พบคนไทย 1 ใน 4 เครียดการเมือง! โดยเฉพาะวันศุกร์ 13 ซึ่งเป็นวันที่ศาลฯ อ่านคำวินิจฉัยคดีแก้ รธน.ล้างการปกครอง กรมสุขภาพจิตแนะ ปชช.ดูข่าวไม่เกินวันละ 2 ชม.ลดรับข้อมูลข่าวสารที่รุนแรง และหากิจกรรมคลายเครียด พร้อมฝากสื่องดเสนอข่าวเชิงขัดแย้ง และลดการแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรงในสังคมออนไลน์
วันนี้ (13 ก.ค.) ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้าทีมโฆษกกรมสุขภาพจิต และนายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีวันศุกร์ 13 ซึ่งเป็นวันที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านคำวินิจฉัยคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ ในเวลา 14.00 น. ว่า ระหว่างรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ความตึงเครียดทางการเมืองย่อมเกิดขึ้น ซึ่งผลการตัดสินจะออกมาอย่างไร ย่อมมีคนพอใจและไม่พอใจเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น กรมสุขภาพจิตจึงอยากเตือนประชาชน ว่า ไม่ควรเครียดกับการเมืองมากนัก เนื่องจากปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปี 2553 นั้น กรมสุขภาพจิตพบว่า ประชาชนมีปัญหาความเครียดกับการเมืองมาก โดยมีอัตราความเครียดระหว่างผู้หญิงผู้ชายเท่ากัน ซึ่งอาการของความเครียดนั้นจะรุนแรงมากขึ้นตามสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง
“เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความเครียด ประชาชนควรดูข่าวไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง และลดการรับข้อมูลข่าวสารที่รุนแรง ส่วนคนที่มีความเครียดรุนแรงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดอารมณ์รุนแรงนั้นลง เช่น ลดการรับข้อมูลข่าวสารที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ หากิจกรรมคลายเครียด เช่น ออกกำลังกาย สวดมนต์ นั่งสมาธิ อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนในชุมชนที่มีความเครียดทางการเมืองสูงเราควรให้บุคคลที่มีความเครียดสูงเหล่านั้น ซึ่งในระดับสังคมก็ต้องช่วยกัน เช่น สื่อต้องไม่ควรนำเสนอข่าวที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งให้ในเสนอในลักษณะการหาทางออก เครือข่ายสังคมออนไลน์ควรลดการแสดงความคิดเห็นที่มีแนวโน้มการขาดการควบคุมตัวเอง และทุกคนช่วยกันทำให้ปัญหาผ่านไปลดการเผชิญหน้า" นายกสมาคมจิตแพทย์ กล่าว
ด้าน นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความเครียดเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติดังนั้นคนที่เครียดนานๆ มีผลต่อร่างกาย เช่น การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายทรุดโทรม ซึ่งปัจจุบันสังคมไทยมีการแบ่งแยกที่ชัดเจนมีความเห็นที่ต่างกันจนเกิดเป็นความขัดแย้ง ดังนั้น ตนจึงห่วงเรื่องสุขภาพจิตของประชาชน และห่วงเรื่องความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าคนไทย 1 ใน 4 มีความเครียด ดังนั้น เราควรช่วยกันหาทางออกเรื่องความแตกแยกเพื่อลดปัญหาความเครียด ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราจะพบปัญหาคนป่วยทางจิตชอบทำร้ายร่างกายผู้อื่น ด้วยเหตุนี้เวลาอยู่ในที่สาธารณะเราควรมีความระมัดระวังให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพบคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตเราสามารถแจ้งให้ทางตำรวจทำการจับกุมเพื่อนำไปบำบัดได้ด้วย พ.ร.บ.ของกรมสุขภาพจิต ที่กำหนดไว้เฉพาะเกี่ยวกับการควบคุมคนมีปัญหาทางจิตให้เข้ารับรักษาโดยที่ผ่านมาก็มีการใช้ พ.ร.บ.ตัวนี้ควบคุมผู้ป่วยทางจิตมาบำบัดแล้วหลายร้อยราย
วันนี้ (13 ก.ค.) ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้าทีมโฆษกกรมสุขภาพจิต และนายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีวันศุกร์ 13 ซึ่งเป็นวันที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านคำวินิจฉัยคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ ในเวลา 14.00 น. ว่า ระหว่างรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ความตึงเครียดทางการเมืองย่อมเกิดขึ้น ซึ่งผลการตัดสินจะออกมาอย่างไร ย่อมมีคนพอใจและไม่พอใจเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น กรมสุขภาพจิตจึงอยากเตือนประชาชน ว่า ไม่ควรเครียดกับการเมืองมากนัก เนื่องจากปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปี 2553 นั้น กรมสุขภาพจิตพบว่า ประชาชนมีปัญหาความเครียดกับการเมืองมาก โดยมีอัตราความเครียดระหว่างผู้หญิงผู้ชายเท่ากัน ซึ่งอาการของความเครียดนั้นจะรุนแรงมากขึ้นตามสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง
“เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความเครียด ประชาชนควรดูข่าวไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง และลดการรับข้อมูลข่าวสารที่รุนแรง ส่วนคนที่มีความเครียดรุนแรงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดอารมณ์รุนแรงนั้นลง เช่น ลดการรับข้อมูลข่าวสารที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ หากิจกรรมคลายเครียด เช่น ออกกำลังกาย สวดมนต์ นั่งสมาธิ อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนในชุมชนที่มีความเครียดทางการเมืองสูงเราควรให้บุคคลที่มีความเครียดสูงเหล่านั้น ซึ่งในระดับสังคมก็ต้องช่วยกัน เช่น สื่อต้องไม่ควรนำเสนอข่าวที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งให้ในเสนอในลักษณะการหาทางออก เครือข่ายสังคมออนไลน์ควรลดการแสดงความคิดเห็นที่มีแนวโน้มการขาดการควบคุมตัวเอง และทุกคนช่วยกันทำให้ปัญหาผ่านไปลดการเผชิญหน้า" นายกสมาคมจิตแพทย์ กล่าว
ด้าน นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความเครียดเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติดังนั้นคนที่เครียดนานๆ มีผลต่อร่างกาย เช่น การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายทรุดโทรม ซึ่งปัจจุบันสังคมไทยมีการแบ่งแยกที่ชัดเจนมีความเห็นที่ต่างกันจนเกิดเป็นความขัดแย้ง ดังนั้น ตนจึงห่วงเรื่องสุขภาพจิตของประชาชน และห่วงเรื่องความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าคนไทย 1 ใน 4 มีความเครียด ดังนั้น เราควรช่วยกันหาทางออกเรื่องความแตกแยกเพื่อลดปัญหาความเครียด ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราจะพบปัญหาคนป่วยทางจิตชอบทำร้ายร่างกายผู้อื่น ด้วยเหตุนี้เวลาอยู่ในที่สาธารณะเราควรมีความระมัดระวังให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพบคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตเราสามารถแจ้งให้ทางตำรวจทำการจับกุมเพื่อนำไปบำบัดได้ด้วย พ.ร.บ.ของกรมสุขภาพจิต ที่กำหนดไว้เฉพาะเกี่ยวกับการควบคุมคนมีปัญหาทางจิตให้เข้ารับรักษาโดยที่ผ่านมาก็มีการใช้ พ.ร.บ.ตัวนี้ควบคุมผู้ป่วยทางจิตมาบำบัดแล้วหลายร้อยราย