“กฤษณพงศ์” แนะอนาคตวิทยาลัยชุมชน เน้นสร้างธรรมาภิบาล-บริหารจัดการ ดึงไอทีจัดการเรียนการสอน
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง “มองภาพอนาคตวิทยาลัยชุมชน” ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ที่โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ภาพอนาคตของ วชช.จะต้องดำเนินการ คือ กลไกธรรมาภิบาล กลไกการบริหารจัดการที่ต้องทำให้เกิดขึ้น โดยในส่วนของกลไลธรรมาภิบาล เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคีที่เป็นองค์ประกอบของสภา วชช.โดยการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย การระดมทรัพยากรที่ไม่เป็นตัวเงินและเป็นตัวเงินเข้าไป รวมทั้งการเพิ่มความ เข้าใจบทบาท การมองเห็น การยอมรับ วชช.ในสังคม ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพื่อต่อเชื่อมการเรียนระหว่างผู้ที่สำเร็จการ ศึกษาจาก วชช.และต้องการจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญา รวมถึงการสร้างกลไกให้ วชช.เป็นองค์กรยกคุณภาพและการขับเคลื่อนชุมชน มุ่งเน้นให้เป็นสถาบันทางสังคมมากกว่าเป็นสถานศึกษาสำหรับคนในชุมชนเท่านั้น
“อนาคตที่ วชช.ต้องขับเคลื่อน คือ ธรรมาภิบาลภายใน วชช.เอง ทั้งนี้ ต้องมีการสร้างความเข้มแข็งของสภาวิทยาลัยชุมชนที่เชื่อมกับ External Governance เพื่อการกำกับทิศทางการบริหารจัดการ วชช.การสร้างความเข้าใจบทบาทกรรมการ การวางระบบความรับผิดและรับชอบกับผลงาน ระบบจรรยาบรรณ ความโปร่งใส การวางระบบตรวจสอบภายนอกและประเมินความเสี่ยง รวมถึงการสร้งความพร้อมเพื่อการบริหารตามร่าง พ.ร.บ.ที่มีการกระจาย อำนาจในกับวิทยาลัยอย่างมาก”
ประธานสภาวิทยาลัยชุมชน กล่าวและว่า สำหรับการบริหารจัดการองค์กรนั้น ระบบการศึกษา การฝึกและการสร้างอาชีพ รวมถึงการยกระดับชุมชนถือเป็นเรื่องสำคัญ การจัดหลักสูตรจะต้องเป็นอะไรที่มากกว่าการสอน ยึดหลักการผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนเป็นคนวัยทำงาน มีวุฒิภาวะและประสบการณ์ รวมไปถึงโอกาสการเปลี่ยนงานและอาชีพตามโลกาภิวัฒน์ ซึ่งในจุดนี้การเข้ามาของ วชช.กรุงเทพฯจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสนี้
ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ระบบการวัดผลสัมฤทธิ์จะต้องดูไปถึงสิ่งที่ชุมชนหรือผู้รับบริการจะ ได้รับ ไม่ใช่ดูแค่เพียงความรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับ รวมถึงเรื่องทะเบียนประวัติสะสม เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายกำลังงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะนักศึกษา วชช.ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ทำงานแล้ว ดังนั้น การเรียนจึงไม่ควรขัดแย้งกับการย้ายถิ่นฐานของการประกอบอาชีพ เมื่อมีการโยกย้ายถิ่นฐานก็ยังสามารถนำทะเบียนประวัติไปเรียนต่อที่ วชช.อื่นได้
“ระบบการบริหารจัดการของ วชช.ในอนาคตนั้น จะต้องสร้างระบบประเมิน วชช.ที่แตกต่างจากสถานบันการศึกษากระแสหลัก รวมถึงเกณฑ์การเพิ่มหน่วยบริการศึกษา ควรเน้นการใช้ฐานที่ตั้ง วชช.ที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก เช่น การระดมทรัพยากรพื้นที่บริการ การจัดสอนภายในเงื่อนไขเวลาและหลักการที่กำหนด ไม่ใช่เปิดสอนตลอดไป นอกจากนี้ยังต้องเปลี่ยนโลกทัศน์และพัฒนาอาจารย์ของวชช.ให้เป็นผู้เอื้อต่อ การเรียนรู้มากกว่าการเป็นครูสอนหนังสือ รวมถึงควรมีระบบบริการสื่อและอุปกรณ์ ในรูปแบบของคลินิควิชาการเคลื่อนที่ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ วชช. โดยการเรียนในอนาคตต้องนำระบบไอที Social Network เข้ามาใช้เพิ่มขึ้น” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง “มองภาพอนาคตวิทยาลัยชุมชน” ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำกรอบทิศทางการพัฒนาวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ที่โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ภาพอนาคตของ วชช.