เลขาธิการ สกศ.เสนอกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่ฯรับผิดชอบเรื่องขอตั๋วครูสำหรับครูต่างชาติ หลังได้รับการร้องเรียนเรื่องความล่าช้า และความไม่สะดวกในการเดินทาง เล็งชง รมว.ศึกษาฯ เห็นชอบในการประชุมบอร์ด สกศ.สิงหาคมนี้
นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยภายหลังประชุมเพื่อกำหนดแนวทางและข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับชาวต่างชาติ รวมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานต่างๆ ทางการศึกษา ว่า เนื่องจากได้รับการร้องเรียนในเรื่องการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับชาวต่างชาติว่าการดำเนินการล่าช้า โดยเฉพาะเรื่องความไม่สะดวกในการขอและต่อใบอนุญาตฯ สำหรับผู้ที่ทำงานในต่างจังหวัด แต่หากจะขอหรือต่อใบอนุญาตฯ ต้องเดินทางมายังคุรุสภา ทำให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางมาดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตฯ ดังนั้น ที่ประชุมได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1.ความล่าช้าเกี่ยวกับการขอหรือต่อใบประกอบวิชาชีพครูต่างชาติ โดยต้องกระจายอำนาจให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการรับเรื่องการขอหรือต่อใบประกอบวิชาชีพครูต่างชาติ 2.การอบรมภาษาและวัฒนธรรม โดยคุรุสภาต้องทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลมาตรฐานการอบรมภาษาและวัฒนธรรม โดยการกระจายอำนาจการอบรมให้กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีศักยภาพและได้ดำเนินการดังกล่าวก่อนมีประกาศใช้ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
3.ระบบเกี่ยวกับเอกสารในการขอหรือต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้กับชาวต่างชาติ ที่ควรมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสารให้สืบค้นได้ง่าย เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการบริการแกครูชาวต่างชาติและสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4.ประเด็นวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีให้มีสิทธิขอใบประกอบวิชาชีพครู โดยเปิดช่องให้ครูต่างชาติที่ไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีได้มีโอกาสในการขอใบประกอบวิชาชีพครู โดยต้องมีเกณฑ์ต่างๆ เช่น ผ่านการทดสอบ TQFEL หรือ TOELC 700 คะแนน และผ่านการอบรม TKT (Teaching Knowledge Test) ซึ่งต้องมีการปรับแก้คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 44 เรื่องวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
“ได้หารือด้วยว่าการกำหนดคุณสมบัติของครูต่างชาติว่าต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ควรมีการแก้ไขเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เช่น ชาวอังกฤษ ชาวอเมริกัน และชาวแคนาดา ให้สามารถเป็นครูสอนภาษาต่างประเทศได้ เพราะช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถอ่านและออกเสียงและสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” นายเอนก กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะนำเรื่องเข้าสู่อนุกรรมการกฎหมาย ก็จะนำเสนอแนวทางดังกล่าวไปยังคณะกรรมการสภาการศึกษา เพื่อให้เสนอเรื่องผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เห็นชอบในเดือนสิงหาคมต่อไป
นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยภายหลังประชุมเพื่อกำหนดแนวทางและข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับชาวต่างชาติ รวมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานต่างๆ ทางการศึกษา ว่า เนื่องจากได้รับการร้องเรียนในเรื่องการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับชาวต่างชาติว่าการดำเนินการล่าช้า โดยเฉพาะเรื่องความไม่สะดวกในการขอและต่อใบอนุญาตฯ สำหรับผู้ที่ทำงานในต่างจังหวัด แต่หากจะขอหรือต่อใบอนุญาตฯ ต้องเดินทางมายังคุรุสภา ทำให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางมาดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตฯ ดังนั้น ที่ประชุมได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1.ความล่าช้าเกี่ยวกับการขอหรือต่อใบประกอบวิชาชีพครูต่างชาติ โดยต้องกระจายอำนาจให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการรับเรื่องการขอหรือต่อใบประกอบวิชาชีพครูต่างชาติ 2.การอบรมภาษาและวัฒนธรรม โดยคุรุสภาต้องทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลมาตรฐานการอบรมภาษาและวัฒนธรรม โดยการกระจายอำนาจการอบรมให้กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีศักยภาพและได้ดำเนินการดังกล่าวก่อนมีประกาศใช้ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
3.ระบบเกี่ยวกับเอกสารในการขอหรือต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้กับชาวต่างชาติ ที่ควรมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสารให้สืบค้นได้ง่าย เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการบริการแกครูชาวต่างชาติและสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4.ประเด็นวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีให้มีสิทธิขอใบประกอบวิชาชีพครู โดยเปิดช่องให้ครูต่างชาติที่ไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีได้มีโอกาสในการขอใบประกอบวิชาชีพครู โดยต้องมีเกณฑ์ต่างๆ เช่น ผ่านการทดสอบ TQFEL หรือ TOELC 700 คะแนน และผ่านการอบรม TKT (Teaching Knowledge Test) ซึ่งต้องมีการปรับแก้คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 44 เรื่องวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
“ได้หารือด้วยว่าการกำหนดคุณสมบัติของครูต่างชาติว่าต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ควรมีการแก้ไขเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เช่น ชาวอังกฤษ ชาวอเมริกัน และชาวแคนาดา ให้สามารถเป็นครูสอนภาษาต่างประเทศได้ เพราะช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถอ่านและออกเสียงและสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” นายเอนก กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะนำเรื่องเข้าสู่อนุกรรมการกฎหมาย ก็จะนำเสนอแนวทางดังกล่าวไปยังคณะกรรมการสภาการศึกษา เพื่อให้เสนอเรื่องผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เห็นชอบในเดือนสิงหาคมต่อไป