเจน มีความเข้มข้น และมีจุดเน้นของยุทธศาสตร์ โดยสื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในภาคส่วนต่างๆ เห็นความสำคัญ และชัดเจนในกลวิธีการดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่ต้องการดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของกรุงเทพฯอย่างยั่งยืนต่อไป
วันนี้ (16 ก.ค.) ณ โรงแรมตวันนา เขตบางรัก พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ “พัฒนาข้อมูล มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์” พร้อมมอบนโยบาย “Bangkok Getting to Zero” หรือการมุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการตายเนื่องจากเอดส์ รวมถึงลดการตีตรา และเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ โดยใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.สร้างการเป็นเจ้าของร่วม 2.ขยายการดำเนินงานด้านการป้องกันบนพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิ 3.ส่งเสริมการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษา 4.ขยายการดำเนินงานด้านการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงป้องกันและการดูแลรักษา 5.พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
ทั้งนี้ จากการคาดประมาณจำนวนผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในกรุงเทพฯ พบว่า ในภาพรวมจำนวนผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ มีแนวโน้มลดลง คือ จำนวนผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ในปี 2554 มีจำนวน 2,384 ราย ลดลงจากจำนวน 2,557 รายในปี 2550 และจำนวนผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงสิ้นปี 2554 จำนวน 55,525 ราย ลดลงจากจำนวน 60,709 ราย ในปี 2550 และจำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์ในปี 2554 จำนวน 3,577 ราย ลดลงจากจำนวน 4,491 ราย ในปี 2550 เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาต้านไวรัสได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี ยังพบว่า สัดส่วนของผู้อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ใน 5 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีพฤติกรรมเปราะบาง และเข้าถึงยาก เช่น กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด และพนักงานบริการทั้งชายและหญิง จากแนวโน้มดังกล่าวนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยไม่ได้หมายความว่า จำนวนผู้ป่วยจะต้องเป็นศูนย์ในระยะเวลาตามแผนยุทธศาสตร์ แต่ต้องสะท้อนว่า กรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่ายมีการดำเนินงานและบริหารจัดการที่ชัดเจน มีความเข้มข้น และมีจุดเน้นของยุทธศาสตร์ โดยสื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในภาคส่วนต่างๆ เห็นความสำคัญ และชัดเจนในกลวิธีการดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่ต้องการดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของกรุงเทพฯอย่างยั่งยืนต่อไป