จะต้องดำเนินการ คือ กลไกธรรมาภิบาล กลไกการบริหารจัดการที่ต้องทำให้เกิดขึ้น โดยในส่วนของกลไลธรรมาภิบาล เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคีที่เป็นองค์ประกอบของสภา วชช.โดยการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย การระดมทรัพยากรที่ไม่เป็นตัวเงินและเป็นตัวเงินเข้าไป รวมทั้งการเพิ่มความ เข้าใจบทบาท การมองเห็น การยอมรับ วชช.ในสังคม ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพื่อต่อเชื่อมการเรียนระหว่างผู้ที่สำเร็จการ ศึกษาจาก วชช.และต้องการจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญา รวมถึงการสร้างกลไกให้ วชช.เป็นองค์กรยกคุณภาพและการขับเคลื่อนชุมชน มุ่งเน้นให้เป็นสถาบันทางสังคมมากกว่าเป็นสถานศึกษาสำหรับคนในชุมชนเท่านั้น
“อนาคตที่ วชช.ต้องขับเคลื่อน คือ ธรรมาภิบาลภายใน วชช.เอง ทั้งนี้ ต้องมีการสร้างความเข้มแข็งของสภาวิทยาลัยชุมชนที่เชื่อมกับ External Governance เพื่อการกำกับทิศทางการบริหารจัดการ วชช.การสร้างความเข้าใจบทบาทกรรมการ การวางระบบความรับผิดและรับชอบกับผลงาน ระบบจรรยาบรรณ ความโปร่งใส การวางระบบตรวจสอบภายนอกและประเมินความเสี่ยง รวมถึงการสร้งความพร้อมเพื่อการบริหารตามร่าง พ.ร.บ.ที่มีการกระจาย อำนาจในกับวิทยาลัยอย่างมาก”
ประธานสภาวิทยาลัยชุมชน กล่าวและว่า สำหรับการบริหารจัดการองค์กรนั้น ระบบการศึกษา การฝึกและการสร้างอาชีพ รวมถึงการยกระดับชุมชนถือเป็นเรื่องสำคัญ การจัดหลักสูตรจะต้องเป็นอะไรที่มากกว่าการสอน ยึดหลักการผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนเป็นคนวัยทำงาน มีวุฒิภาวะและประสบการณ์ รวมไปถึงโอกาสการเปลี่ยนงานและอาชีพตามโลกาภิวัฒน์ ซึ่งในจุดนี้การเข้ามาของ วชช.กรุงเทพฯจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสนี้
ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ระบบการวัดผลสัมฤทธิ์จะต้องดูไปถึงสิ่งที่ชุมชนหรือผู้รับบริการจะ ได้รับ ไม่ใช่ดูแค่เพียงความรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับ รวมถึงเรื่องทะเบียนประวัติสะสม เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายกำลังงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะนักศึกษา วชช.ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ทำงานแล้ว ดังนั้น การเรียนจึงไม่ควรขัดแย้งกับการย้ายถิ่นฐานของการประกอบอาชีพ เมื่อมีการโยกย้ายถิ่นฐานก็ยังสามารถนำทะเบียนประวัติไปเรียนต่อที่ วชช.อื่นได้
“ระบบการบริหารจัดการของ วชช.ในอนาคตนั้น จะต้องสร้างระบบประเมิน วชช.ที่แตกต่างจากสถานบันการศึกษากระแสหลัก รวมถึงเกณฑ์การเพิ่มหน่วยบริการศึกษา ควรเน้นการใช้ฐานที่ตั้ง วชช.ที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก เช่น การระดมทรัพยากรพื้นที่บริการ การจัดสอนภายในเงื่อนไขเวลาและหลักการที่กำหนด ไม่ใช่เปิดสอนตลอดไป นอกจากนี้ยังต้องเปลี่ยนโลกทัศน์และพัฒนาอาจารย์ของวชช.ให้เป็นผู้เอื้อต่อ การเรียนรู้มากกว่าการเป็นครูสอนหนังสือ รวมถึงควรมีระบบบริการสื่อและอุปกรณ์ ในรูปแบบของคลินิควิชาการเคลื่อนที่ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ วชช. โดยการเรียนในอนาคตต้องนำระบบไอที Social Network เข้ามาใช้เพิ่มขึ้น” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว